<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

ก.ล.ต. สหรัฐฯ ตอกกลับ Ripple กล่าวว่า ไม่มีหน้าที่ต้องเตือนเรื่อง XRP

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐฯ (สำนักงาน ก.ล.ต.) กำลังขอให้ศาลยกฟ้องคำแก้ต่างของ Ripple ซึ่งมุ่งเป้าไปที่ข้อโต้แย้งของบริษัท Ripple ที่กล่าวว่าหน่วยงาน “ขาดกระบวนการที่เหมาะสม และการแจ้งลายลักษณ์อักษรอย่างเป็นธรรม” โดยหน่วยงานกำกับยืนยันว่า ไม่ได้มีหน้าที่ในการตักเตือน Ripple ว่าโทเค็น XRP เป็นหลักทรัพย์หรือไม่ โดยการยื่นคำร้องใหม่นี้เกิดขึ้นเมื่อ 22 เมษายนที่ผ่านมา

“ แรงผลักดันในการโต้แย้งของ Ripple คือ การที่สำนักงาน ก.ล.ต. มีหน้าที่แจ้ง แต่กลับไม่ได้เตือนว่า Ripple ละเมิดกฎหมายก่อนที่ทางสำนักงาน ก.ล.ต. จะยื่นฟ้อง ซึ่งทางสำนักงาน ก.ล.ต. โดยบริษัท Ripple โต้แย้งในแถลงการณ์เบื้องต้นของบันทึกข้อตกลงว่าการยื่นฟ้องครั้งนี้ “ ขาดกระบวนการที่เหมาะสมและการแจ้งเตือนอย่างเป็นธรรม” ของ Ripple

สำนักงาน ก.ล.ต. ระบุว่า “การโต้แย้งของ Ripple ครั้งนี้ มุ่งเน้นไปในสิ่งที่ ก.ล.ต. ไม่ได้ทำก่อนที่จะยื่นฟ้อง ซึ่งไม่เพียงพอตามกฎหมายและควรได้รับการแก้ไข” 

หน่วยงานระบุว่า “ ข้อโต้แย้งของ Ripple คือ การที่สำนักงาน ก.ล.ต. จะต้องเตือนผู้มีส่วนร่วมในตลาด เกี่ยวกับการละเมิดกฎหมาย หรือ ก.ล.ต. ต้องออกข้อบังคับ หรือคำแนะนำก่อนที่ ก.ล.ต. จะใช้อำนาจที่รัฐสภาเสนอให้ ก.ล.ต. ผ่านมาตราหรือหลักกฎหมาย”

การยื่นฟ้องใหม่มีเป้าหมายเพื่อตอบโต้ Ripple โดยทางสำนักงาน ก.ล.ต. ยื่นฟ้อง Ripple ในเดือนธันวาคมโดยอ้างว่า การขายโทเค็น XRP เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ไม่ได้จดทะเบียน ซึ่งมีมูลค่ากว่า 1.38 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ก.ล.ต. ยังยื่นฟ้อง Chris Larsen ประธานบริหารของ Ripple และซีอีโอบริษัทอย่าง Brad Garlinghouse เป็นจำเลยร่วมในข้อหาช่วยเหลือและสนับสนุนการละเมิดของ Ripple และทำกำไรส่วนตัวเป็นเงินจำนวนกว่า 600 ล้านเหรียญสหรัฐจากการขาย XRP ที่ไม่ได้จดทะเบียน

จากการยื่นฟ้องทางกฎหมายเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา Garlinghouse และ Larsen กำลังพยายามขอให้มีการยกเลิกข้อกล่าวหาดังกล่าว เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมาผู้ถือ XRP ได้ยื่นคำร้องเพื่อแทรกแซงคดีในฐานะจำเลยบุคคลที่สาม โดยหวังว่าจะปกป้องผลประโยชน์ของพวกเขาในคดีนี้ได้

