<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

Telegram ปฏิเสธที่จะส่งข้อมูลด้านการเงินให้ ก.ล.ต. สหรัฐฯดู หลังถูกขอให้เปิดเผย

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ICO ของ Telegram นั้นเป็นหนึ่งในการระดมทุนที่มากที่สุดในวงการคริปโต โดยมันถูกตั้งเป้าว่าจะเป็นโปรเจกต์ยักษ์ใหญ่ที่จะเข้ามาช่วยเสริมทัพให้กับแพลตฟอร์ม Social Media ของพวกเขา

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้การระดมทุน ICO จะไม่ได้ติดปัญหาอะไรมากนัก แต่เมื่อระดมทุนเสร็จ โปรเจกต์ยักษ์ใหญ่แบบนี้ก็หนีไม่พ้นสายตาของ กลต. สหรัฐฯ หรือ SEC ที่เข้ามาตรวจตราโปรเจกต์นี้อย่างจริงจัง เพราะมีนักลงทุนจำนวนมากเข้าไปเกี่ยวข้อง

Telegram ไม่ให้ความร่วมมือ

ล่าสุด ทาง SEC ได้ขอให้ Telegram ส่งเอกสารด้านการเงินมาเพื่อทำการตรวจสอบ แต่ทาง Telegram กลับปฏิเสธที่จะส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องกับเงินระดมทุนให้

ในตอนที่ระดมทุน ICO ทาง Telegram ไม่ได้ลงทะเบียนกับทาง SEC และได้เปิดให้นักลงทุนในสหรัฐฯ เข้ามาลงทุนได้ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย ต่อมาทาง SEC เลยให้โอกาส Telegram โดยการให้พวกเขาไปลงทะเบียนเป็นหลักทรัพย์แทนเพื่อให้ถูกกฎหมาย แต่พวกเขาก็ปฏิเสธที่จะทำตาม

หลังจากที่ Telegram ไม่ได้ลงทะเบียน ICO ของพวกเขาเป็นการขายหลักทรัพย์ (Security Offering) ทาง SEC เลยต้องการให้ Telegram ส่งข้อมูลด้านการเงินใน 2 ปีที่ผ่านมาให้พวกเขา ซึ่งในนั้นก็มีรายละเอียดว่า มีใครบ้างที่ลงทุนใน ICO นี้ และเงินเหล่านั้นไปไหนแล้วในตอนนี้

ทาง SEC ต้องการที่จะตรวจสอบทาง Telegram ว่า พวกเขานำเงินที่ได้รับจากการระดมทุน ICO ไปใช้ในการพัฒนา Blockchain จริงหรือไม่ หรือพวกเขานำเงินไปใช้ทำอย่างอื่นแทน ซึ่งก็อย่างที่ได้รับการอัปเดตกันว่า พวกเขาได้ปฎิเสธที่จะให้ข้อมูลด้านการเงินเหล่านั้นกับ SEC

ในตอนนี้ SEC ได้หยุดการเปิดตัวของคริปโตและ Blockchain ของ Telegram ได้สำเร็จ เนื่องจากมีคำสั่งศาลโดยตรงสั่งมากก่อนจะเปิดตัวไม่นาน ทำให้ทาง Telegram ไม่มีทางเลือกนอกจากต้องจัดการเรื่องกฎหมายพวกนี้ให้เรียบร้อยก่อน จึงจะกลับมาดำเนินตามแผนต่อได้

ตอนนี้ ก็ต้องติดตามต่อไปว่า การต่อสู้ของทาง SEC และ Telegram นั้นจะเป็นอย่างไร แต่ SEC ก็มีประวัติอย่างโชกโชนกับการลงโทษ ICO ที่ผิดกฎหมายมาหลายครั้งแล้ว ซึ่งดูเหมือนตอนนี้ จะขึ้นอยู่กับเวลาเท่านั้นที่จะทำให้ Telegram ต้องยอมเผยข้อมูลแต่โดยดี และเมื่อผลออกมาจะเป็นอย่างไรก็ต้องติดตามกันต่อไป

นี่เป็นอีกเหตุการณ์ที่ย้ำความจริงที่ว่า SEC นั้นมีความตั้งใจที่จะนำกฎหมายเข้ามาใช้อย่างจริงจังกับวงการคริปโต โดยเฉพาะการลงทุน ICO ซึ่งก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีคือนักลงทุนเองก็ได้รับการคุ้มครองจากมิจฉาชีพที่จะมาหลอกเอาเงินมากขึ้น ข้อเสียก็คือ ข้อกำหนดที่ยิบย่อยมากมายอาจจะปิดโอกาสนักลงทุนได้นั่นเอง แต่เพื่อความปลอดภัยและการยกระดับวงกรคริปโตให้ได้รับการยอมรับมากขึ้นแล้ว การมีกฎหมายจากหน่วยงานในรัฐบาลเข้ามามีส่วนร่วมนั้นเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลย และก็คาดว่าหน่วยงานกฎหมายในหลาย ๆ ประเทศคงเห็นด้วยเช่นกัน

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น