<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างกฎหมายกำกับ Bitcoin และ Cryptocurrency อื่น ๆ

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ดูเหมือนว่าประเทศไทยกำลังที่จะรุดหน้าประเทศเพื่อนบ้านไปอีกก้าวหนึ่งแล้วในแง่ของกฎหมายด้านสกุลเงินดิจิตอล

ก่อนหน้านี้ทางสยามบล็อคเชนได้รายงานเกี่ยวกับ กระทรวงการคลังไม่อยากให้ประชาชนแลก Cryptocurrency เป็นบาท เมื่อช่วงกลางเดือนที่แล้วนั้น วันนี้ทางคณะรัฐมนตรี นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ โฆษกประจำรองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฉบับใหม่ โดยเผยถึงสาเหตุว่า พ.ร.บ.ฉบับเก่าล้าสมัยไม่บูรณาการไม่ทันกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากล และไม่สามารถคุ้มครองประโยชน์ของผู้ลงทุน

พระราชบัญญัติเรื่องเงินดิจิตอล

โดยอ้างอิงจากเว็บกองทุนบัวหลวง การร่างพระราชบัญญัติใหม่นี้จะเป็นการปรับปรุงเพื่อให้เกิดความเหมาะสมและครอบคลุมไปถึงการระดมทุน ICO พร้อมทั้งยังจัดตั้งกองทุนส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุน (CMDF) ซึ่งร่างกฎหมายดังกล่าวต้องเสนอให้กับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจสอบ ก่อนเสนอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาต่อไป โดยจะมีการคุยในเรื่องนี้ในวันที่ 8 มีนาคม 2017

โดยสาระสำคัญของพระราชบัญญัตินี้ก็คือ จะเป็นการปรับปรุงนิยามของการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ซึ่งจะมีการเพิ่มประเภทหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดเพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับผู้ลงทุน รวมทั้งกำหนดทุนจดทะเบียนชำระแล้วขั้นต่ำ พร้อมปรับปรุงทุนจดทะเบียนชำระแล้วของบริษัทหลักทรัพย์ใหม่ให้ช่วยสนับสนุนกลุ่มผู้ประกอบการรายใหม่ที่ใช้เทคโนโลยี (Start Up)

โดยก่อนหน้านั้นทางสยามบล็อกเชนก็เคยรายงานข่าวว่า กระทรวงการคลังได้เรียกประชุมแนวทางกำกับ Bitcoin เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่าน โดยใจความสำคัญของข่าวก็คือ บริษัทหลักทรัพย์ฟิลลิป (ประเทศไทย) ได้เปิดให้นักลงทุนในไทยสามารถไปลงทุน Bitcoin Futures ในต่างประเทศไทย โดยคณะทำงานร่วมที่มาหารือมีทั้งหมด 4 ฝ่ายด้วยกันก็คือ กระทรวงการคลัง ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ นั่นเอง

การซื้อ-ขายเงินดิจิตอล

ขณะเดียวกันอ้างอิงจากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ทางกระทรวงการคลังเตรียมเสนอร่างกฏหมายต่อ คณะรัฐมนตรีในการออกพระราชกำหนด (พรก.) เกี่ยวกับการกำกับการซื้อ-ขายเงินดิจิตอลในวันที่ 13 มีนาคมนี้ และได้เปิดเผยว่า ได้ส่งร่างกฏหมายไปถึงคุณ วิษณุ เครืองาม เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยการร่างกฏหมายนี้มีจุดประสงค์หลัก ๆ คือการ “คุมเข้มการฉ้อโกงประชาชน แชร์ลูกโซ่”

สรรพากรลงมาดูเรื่องภาษี

ในครั้งนี้สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) จะเข้าร่วมด้วย และทางด้านสรรพากรเองก็จะลงมาดูแลในเรื่องการเก็บภาษีจากเงินดิจิตอลเช่นกัน โดยรายละเอียดของเรื่องภาษีเงินดิจิตอลนั้น ยังไม่มีการเปิดเผยใด ๆ

ความเห็นผู้เขียน: โดยการออกกฏหมายเรื่องเงินดิจิตอลในประเทศไทยในครั้งนี้ ผู้เขียนมีความเห็นว่าจะทำให้วงการเงินดิจิตอลในประเทศไทยมีความรุกหน้ามากขึ้นและประชาชนในประเทศจะเริ่มหันมาสนใจในเงินดิจิตอลแน่นอน

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น