ประเด็นสำคัญในการฟ้องร้อง Ripple ของ ก.ล.ต. คือ การทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับ XRP ถือเป็น “สัญญาการลงทุน” ดังนั้นหลักทรัพย์จึงต้องจดทะเบียนภายใต้มาตรา 5 ของพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ปี 1933

คำตอบของ Ripple ต่อการฟ้องร้องของ ก.ล.ต. Ripple ได้ให้คำแก้ตัว 4 ข้อ: 

ประการแรกคือ หน่วยงานกำกับล้มเหลวในการระบุข้อเรียกร้อง ประการที่สอง Ripple ไม่ได้ละเมิดมาตรา 5 ของกฎหมายหลักทรัพย์ เนื่องจาก XRP ไม่ใช่หลักทรัพย์ หรือ “สัญญาการลงทุน” และไม่จำเป็นต้องลงทะเบียนใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจำหน่ายหรือการขาย XRP โดย Ripple ประการที่สาม สำนักงาน ก.ล.ต. ไม่สามารถระบุความเป็นไปได้เกี่ยวกับการละเมิดในอนาคตโดย Ripple อย่างสมเหตุสมผลได้ และประการที่สี่ SEC ล้มเหลวในการแจ้งอย่างเป็นธรรมว่าการกระทำของ Ripple นั้นผิดกฎหมายและเป็นการละเมิดสิทธิ์ในกระบวนการของ Ripple 

การยื่นฟ้องใหม่ในสัปดาห์นี้ สำนักงาน ก.ล.ต. ยืนยันว่า ได้ให้คำแนะนำในพื้นที่สินทรัพย์ดิจิทัลโดยอ้างถึงรายงาน DAO ประจำปี 2017 เกี่ยวกับ “Dao Tokens” ซึ่งสรุปได้ว่าการเสนอและการขาย Dao Tokens จำเป็นต้องเป็นไปตามรัฐบาลกลาง กฎหมายหลักทรัพย์ รวมถึงข้อกำหนดในการลงทะเบียนกับสำนักงาน ก.ล.ต.   หรือมีคุณสมบัติได้รับการยกเว้นจากข้อกำหนดการลงทะเบียนของกฎหมายหลักทรัพย์ของรัฐบาลกลาง

“ ข้อความของ ก.ล.ต. ต่อผู้ออกโทเค็นดิจิทัลนั้นชัดเจนถึง การใช้เทคโนโลยีบัญชีแยกประเภทแบบกระจาย หรือบล็อกเชน ซึ่งรองรับ XRP และสินทรัพย์ดิจิทัลอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งการระดมทุนต้องเป็นไปตามกฎหมายหลักทรัพย์ของรัฐบาลกลาง” 

จากนั้นนาย Jay Clayton ประธานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ยังเคยแจ้งให้ตลาดทราบหลายครั้งว่า “สำนักงาน ก.ล.ต. สามารถมองการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นหลักทรัพย์ได้” 

ทนายความของ ก.ล.ต. เผยว่า จากคำแนะนำในอดีตที่ Ripple ได้รับตั้งแต่ปี 2012 คำถามจากนักลงทุนในตลาดเกี่ยวกับ ข้อเสนอและการขาย XRP ของ Ripple จำเป็นต้องลงทะเบียนภายใต้กฎหมายหลักทรัพย์หรือไม่ และการสอบสวนอย่างเป็นทางการของ ก.ล.ต. จำเลยทราบมาหลายปีแล้วว่ากฎหมายหลักทรัพย์อาจถูกนำมาใช้ได้ แต่จำเลยไม่เคยขอหนังสือ โดยหน่วยงานถือว่า “ไม่ดำเนินการ” (no action)

สำนักงาน ก.ล.ต. ยังตอบโต้ว่า  การแจ้งเตือนอย่างเป็นธรรม เป็นไปตามข้อกำหนดกระบวนการของรัฐธรรมนูญ ซึ่งกฎหมายนั้นได้ให้การแจ้งอย่างเป็นธรรมแล้ว

