<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

รัฐบาลจีนเริ่มจับตาดูตลาด Bitcoin แบบ OTC ในประเทศหลังจากสั่งปิดเว็บกระดานซื่อขาย

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

หลังจากการประกาศปิดเว็บให้บริการกระดานซื้อขาย Bitcoin ในประเทศไปเมื่อไม่กี้เดือนก่อนหน้านี้ รัฐบาลจีนเริ่มที่จะหันมาจับตาดูตลาดการซื้อขาย Bitcoin แบบ over the counter (OTC) หรือการซื้อขายกันเอง โดยข้อมูลล่าสุดจากทางรัฐบาลชี้ให้เห็นว่ามีเม็ดเงินประมาณ 680 ล้านหยวน หรือประมาณ 103 ล้านดอลลาร์ที่ถูกซื้อขายในช่วงสองสัปดาห์ของเดือนตุลาคมที่ผ่านมา บนแพลทฟอร์มซื้อขายแบ OTC สามแห่งที่ใหญ่ที่สุดในโลก

รัฐบาลจีนกำลังวิเคราะห์การซื้อขานผ่าน Bitcoin ผ่านตลาด OTC

หลังจากที่ทางรัฐบาลจีนเคยประกาศในเดือนกันยายนที่ผ่านมาว่าเว็บผู้ให้บริการซื้อขาย Bitcoin แบบตลาดกระดานซื้อขายผิดกฎหมายและจะต้องถูกปิดตัวลง ส่งผลให้เว็บเทรดใหญ่ๆอย่าง BTCC, OKCoin และ Huobi ต้องจบตำนานลง ซึ่งภายหลังจากนั้นโวลลุ่มบนเว็บเทรดประเภท OTC ก็เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีความมั่นคงทางการเงินของอินเทอร์เน็ตแห่งชาติในประเทศจีนได้เปิดเผยรายงานเมื่อสัปดาห์ที่แล้วเกี่ยวกับสถานะของเว็บเทรด Bitcoin แบบ OTC ในประเทศจีน โดยคณะกรรมการดังกล่าวได้ถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนสิงหาคมของปีที่แล้วภายใต้กฎและการกำกับของกระทรวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ ทางคณะกรรมการได้ทำการ “ตรวจสอบและเฝ้าดู balance sheet ผ่าน National Internet Financial Risk Analysis Technology Platform” ที่ถูกทำธุรกรรมเป็นเงินหยวนเพื่อสร้างรายงาน

ปัจจุบันมีประเภทเว็บผู้ให้บริการการซื้อขาย Cryptocurrency อยู่สามแบบ คือแบบผู้ให้แลกเปลี่ยน, แบบกระดานซื้อขาย และแบบ OTC โดยรายงานของพวกเขากล่าวว่า “การซื้อขายแบบ OTC มักจะไม่มีสถานที่ซื้อขายแบบตายตัว, ระบบสมาชิก และกฎที่แน่นหนา ธุรกรรมมักจะถูกทำผ่านเว็บผู้ให้บริการ หรือแลกเปลี่ยนกันเองแบบลับๆ”

นอกจากนี้ เว็บผู้ให้บริการแลกเปลี่ยนกันเองแบบ P2P อย่างเช่น Localbitcoins ยังถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่นักลงทุนชาวจีนใช้เปิดซื้อขาย Bitcoin อีกทั้งยังมีแพลทฟอร์มพูดคุยอย่าง QQ, WeChat, Telegram และ Slack ที่ถูกใช้ด้วยเช่นกัน “มีช่องทางการจ่ายเงินเป็นจำนวนมากนั้นถูกใช้ ซึ่งประกอบด้วยการโอนเงินผ่านธนาคาร, เงินสด, ผู้ให้บริการโอนเงินอื่นๆ, และบัตรกิฟการ์ด” อ้างอิงจากรายงาน และมีการกล่าวเพิ่มว่า

“Alipay, Wechat และการโอนเงินผ่านทางธนาคารถือเป็นช่องทางการทำธุรกรรมหลักๆสำหรับการซื้อขายผ่าน OTC ด้วยการแลกเปลี่ยนแบบ BTC/CNY”

