<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

สิงคโปร์และกัมพูชากับการใช้งานสกุลเงินดิจิทัลข้ามพรมแดน

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

เนื่องจากความสนใจเกี่ยวกับสกุลเงินดิจิทัลของธนาคาร (CBDC) ที่ยังคงเติบโตขึ้นทั่วโลก ทำให้ธนาคารกลางหลายแห่งเริ่มหันจากการใช้งาน CBDC ในประเทศมาให้ความสนใจเกี่ยวกับการใช้งานข้ามพรมแดนกันมากขึ้น ซึ่งในการประชุมเมื่อเร็ว ๆ นี้ ธนาคารกลางจากกัมพูชาและสิงคโปร์ได้พูดถึงสกุลเงินดิจิทัลที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงระบบการชำระเงินที่มีอยู่ให้ดีขึ้น

Sopnendu Mohanty หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฟินเทคของ Monetary Authority of Singapore (MAS) ได้กล่าวถึงการทำงานระหว่างสิงคโปร์และไทย ที่เชื่อมต่อระบบการชำระเงินรายย่อยของภาคธุรกิจและประชาชนแบบเรียลไทม์ของประเทศเมื่อต้นปีนี้ ระหว่าง PayNow ของสิงคโปร์และ PromptPay ของไทย ช่วยลดต้นทุนการโอนเงินระหว่างประเทศอย่างมากจาก 10-15% เหลือเพียง 3% 

ซึ่งค่าใช้จ่ายที่เหลือส่วนใหญ่มาจากค่าธรรมเนียมการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศและค่าธรรมเนียมการชำระบัญชี Mohanty เชื่อว่า CBDC สำหรับการทำธุรกรรมระหว่างสถาบันการเงินกับระบบบันทึกรายการธุรกรรมดิจิทัล (DLT) จะสามารถสร้างความแตกต่างในการลดต้นทุนมากขึ้นไปอีก 

“การสร้างสกุลเงินหลายสกุล และระบบบันทึกรายการหลายระบบ เป็นหนทางสู่อนาคตอย่างแท้จริง” Mohanty กล่าว

นอกจากนี้ด้วยการพัฒนาโปรเจกต์ Ubin ที่เป็นต้นแบบของเครือข่ายการชำระเงินหลายสกุลด้วยบล็อกเชน ซึ่งได้พัฒนาจากการทดลองไปสู่การค้าด้วยความร่วมมือระหว่าง JP Morgan, DBS Bank, และ Temasek ที่ได้ก่อตั้ง Partior ซึ่งบริษัทด้านเทคโนโลยี บล็อกเชน ทำให้ Mohanty กล่าวว่าพื้นที่บล็อกเชนในสิงคโปร์กำลังมีการเติบโตอย่างมากและกำลังกลายเป็นกระแสหลัก

“สำหรับประเทศที่ไม่สามารถเข้าถึงระบบการชำระเงินที่รวดเร็ว อาจจะมองว่า CBDC รายย่อยของภาคธุรกิจและประชาชน รวมถึง DLT เป็นสิ่งที่น่าสนใจ แต่ในสิงคโปร์ ผมสามารถโอนเงินระหว่างธนาคารโดยไม่มีค่าใช้จ่ายในสามคลิก

แต่ก็ยังมีอีกหลายประเทศที่ต้องการการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานจำนวนมาก แล้วจะสามารถพัฒนาอย่างก้าวกระโดดได้ เช่น ประเทศกัมพูชา”

Serey Chea ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งชาติกัมพูชา กล่าวอภิปรายเกี่ยวกับ Project Bakong ของกัมพูชาที่สร้างขึ้นบนแพลตฟอร์ม Hyperledger Iroha ซึ่งได้รับการพูดถึงว่าเป็น CBDC เนื่องจากคุณลักษณะบางอย่าง เช่น เทคโนโลยีพื้นฐาน และวัตถุประสงค์เพื่อเป็นระบบการชำระเงินหลัก 

“จากมุมมองทางกฎหมายแล้วมันไม่ใช่ CBDC” Chea กล่าว พร้อมกับเสริมว่าธนาคารกลางของประเทศกัมพูชาไม่ได้มีส่วนรับผิดชอบโดยตรงใด ๆ

โดย Project Bakong เป็นระบบการชำเงินดิจิทัลที่ให้ชำระเงิน ฝาก และโอนเงินสกุล riel ของกัมพูชาหรือดอลลาร์สหรัฐฯ ในรูปแบบของโทเค็น ซึ่งตามข้อมูลของ Chea มีการดาวน์โหลด Bakong wallet ประมาณ 1 แสนครั้ง และมีผู้ใช้ประมาณ 5 ล้านคน

Chea ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของ Project Bakong คือการทำให้การชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือถูกลง โดยการลดต้นทุนการปฏิบัติตามกฎระเบียบในการชำระเงินของกัมพูชา ซึ่งเธอเคยกล่าวว่าอาจเป็นเรื่องยากสำหรับผู้ให้บริการชำระเงินอย่างบริษัทด้านเทคโนโลยี ที่จะเข้าร่วมกับสำนักหักบัญชีและบรรลุมาตรฐานการจัดการสภาพคล่องเช่นเดียวกับธนาคาร

“ตราบใดที่ผู้ให้บริการชำระเงินมีเครดิต Bakong พวกเขาไม่จำเป็นต้องเป็นสมาชิกของสำนักหักบัญชี และพวกเขาสามารถโอนเงินให้ใครก็ได้ตามที่ต้องการ เพราะมันเป็นการโอนแบบ Peer-to-Peer”

Chea มองว่าสกุลเงินดิจิทัลที่สามารถโอนข้ามพรมแดนได้ เป็นกรณีใช้งานที่มีประโยชน์มากที่สุดของสกุลเงินดิจิทัล แต่ต้องแก้ปัญหาเกี่ยวกับการทำงานร่วมกันและตัวตนดิจิทัลก่อน

ตามข้อมูลของ Chea ตอนนี้กัมพูชากำลังดำเนินการเชื่อมต่อแพลตฟอร์มแบบ DLT ของ Bakong เข้ากับแพลตฟอร์มทั่วไปของ Maybank ธนาคารพาณิชย์ในประเทศมาเลเซีย

“มันมีความท้าทายอย่างมาก โดยเฉพาะปัญหาเรื่องตัวตนดิจิทัล แต่เราเชื่อว่าจะสามารถแก้ไข้มันได้ และเปิดตัวภายในปีนี้” Chea กล่าว