หน่วยงานระบุเพิ่มเติมว่า “หากข้อแก้ตัวของ Ripple ได้รับการยอมรับหมายความว่า เมื่อใดก็ตามที่หน่วยงานพยายามที่จะใช้มาตรากฎหมายที่มีอยู่ยาวนานกับชุดข้อเท็จจริงที่เฉพาะเจาะจง ผู้ละเมิดสามารถโต้แย้งได้ว่าการที่หน่วยงานเงียบก่อนที่จะมีการยื่นคำร้อง ซึ่งการบังคับใช้กฎหมายจะทำให้ไม่ต้องรับผิดในการกระทำนั้น ๆ 

กฎระเบียบทางการเงินในสหรัฐอเมริกาที่ดำเนินการโดยหน่วยงานหลายแห่งที่มีเขตอำนาจศาลซ้อนทับกัน สำนักงาน ก.ล.ต. ยืนยันว่า “ข้อตกลง FinCEN ในปี 2015 สำหรับคำถามเกี่ยวกับบริการด้านเงินไม่ได้กำหนดให้ ก.ล.ต. มีหน้าที่ใด ๆ ในการเตือน Ripple ถึงภาระหน้าที่ในการปฏิบัติตาม และจากกฎหมายหลักทรัพย์  การที่นักลงทุนในตลาดเห็นด้วยกับ Ripple ในการฟ้องร้อง หลังที่ทำธุรกรรมไปแล้วนั้น อันที่จริงข้อตกลงดังกล่าวไม่ได้เกี่ยวข้องกับกฎหมายหลักทรัพย์ของรัฐบาลกลางและ ก.ล.ต. ไม่ได้เป็นคู่สัญญา”

ความชัดเจนด้านกฎระเบียบบางประการในสหรัฐฯอาจเกิดขึ้นได้ โดยเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา สภาผู้แทนราษฎรแห่งสหรัฐอเมริกาได้ผ่านร่างพระราชบัญญัติ “Eliminate Barriers to Innovation Act of 2021″  ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สำนักงาน ก.ล.ต. และคณะกรรมการการซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์ล่วงหน้า (CFTC) ทำงานร่วมกันในสินทรัพย์ดิจิทัลได้

เป็นเพียงการเล่นเกมหรือไม่?

คดีฟ้องร้องระหว่างสำนักงาน ก.ล.ต. และ Ripple กำลังอยู่ในขั้นตอนการค้นหาเอกสาร โดยทั้งสองฝ่ายกำลังต่อสู้กันด้วยข้อมูลเพื่อตอบโต้ฝ่ายตรงข้าม เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ก.ล.ต. ได้ยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาหยุดให้ Ripple ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับการสื่อสารภายในของเจ้าหน้าที่ ก.ล.ต. ที่นอกเหนือจากค้นหาเอกสาร

ทางหน่วยงานกำกับดูแลเผยว่า “ก.ล.ต. กำลังอยู่ระหว่างการปฏิบัติตามคำสั่งศาลเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2021 และได้เริ่มตรวจสอบอีเมลภายนอกหลายหมื่นฉบับจาก custodian เพื่อทำตามคำสั่งของศาล 

นอกจากนี้ ก.ล.ต. กล่าวว่า “ แนวทางของฝ่ายจำเลยเป็นส่วนหนึ่งของรูปแบบการเล่นเกมที่เกี่ยวข้องกับการค้นหาหลักฐาน” “ จำเลยไม่ได้ต้องการหลักฐานที่เกี่ยวข้องจริง ๆ แต่พยายามที่จะก่อกวนการทำงานของเจ้าหน้าที่ ก.ล.ต. ทำให้คดีถูกเบี่ยงเบนไปจากที่ควรและขัดขวางเจ้าหน้าที่ ก.ล.ต. ด้วยการตรวจสอบเอกสาร”

ที่มา: forkast.news