เม็ดเงินไหลออกไปนอกประเทศ

รายงานยังอธิบายด้วยว่าเมื่อการแบนเว็บเทรดถูกมีการบังคับใช้ขึ้นในเดือนกันยายน อัตราการซื้อขายผ่านเว็บ OTC นั้นก็เริ่มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ท้ายสุดโวลลุ่มซื้อขายที่เป็นสกุลเงินหยวนนั้นก็เริ่มไหลออกไปเว็บผู้ให้บริการเทรด OTC นอกประเทศอย่างเช่น Localbitcoins, Paxful, Coincola และ Bitcoinworld

โดยอ้างอิงจากข้อมูลการแลกเปลี่ยนระหว่างสกุลเงิน BTC-CNY จากเว็บ Localbitcoins และ Paxful นั้น “จะสามารถเห็นได้ว่าก่อนเดือนกุมภาพันธ์ของปี 2017 อัตราการแลกเปลี่ยน BTC-CNY ยังต่ำอยู่ ทว่าหลังจากการเริ่มสั่งระงับการฝากและถอนของเว็บกระดานเทรด Bitcoin ในประเทศของช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ทำให้อัตราของการทำธุรกรรมเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ทว่าหลังจากนั้นในเดือนมิถุนายนเมื่อเว็บกระดานเทรดในประเทศเริ่มกลับมาเปิดให้บริการถอน โวลลุ่มผ่านเว็บ OTC ก็ลดลงอีกครั้ง” และยังมีต่อด้วย

“ด้วยการมีสภาพคล่องของธุรกรรมการซื้อขาย ICO และ Bitcoin ในช่วงต้นเดือนกันยายน ส่งผลให้ธุรกรรมแบบ OTC กลับมาบูมอีกครั้ง”

[rsnippet id=”1″ name=”AdSense In-article ad 1″]

ข้อมูลเดียวกันนี้ยังแสดงให้เห็นถึงส่วนแบ่งการตลาดของ OTC ที่เพิ่มขึ้นจาก 5% ไปสู่ 20% บนแพลทฟอร์มที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น ในขณะที่ของตลาดกระดานซื้อขายนั้นกลับเป็นตรงกันข้ามโดยเฉพาะโวลลุ่มของกระดานเทรดนั้นเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงมิถุนายน-สิงหาคม และก็ร่วงลงมาเรื่อยๆเมื่อถึงเดือนกันยายน”

โวลลุ่มการซื้อขายบนตลาด OTC พุ่ง 680 ล้านหยวนภายในสองสัปดาห์

รายงานยังแสดงให้เห็นถึงข้อมูลของเว็บเทรด OTC ทั้งสามเว็บในช่วงสองสัปดาห์หลังของเดือนตุลาคม

โวลลุ่มการซื้อขายบนเว็บ Paxful และ Coincola พุ่งถึง 70% และการทำธุรกรรมผ่าน OTC นั้นถูกทำด้วยเงินหยวน รายงานเผยว่า “จากการวิเคราะห์ธุรกรรมจากคู่ซื้อขาย BTC-CNY ข้อมูลธุรกรรมจากแพลทฟอร์ม Localbitcoins, Paxful และ Coincola ในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา” รายงานพบว่า

“โวลลุ่มการทำธุรกรรมผ่านแพลทฟอร์มทั้งสามมีประมาณ 680 ล้านหยวน โดยเฉพาะของเว็บ Coincola หรือแพลทฟอร์มจากฮ่องกงที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ”

“ด้วยการเพิ่มขึ้นของราคา Bitcoin ทำให้การซื้อขายผ่าน OTC ได้เป็นที่คึกคักมากขึ้นเรื่อย ผู้ใช้บริการผ่านเว็บ OTC เลือกที่จะทำธุรกรรมแบบทั้งไม่เปิดเผยตัวตนและช่องทางการทำธุรกรรมอื่นๆ และนั่นอาจจะมีความเสี่ยงด้านการฉ้อโกง” คณะกรรมการดังกล่าวสรุปรายงาน และกล่าวเพิ่มว่า “ทางคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีความมั่นคงทางการเงินของอินเทอร์เน็ตแห่งชาติจะยังคงสอดส่องดูต่อไป”

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น