<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

Blockchain จะเข้ามาช่วยวงการแพทย์ได้อย่างไรบ้าง ?

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

เทคโนโลยี Blockchain ได้เข้ามามีบทบาทในโลกธุรกิจหรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นด้านธนาคารที่นำมาใช้ในเรื่องความเร็วในการทำธุรกรรม หรือแม้แต่ด้าน Logistic ก็สามารถมาใช้ Tracking ตามสินค้าที่ขนส่งได้ โดยที่ข้อมูลไม่สามารถบิดเบือนได้อีกด้วย

หลายคนก็คงคิดว่าแล้วถ้านำ Blockchain มาใช้ควบคู่กับธุรกิจด้านด้านสุขภาพบ้าง หรือตามโรงพยาบาลจะเป็นเช่นไร แล้วจะทำให้ชีวิตของผู้คนมากมายสะดวกมากขึ้นหรือไม่

ปัญหาที่เจอ

ปัจจุบันเวลาเราไปโรงพยาบาลต่าง ๆ ถ้าเราเป็นผู้ป่วยนอก (OPD) ก็จะต้องทำการลงทะเบียนใหม่อยู่บ่อยครั้ง ถึงแม้ว่าจะมีการบันทึกลงแบบข้อมูลดิจิทัลก็ตาม ซึ่งบางโรงพยาบาลก็อาจจะใช้การบันทึกข้อมูลแบบ Manual อยู่ก็เป็นได้

ปัญหานี้อาจหมดไปถ้าข้อมูลเหล่านั้นสามารถจัดเก็บอยู่บนระบบ Blockchain ที่จะช่วยให้ข้อมูลผู้ลงทะเบียนนั้นมีความถูกต้อง ไม่สูญหาย และไม่โดนแก้ข้อมูลหรือทำข้อมูลอันเป็นเท็จอีกด้วย

ประวัติการรักษา

อันนี้ถือว่าเป็นปัญหาระดับต้น ๆ ที่พบเจอเช่นกันเวลาไปรักษาที่โรงพยาบาลซึ่งหลายครั้ง ประวัติการรักษาของคนไข้ (เวชระเบียน) จะอยู่ในรูปแบบ Hard Copy หรือรูปแบบกระดาษ ซึ่งบางครั้งข้อมูลบางอย่างอาจเป็นลายมือที่ขีด ๆ เขียน ๆ จนแพทย์ก็ไม่สามารถอ่านออกได้เช่นกันว่าเขียนอะไรลงไป

จะดีกว่าไหมถ้าเรานำระบบ Blockchain มาจับในเรื่องของประวัติการรักษาของคนไข้ตั้งแต่เริ่มแรกที่ลงทะเบียนใช้บริการ เพราะว่ามันสามารถจัดเก็บข้อมูลในการรักษาได้ แถมข้อมูลนี้จะไม่มีวันสูญหาย และไม่มีใครมาแก้ไขข้อมูลอันเป็นเท็จกันอีกด้วย

นอกจากข้อมูลจะไม่สูญหายแล้ว อาจเป็นการป้องกันข้อมูลของผู้ป่วยรั่วไหล เพราะว่าปัจจุบันหลาย ๆ แห่งยังใช้กระดาษในการจดบันทึกอาการของผู้ป่วยอยู่ และในบางครั้งอาจมีคนแปลกหน้าสามารถมาแก้ไขหรือขโมยออกไปด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่ จึงทำให้คิดว่า Blockchain จะมีประโยชน์ในส่วนนี้

ลดค่าใช้จ่ายในการดูแลระบบจากพวก Third Party

มีรายงานอ้างอิงจากนิตยสารวงการแพทย์ ได้เก็บข้อมูลตั้งแต่ปี 1999 พบว่าค่าใช้จ่ายในโรงพยาบาล 30 เปอร์เซ็นต์เป็นค่าดูแลระบบแทบทั้งสิ้น

เมื่อพบค่าใช้จ่ายในส่วนนี้แล้วนั้น เราสามารถนำ Smart Contracts มาใช้งานเพื่อหลีกเลี่ยงคนกลางในการเข้ามาบริหาร นอกจากนี้ ปัจจุบันการเก็บข้อมูลนั้นยังคงเป็นระบบ Centralized อยู่ซึ่งจะทำให้เจ้าหน้าที่สามารถทำข้อมูลซับซ้อนขึ้นมาได้ และแน่นอนถ้าใช้ Blockchain ปัญหาเหล่านี้จะหมดไป

ทำงานร่วมกับองค์กรอื่น ๆ ด้านการแพทย์ได้

ลองคิดเล่น ๆ ว่าถ้าเราเกิดป่วยขึ้นมาแต่อยากไปแค่คลินิกข้างบ้านเพื่อซื้อยามากิน แต่ปรากฏว่าเมื่อเราไปหาคลิกนิกแล้วนั้น ทางคลินิกไม่สามารถวินิจฉัยอาหารเราได้ เราต้องการความเห็นที่สองจากที่อื่น เราก็ต้องหอบเอกสารโดยที่เราต้องห้ามลืมข้อมูลอื่น ๆ อีก

แต่ถ้าเราใช้ Blockchain เข้ามาจับหลังจากที่เราได้รับความคิดเห็นที่หนึ่งแล้ว เราก็เพียง Keys ที่เก็บข้อมูลของเรานั้นไปเปิดให้ทางโรงพยาบาลหรือแพทย์ที่ไหนในโลกดูก็ได้ เพราะข้อมูลมันอยู่บน Blockchain เป็นที่เรียบร้อยแล้วนั่นเอง

Blockchain สามารถติดตามใบสั่งยาได้

ปัญหาที่มักเจอก็คือ เราไม่สามารถติดตามใบสั่งยาของผู้ป่วยได้ยกตัวอย่างเช่นในสหรัฐฯ มีรายงานว่า มีผู้คนกว่า 29.5 ล้านคนทั่วโลกที่มีความผิดปกติในการใช้ยาต่าง ๆ

เพราะปัญหาที่พบเจอในปัจจุบันนั้นก็คือเราขาดระบบติดตามใบสั่งยา (Prescription) ที่ดีนั่นเอง ในทางกลับกันถ้าเราใช้ Blockchain ในการกำหนดใบสั่งยาได้ หรือสามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ทุกเคสได้นั้นก็เป็นสิ่งดี

ยิ่งถ้านำ Blockchain ไปใช้ในโรงพยาบาลและคลินิกทั่วโลกเราก็สามารถตรวจสอบใบสั่งยาได้ทุกขั้นตอนและสามารถ Tracking ธุรกรรมของการสั่งยาได้ทั้งหมด

DocCoin

ก่อนหน้านี้ Siam Blockchain เคยรีวิว ICO ที่ชื่อว่า DocCoin ไว้ซึ่งเป็นโปรเจกต์ที่เกี่ยวกับการรักษาโรคผ่านทาง Telemedicine ด้วยเทคโนโลยี Blockchain ซึ่ง Telemedicine  ก็คือการรักษา ที่ทำให้ผู้ป่วยและหมอสามารถพูดคุยตอบโต้และสามารถมองเห็นหน้ากันได้ทั้ง 2 ฝ่ายแบบ Real-time นั่นเอง

สรุป

ถึงแม้ว่า Blockchain จะมีประโยชน์มากมาย แต่ก็เป็นสิ่งที่ท้าทายอยู่ว่า เราจะสามารถนำ Blockchain เข้าสู่วงการแพทย์นี้ได้หรือไม่ แล้วแอปฯ ที่จะรองรับระบบพวกนี้จะพัฒนาทันตามเทคโนโลยีได้หรือเปล่า

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น