<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

Vitalik ต้องการให้คุณจ่ายค่าเช่าเพื่อชะลอการเติบโตของ Ethereum

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

การเพิ่มระบบค่าธรรมเนียมใหม่จะช่วยให้ Ethereum สามารถอยู่ได้ในระยะยาวหรือไม่

การถกเถียงในแง่ที่ว่าผู้ใช้งานควรที่จะจ่ายเงินเพื่อให้การสนับสนุนคอมพิวเตอร์สำหรับเครือข่าย blockchain ทั่วโลกเป็นจำนวนเท่าไรและเมื่อไรนั้นกำลังมีขึ้นอยู่ในขณะนี้ ซึ่งแม้แต่ในกลุ่มชุมชนผู้ใช้งานเหรียญอันดับสองของโลกอย่าง Ethereum ก็กำลังมีขึ้นด้วยเช่นกัน อ้างอิงจากผู้สร้างเหรียญดังกล่าวนาม Vitalik Buteirn

แนวคิดของบิดาแห่ง Ethereum คนนี้ได้มีการกล่าวถึง “ค่าธรรมเนียมการเช่า” ที่ผู้ใช้งานจะถูกขอให้จ่ายเงินเพื่อใช้งานระบบเครือข่ายของเหรียญดังกล่าว โดยคิดตามระยะเวลาที่พวกเขาต้องการจะให้ข้อมูลอยู่บนเครือข่าย (เหมือนกับ cloud)

แนวคิดดังกล่าวนั้นได้รับความสนใจจากกลุ่มผู้ใช้งานเป็นจำนวนมาก เนื่องจากว่านักพัฒนา Ethereum ต้องการแก้ปัญหาและจัดการการปรับตัวของการใช้แพลทฟอร์มดังกล่าวที่กำลังเพิ่มขึ้น และรวมถึงการเพิ่มจำนวนที่เก็บข้อมูลในเครือข่ายอีกด้วย

หรือหากอธิบายโดยแบบง่าย ๆ แล้ว หากผู้คนส่วนใหญ่ใช้ระบบของเหรียญดังกล่าวแบบฟรี ๆ มากไป อาจทำให้เครือข่ายไม่สามารถรองรับการใช้งานและต้นทุนไหว และในปัจจุบันมีหลักฐานมากมายที่เผยว่าปัญหาดังกล่าวกำลังเริ่มคุกคามประสิทธิภาพการทำงานของระบบ Ethereum

ปัจจุบันแอพและ ICO ที่ทำงานบน Ethereum นั้นมีมากมาย นาย Vlad Zamfir และนาย Phil Daian หรือนักพัฒนาของเหรียญดังกล่าวเชื่อว่าปัญหาด้านการขยายตัวที่รวดเร็วนี้ควรที่จะถูกจัดการอย่างรวดเร็ว

“ไม่มีใครอยากจะพูดถึงค่าเช่าหรอก แต่เราต้องพูดถึงมันหน่อยแล้วล่ะ” กล่าวโดยนักพัฒนา Ethereum นาม Raul Jordan บนทวิตเตอร์ของเขา

“นักพัฒนาหลักจะต้องส่งต่อข้อมูลนี้ไปให้กลุ่มนักพัฒนา smart contract โดยเร็วที่สุด เพื่อให้เป็นประเด็นขึ้นมา” เขากล่าว พร้อมเสริมว่า

“ตอนนี้ระบบในปัจจุบันมันเริ่มจะสั่นคลอนแล้ว”

เก็บค่าธรรมเนียม

กระนั้น การเสริมแนวคิดดังกล่าวโดยนาย Vitalik อาจเป็นสัญญาณว่าระบบดังกล่าวกำลังตกที่นั่งลำบากจริง

ณ ปัจจุบันเขาได้เสนอแนวคิดสองแนวคิด โดยอย่างแรกนั้นเขาเรียกมันว่า “วิธีการพื้นฐานในการคำนวณค่าเช่า” และอีกแนวคิดคือ “การหาวิธีการเก็บค่าเช่า”

หลักการของแนวคิดดังกล่าวคือการคำนวณค่าธรรมเนียมโดยอ้างอิงจากการจำกัดการใช้งานระยะยาวของสิ่งที่เรียกว่า “state” หรือหนึ่งในเสี้ยวข้อมูลของ Ethereum ที่ผู้เปิด node จะต้องเก็บมันเอาไว้ โดยมันจะทำหน้าที่ติดตามว่าใครเป็นเจ้าของข้อมูลของแอพใดบ้าง (รวมถึงจำนวนเงินที่เหลืออยู่ของผู้ใช้งาน หรืออาจกล่าวได้ว่าผู้ที่เก็บข้อมูลในนี้มากที่สุด)

