<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

อีกหนึ่งเหตุผลว่า ทำไม Cryptocurrency ถึงยังไม่ได้รับการยอมรับโดยผู้คนและนักลงทุนส่วนใหญ่ ?

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ถึงแม้ Cryptocurrency จะเป็นนวัตกรรมมาใหม่ที่ตั้งใจมาแทนที่ระบบเดิม ๆ พร้อมมีเทคโนโลยีสุดล้ำอย่าง Blockchain เป็นใจกลางทำงานอยู่เบื้องหลัง แต่ก็ต้องอย่าลืมไปว่า คริปโตส่วนใหญ่นั้นเพิ่งถือกำเนิดมาได้เพียงไม่กี่ปีเท่านั้น

เมื่อขึ้นชื่อว่าเป็นเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมแล้ว ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่มันจะมีช่องโหว่ เนื่องจากเพิ่งถือกำเนิดมาได้ไม่นานนัก และการมีช่องโหว่ในระบบการเงินยักษ์ใหญ่นั้นย่อมแปลว่า จะมีแต่ความหายนะรออยู่ข้างหน้าเท่านั้น

ในขณะที่ Cryptocurrency นั้นมีความ Decentralized สูง แต่ในทางกลับกันมันก็สามารถถูกควบคุมได้ง่ายเช่นกันด้วยกลไกอย่าง 51% Attack

51% Attack คืออะไร ?

51% Attack คือชื่อที่เอาไว้เรียกการโจมตีเครือข่ายคริปโตโดยกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง กลุ่มดังกล่าวจะทำการโจมตีได้ต่อเมื่อมีอำนาจมากกว่า 51 เปอร์เซ็นต์ของเครือข่าย เช่นมีกำลังขุดที่ใช้เพื่อทำการยืนยันธุรกรรมในเครือข่ายมากกว่า 51 เปอร์เซ็นต์ของทั้งหมด และเมื่อมี 51 เปอร์เซ็นต์แล้ว แปลว่าพวกเขาสามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลการทำธุรกรรมในเครือข่าย หรือ Double Spending (โอนเงินออกไปแล้ว แต่เงินไม่หายจาก Wallet เรา)

ยกตัวอย่างเช่นเหตุการณ์ล่าสุด เมื่อต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา คริปโตอย่าง Ethereum Classic (ETC) ถูกทำการโจมตี 51% Attack ทำให้มีการ Double Spend ETC เกิดขึ้นถึง 219,500 ETC คิดเป็นมูลค่ากว่า 1.1 ล้านดอลลาร์ด้วยกัน

ทำไมปัญหาดังกล่าวถึงเป็นเรื่องใหญ่ ?

อ้างอิงจาก Coinmarketcap เหรียญ ETC ทั้งมีมูลค่าทั้งหมดอยู่ที่ 455.29 ล้านดอลลาร์ และเป็นคริปโตอันดับที่ 18 ของตลาด มันเป็นเหรียญที่ทำงานด้วย Algorithm Proof-of-Work กล่าวคือมีนักขุดในระบบเช่นเดียวกับ Bitcoin นั่นเอง

แต่การโจมตี 51% Attack ที่เกิดขึ้นนั้นแสดงให้เห็นว่า แม้แต่เหรียญคริปโตอันดับที่ 18 จากทั้งหมด 2,104 เหรียญ ก็ยังสามารถถูกควบคุมได้โดยคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งอยู่เลย มันเลยทำให้เกิดคำถามต่อมาก็คือ แล้วเหรียญคริปโตสกุลอื่น ๆ ที่มีมูลค่าโดยรวมน้อยกว่านี้ จะไม่ถูกบงการง่ายกว่านี้อีกหรือ ?

