<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

Binance เจอศึกรอบด้าน เสี่ยงหยุดให้บริการเพิ่มในหลายประเทศ

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ดูเหมือนว่าแพลตฟอร์มซื้อขายแลกเปลี่ยนคริปโตชั้นนำอย่าง Binance กำลังเจอศึกรอบด้าน เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาได้พวกเขาต้องเจอกับการตีอต้านจากทั้งรัฐบาลญี่ปุ่น, สหราชอาณาจักร และออนแทรีโอของแคนาดา

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา หน่วยงานกำกับดูแลทางการเงินของญี่ปุ่นได้ออกคำเตือนครั้งที่สองต่อ  Binance ในรอบสามปีว่า บริษัท Binance ไม่ได้จดทะเบียนเพื่อดำเนินการในประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา หน่วยงาน Financial Conduct Authority (FCA) ของสหราชอาณาจักรได้สั่งห้ามบริษัท Binance Markets Limited ซึ่งเป็นบริษัทอังกฤษที่ Binance เป็นเจ้าของในหมู่เกาะเคย์แมน ไม่ให้ดำเนินกิจกรรมที่ต้องมีการควบคุมภายในประเทศ 

อย่างไรก็ตาม ลูกค้ายังสามารถซื้อและขาย crypto ได้จากเว็บไซต์ของบริษัทแม่ แต่พวกเขาไม่สามารถซื้อขายอนุพันธ์คริปโตของ Binance ได้ เนื่องจากการซื้อขายอนุพันธ์เป็นกิจกรรมที่ควบคุมโดย FCA

ในวันเดียวกันนั้น Binance ได้ตัดสินใจหยุดดำเนินการในออนแทรีโอ ซึ่งทางการได้ออกประกาศไปยังแพลตฟอร์มซื้อขายแลกเปลี่ยน crypto อื่น ๆ อย่างน้อยสามแห่งในช่วงเดือนที่ผ่านมา โดยกล่าวหาว่าบริษัทเหล่านี้ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบ

การปราบปรามทั่วโลกในตลาด crypto และ Binance

ในขณะนี้ Binance กำลังเจรจาปัญหากับประเทศอื่นอยู่ โดยเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา หน่วยงานกำกับดูแลด้านการเงินของเยอรมนีเตือน Binance ว่าจะต้องเสียค่าปรับสำหรับการเสนอโทเค็นดิจิทัลที่เกี่ยวข้องกับบริษัทที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ เช่น Microsoft และ Apple ซึ่งทาง Binance ขายโทเค็นเหล่านี้โดยไม่เผยแพร่หนังสือชี้ชวนนักลงทุนตามที่กฎหมายกำหนด โดยเป็นการละเมิดกฎหมายที่อาจต้องถูกปรับจำนวน 5 ล้านยูโร หรือประมาณ 6 ล้านดอลลาร์

นอกจากนี้ Binance กำลังถูกสอบสวนโดยกระทรวงยุติธรรมของสหรัฐอเมริกา และหน่วยงานด้านภาษีของสหรัฐฯ ซึ่งกำลังมีการตรวจสอบว่าผู้ฟอกเงินหรือผู้หลบเลี่ยงภาษีสามารถใช้แพลตฟอร์มซื้อขายแลกเปลี่ยน เพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะของพวกเขาได้หรือไม่ จากรายงานของบริษัทวิจัย Chainalysis เผยว่า เมื่อปี 2019 Binance มีการทำธุรกรรมซื้อขาย bitcoin ที่ผิดกฎหมายทั้งหมด 27.5%  โดยมีการเปลี่ยนมือจากอาชญากรไปสู่แพลตฟอร์มซื้อขายแลกเปลี่ยน

สิ่งที่เกิดขึ้นกับ Binance ในตอนนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการปราบปรามคริปโตเคอเรนซีในประเทศเศรษฐกิจสำคัญๆ เช่น จีน อินเดีย ตุรกี และไนจีเรีย ซึ่งประเทศเหล่านี้กำลังวางแผนที่จะจำกัดหรือลดการซื้อขาย crypto แล้ว 

เจ้าหน้าของหน่วยงานกำกับดูแลมีความระมัดระวังว่า แพลตฟอร์มซื้อขายแลกเปลี่ยนอาจมีการฟอกเงิน ซึ่งเป็นกิจกรรมทางอาญา หรือช่วยเหลือผู้กระทำความผิดทางภาษี หรือผู้กระทำความผิดของกลโกง crypto หรือไม่ ในช่วงระหว่างปี 2019 ถึง 2020 มีการ scam ที่เกิดขึ้นใน crypto เพิ่มขึ้นถึง 40% และมีการคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นถึง 75% ในปี 2021

บริษัท Crypto มีแนวโน้มที่จะพยายามที่จะได้รับผลกระทบภายใต้กฎระเบียบของรัฐบาลที่มีอยู่ เนื่องจากความแปลกใหม่ของ crypto ไม่ได้สอดคล้องกับกฎหมายการเงินที่ยังค่อนข้างล้าหลัง

นอกจากนี้ ประมาณ 60% ของธนาคารกลางทั่วโลกกำลังทดลองใช้สกุลเงินดิจิทัล “proof-of-concept” ซึ่งจากการศึกษาของธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (BIS) ระบุว่า ประเทศที่จะใช้สกุลเงินดิจิทัลของตนเองต่อไปในอนาคตมองว่า crypto รูปแบบอื่นเป็นเครื่องมือที่จะกัดเซาะการควบคุมอธิปไตยเหนือนโยบายการเงิน โดยการต่อสู้ระหว่าง Binance กับหน่วยงานกำกับดูแลอาจเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการต่อสู้ระหว่างรัฐบาลกับ Crypto เท่านั้น