โดยภายใต้ข้อเสนอใหม่นี้ ข้อมูลที่ถูกเก็บอยู่ใน RAM ของ node บนคอมพิวเตอร์ (ซึ่งมีประมาณ 5 GB) นั้นจะไม่ถูกอนุญาตให้ขยายได้เกิน 500 GB เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ใช้งานจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมเพื่อเก็บข้อมูล โดยอ้างอิงจากระยะเวลาที่พวกเขาต้องการจะเก็บ โดยเมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว ข้อมูลก็จะถูกตรวจสอบตลอด มิเช่นนั้นค่าธรรมเนียมก็จะเพิ่มสูงขึ้นถ้าหากว่าจำนวนข้อมูลที่เก็บเริ่มเข้าใกล้ขนาดที่กำหนดไว้

อีกหนึ่งจุดที่น่าสนใจที่นาย Vitalik ต้องการจะเพิ่มเข้าไปก็คือการเปลี่ยนแปลงในด้านการ scaling ของเครือข่ายที่นักพัฒนากำลังตั้งตารอให้เพิ่มมันเข้าไปในระบบ

แม้ว่าบน roadmap การพัฒนาจะเผยว่าการ “sharding” นั้นยังต้องใช้เวลาอีกนานหลายปีนั้น แต่หากติดตั้งได้แล้ว จะช่วยแก้ปัญหาในการเก็บข้อมูลบน node ของเครือข่าย Ethereum ได้ เนื่องจากว่าในแต่ละ node นั้นไม่จำเป็นต้องเก็บข้อมูลให้ครบเหมือนกันทุกตัว แต่ว่าสามารถแยกกันเก็บได้

“ด้วยการทำ sharding นั้น ขนาดเก็บข้อมูลของ state จะมีรองรับได้ต่อ shard ดังนั้นค่าธรรมเนียมจะสามารถลดขนาดลงได้ประมาณ 100 เท่า” กล่าวโดย Vitalik

นอกจากนี้เขายังพยายามแก้ไขปัญหาบนแพลทฟอร์มการให้เช่าดังกล่าวอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น user interface ที่ใช้งานยาก ที่อาจทำให้เกิดข้อผิดพลาดระหว่างการพัฒนาได้ง่าย

ปัญหาที่ฝังราก

ปัญหาใหญ่ ๆ ก็คือการเก็บค่าธรรมเนียมที่เหมือน ๆ กับการเก็บภาษีนั้นไม่ใช่สิ่งที่คนทัวไปชอบเท่าไรนัก

การถกเถียงกันในกลุ่มนักพัฒนา Bitcoin ในส่วนใหญ่นั้นมักจะเกี่ยวข้องกับค่าธรรมเนียม และรวมถึงข้อจำกัดที่มักจะมาพร้อมกับมัน โดยถ้าหากค่าธรรมเนียมนั้นมากขึ้น ก็จะมีข้อมูลน้อยลงที่ถูกนำมาเก็บไว้ ทำให้การเปิด node แบบเต็ม ๆ นั้นทำได้ง่ายขึ้น แต่ก็มีข้อเสียเช่นกันคือการทำเช่นนี้จะทำให้เหรียญดังกล่าวมีความแพงมากขึ้น

คำถามก็คือ นักพัฒนา Ethereum จะทำตามในสิ่งที่ Bitcoin กำลังทำอยู่หรือไม่ นาย Johnson กังวลว่าการเพิ่มค่าธรรมเนียมอีกส่วนหนึ่งเข้ามาอาจทำให้นักพัฒนา app บน Ethereum แสดงความไม่พอใจอย่างมาก

นาย Johnson เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไม่ควรจะรีบร้อน แต่จะต้องค่อย ๆ ใช้เวลาเพื่อให้นักพัฒนาสามารถปรับตัวตามได้

ที่น่าสนใจคือ บางคนเชื่อว่าการจ่ายค่าเช่าดังกล่าวควรที่จะถูกนำไปปรับใช้กับเหรียญ cryptocurrency ทุกเหรียญ เนื่องจากว่าปัญหาการ scaling และค่าธรรมเนียมนั้นกำลังถือเป็นปัญหาของ Blockchain

นาย Daian กล่าวว่าเหรียญ Bitcoin ควรที่จะนำเอาโมเดลดังกล่าวมาปรับใช้ด้วย เพื่อให้เหมือนกับ Ethereum เนื่องจากว่าปัจจุบัน Bitcoin ไม่ได้เก็บค่าธรรมเนียมในการถือเหรียญไว้

ภายหลังเขากล่าวสรุปว่า

“ปัจจุบันยังไม่มี cryptocurrency ตัวไหนที่สามารถคิดค้นโมเดลในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้งาน และการเช่าที่เก็บข้อมูลของ Ethereum จะเป็นการแสดงให้เห็นว่าเรากำลังเดินมาถูกทางแล้ว”

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น