<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

5 มาตรฐาน ERCs ที่นักพัฒนา Ethereum ต้องรู้

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

เป็นที่รู้กันดีว่ามาตรฐาน ERC มีมากมายสำหรับ Ethereum ซึ่งมีทั้งดี และไม่ดีปะปนกันไป ซึ่งวันนี้เราจะนำเสนอ 5 มาตรฐานที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในจำนวนทั้งหมด

ERC-20

นี่คือมาตรฐานทั่วไปที่ชุมชนคริปโต 99 เปอร์เซ็นต์นั้นรู้จัก (ไม่ใช่ทั้งหมด) เป็นมาตรฐานทั่วไปที่มักจะใช้ในการออก ICO โดยประโยชน์ของมันก็คือไม่ว่าจะเป็นแอปพลิเคชั่นไหนหรือ Smart Contract ตัวใดก็จะสามารถเชื่อมตัวกับมาตรฐานของ ERC-20 นี้ได้ โดยไม่จำเป็นที่จะต้องรู้รายละเอียดอื่น ๆ เกี่ยวกับโทเคนเหรียญนั้น ๆ ดังนั้นนักพัฒนาซอฟต์แวร์หลายคนจึงพอใจในการสร้างโทเคน ICO และมีมาตรฐานในการมีปฏิกิริยาต่อกัน ยกตัวอย่างเช่นนักพัฒนา Crypto Wallet ไม่จำเป็นต้องเรียนรู้อะไรมาก สิ่งที่พวกเขาต้องรู้ก็คือ Address ของโทเคน Ethereum ที่ใช้มาตรฐานนี้เท่านั้นเอง

ERC-223

เป็นมาตรฐานที่พัฒนามาจาก ERC-20 อีกทีหนึ่ง เพื่อเข้ามาแก้ปัญหาที่ทาง ERC-20 มีอยู่ก่อนแล้วโดยข้อดีของมันก็คือมันสามารถเรียกคืนเหรียญที่ส่งไปผิด Address เพื่อป้องกันการสูญหายระหว่างทำการส่งนั่นเอง แถมตัว ERC-223 ยังใช้ GAS ในการส่งน้อยกว่า ERC-20 อีกด้วย

ไม่ใช่ว่าตัว ERC-233 จะมีแต่ข้อดีเท่านั้น โดยข้อเสียที่พบเจอก็คือ เหรียญที่ใช้มาตรฐานนี้ยังมีไม่มาก แน่นอนว่า ICO ทั่ว ๆ ไปนั้นยังไม่ได้ใช้มาตรฐานนี้หลายเว็บเทรดยังไม่สนับสนุนเหรียญมาตรฐานนี้ และอาจยังไม่มีการเตรียมพร้อมกับมาตรฐานเหรียญนี้ด้วย

ERC-721

ERC-721 เป็นมาตรฐานที่ทำให้โทเคนนั้นมีความเฉพาะตัว (Non-Fungible) โดยส่วนมากมักจะถูกนำไปใช้กับของสะสมต่าง ๆ ที่มีความหายากและเฉพาะตัว เพราะว่ามันมีโค้ดที่สามารถระบุได้ว่าใครเป็นเจ้าของอย่างชัดเจน ในทางกลับกัน ERC-20 นั้นเป็นมาตรฐานที่จะทำให้ทุก ๆ โทเคนที่ถูกสร้างขึ้นมาภายใต้มาตรฐานดังกล่าวมีความเหมือนกัน

โทเคนแต่ละตัวจะไม่เหมือนกัน และมีราคาที่ไม่เหมือนกัน เปรียบเทียบกับธนบัตร 100 บาท มันก็จะมีค่า 100 บาท โดยธนบัตรนั้นจะเหมือน ERC-20 แต่ ERC-721 จะคล้ายกับการซื้อขายสัตว์เลี้ยงเช่นแมวหรือสุนัขที่แต่ละตัวนั้นไม่เหมือนกันเลยแม้แต่น้อย โดยมูลค่าแต่ละตัวก็ไม่เท่ากัน และถ้ายกตัวอย่างง่าย ๆ ในโลกคริปโตก็คือ CryptoKitties ซึ่งในตัวแมวดิจิทัลแต่ละตัวก็จะมีมูลค่าที่แตกต่างกัน ซึ่งแมวแต่ละตัวนั้นมีความเฉพาะตัว เช่นสี, รูปร่าง และลักษณะอื่น ๆ ที่แตกต่างกันออกไปในขณะนี้มันถูกซื้อขายกันในราคาระดับพัน ไปจนถึงล้านบาทเลยก็มี

ERC-621

ERC-621 จะแตกต่างจาก ERC-20 ตรงที่จะสามารถเพิ่มและลด Supply ของโทเคนนั้น ๆ ได้ โดยที่ ERC-20 นั้นไม่สามารถเพิ่มจำนวน Supply ของโทเคนได้

ยกตัวอย่างเช่นถ้าโทเคนที่มีมาตรฐาน ERC621 นั้นโดนแฮ็กเกอร์ขโมยเหรียญไปนั้น เราก็สามารถที่จะเพิ่มหรือลด Supply เหรียญนั้นเพื่อเป็นการรักษาสมดุลของโทเคนนั้นได้นั่นเอง

ERC-827

ERC-827 เป็นอีกมาตรฐานของ ERC โดยมาตรฐานนี้จะต้องการคำขอของเจ้าของคริปโตก่อนว่าจะทำการส่งคริปเหรียญนั้นไปยังอีกที่หนึ่ง โดยมันจะทำงานกับ Third Party เช่นเว็บเทรดหรือกระเป๋าเก็บคริปโต รวมทั้งมันเป็นส่วนขยายของ ERC-20 และสามารถใช้งานร่วมกับ ERC-20 ได้อีกด้วย

มาตรฐาน ERC ตัวอื่น ๆ

ยังมีอีกหลายมาตรฐานของ ERC ที่จะทำให้ชุมชน Ethereum นั้นดียิ่งขึ้น มันอาจต้องใช้เวลาอีกนานจนกว่าจะได้รับการยอมรับและนำมาใช้ และแน่นอนว่าจะสามารถใช้กับ ERC-20 ได้อย่างแน่นอน

ที่มา: hackernoon

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น