ในจุดนี้เองที่ทำไมผู้คนส่วนใหญ่ถึงยังหวาดกลัวที่จะลงทุนและใช้งานในคริปโตอยู่ ถึงแม้มันจะมีข้อดีต่าง ๆ มากมายและมีความ Decentralized แต่ด้วยความ Decentralized นั้นเอง ทำให้มันถูกควบคุมได้ แตกต่างจากระบบที่ Centralized ซึ่งมีคนควบคุมคนเดียวเสมอ ยกเว้นถูกแฮ็ก

ทางเทคนิคแล้ว การที่จะควบคุมคริปโตสกุลใดก็ตาม เพียงแต่ควบคุม Nodes สำหรับการยืนยันธุรกรรมมากกว่า 51 เปอร์เซ็นต์ของเครือข่ายก็จะสามารถควบคุมข้อมูลธุรกรรมของเครือข่ายได้ และสำหรับคริปโตที่ขุดได้นั้นก็เพียงมีกำลังขุดมากกว่า 51 เปอร์เซ็นต์ของเครือข่าย

ด้วยเหตุนี้เอง ทำให้คริปโตสกุลเล็ก ๆ ต่างไม่ได้รับความเชื่อใจจากคนส่วนมาก แต่คริปโตที่มีมูลค่าโดยรวมใหญ่ ๆ อย่าง Bitcoin ที่มีมูลค่าโดยรวมถึง 62.71 พันล้านดอลลาร์ได้รับความไว้วางใจมากกว่า เนื่องจากต้นทุนในการครอบครองกำลังขุดมากกว่า 51 เปอร์เซ็นต์ของเครือข่ายนั้นสูงมาก ๆ นั่นเอง

ทำไมการ 51% Attack ถึงเป็นกลไกที่สำคัญสำหรับคริปโต ?

คำถามที่หลาย ๆ คนมักถามตามมาคือ ทำไมรู้ว่ามีปัญหาของ 51% Attack แล้ว ยังไม่ทำการแก้ไขให้ปัญหานี้ไม่สามารถเกิดขึ้นได้อีกเลย ?

ในปัจจุบันนักพัฒนาจำนวนมากก็ได้เริ่มเล็งเห็นว่าปัญหานี้เป็นเรื่องใหญ่ เพราะส่งผลกับเสถียรภาพและความน่าเชื่อถือของคริปโตโดยตรง แต่จะทำให้ไม่มีทางเกิดได้เลยก็คงเป็นไปไม่ได้เพราะว่าหากคริปโตสกุลใดไม่สามารถ 51% Attack ได้ แปลว่าคริปโตนั้นมีความ Centralized สูง

ยกตัวอย่างเช่น XRP คริปโตอันดับ 3 ของตลาด Nodes การยืนยันธุรกรรมของคริปโตดังกล่าวนั้นถูกครอบครองโดย Ripple ประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์เป็นอย่างต่ำ นั่นแปลว่าจะไม่มีใครเลยที่มี Nodes มากกว่า 51 เปอร์เซ็นต์นั่นเองทำให้การ 51% Attack เป็นไปไม่ได้ ยกเว้นแต่ตัว Ripple ทำการเปลี่ยนแปลงเอง

ถึงแม้ปัญหานี้จะไม่สามารถจัดการให้หายได้แบบ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ผู้คนจำนวนมากก็ได้เร่งหาวิธีการมาแก้ไขปัญหานี้ ซึ่งในอนาคตคาดว่าจะมีวิธีการป้องกันใหม่ ๆ เกิดขึ้นมา เพราะในตอนนี้พวกเขายังคงโฟกัสไปกับการแก้ปัญหาด้าน Scaling อยู่ แต่เมื่อเริ่มรองรับธุรกรรมจำนวนมากได้แล้ว ก็จะหันกลับมาสนใจความปลอดภัยต่อ

ตราบใดที่ปัญหาดังกล่าวยังคงอยู่มันก็ยังจะยังเป็นสิ่งที่ปิดกั้นนักลงทุนเจ้าใหญ่ ๆ และผู้ใช้งานส่วนใหญ่ให้เข้ามาใช้งานคริปโตอย่างเต็มที่ ลองนึกว่ามีผู้คนใช้คริปโตสกุลหนึ่ง วันดีคืนดี ก็มีปัญหา Double Spending  อยู่ดี ๆ เงินที่เราฝากเอาไว้ในเครือข่ายกับใช้การไม่ได้ขึ้นมา เทียบกับค่าธรรมเนียมที่พวกเขาประหยัดไม่กี่บาท มันก็คงไม่คุ้มกัน ในจุดนี้เองที่ทางวงการคริปโตนั้นต้องเร่งช่วยกันแก้ปัญหาต่อไป

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น