<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

วิจัย IBM เผย: ธนาคารกลางส่วนใหญ่จะออกสกุลเงินดิจิทัลถ้าเทคโนโลยี DLT ดีขึ้นแล้ว

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

รายงานวิจัยใหม่ของของทาง IBM พบว่าธนาคารกลางส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะออกสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารเอง (CBDC) โดยที่พวกเขายังไม่แน่ใจว่า Blockchain จะสามารถให้ผลตอบแทนหรือช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพได้หรือไม่ก็ตาม

รายงานฉบับนี้ถูกเผยแพร่เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาโดย IBM และ OMFIF ได้ให้แบบทดสอบนี้กับธนาคารกลาง 21 แห่งตั้งแต่เดือนกรกฎาคมจนถึงกันยายนในหัวข้อ CBDCs  และเทคโนโลยีบัญชีแยกประเภท

ผลการวิจัยพบว่าธนาคารทั้ง 21 แห่งนั้นมี 38 เปอร์เซ็นต์ที่กำลังทดสอบ CBDC ในการทำธุรกรรมระหว่างธนาคาร แม้ว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้อยู่ก็ตาม แต่ในรายงานระบุว่า “ผู้ตอบแบบสอบถามเชื่อว่าเหรียญ CBDC ควรออกโดยธนาคารกลาง”

ทางรายงานระบุว่าการสร้างสกุลเงินดิจิทัลให้มีมูลค่าเท่าเงิน Fiat นั้น ตัว CBDC จะช่วยขจัดความเสี่ยงด้านเครดิตและ “รักษาความเสถียรภาพมูลค่าของโทเคน”

ผู้ตอบแบบสอบถามยังกังวลเรื่องเทคโนโลยีบัญชีแยกประะเภท (DLT) ว่ามันจะสามารถทำงานได้ตามที่คาดการณ์ไว้ได้หรือไม่ และด้วยเทคโนโลยี Blockchain มันจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำธุรกรรมข้ามพรมแดนและลดต้นทุนได้หรือไม่

“61 เปอร์เซ็นต์ของธนาคารกลางกล่าวว่า Blockchain อาจไม่จำเป็นเนื่องจากกำไรที่ได้จากการทดลองใช้ Blockchain ต่ำมาก เทคโนโลยีนี้ยังคงต้องพัฒนาอีกมาก” ในรายงานระบุ

ในรายงานยังระบุว่าธนาคารกลางมีการทดสอบโปรเจกต์ที่ใช้ DLT นี้ในการทำธุรกรรมข้ามพรมแดนอยู่เช่นโปรเจกต์ Jasper จากธนาคารแห่งแคนาดาอีกด้วย

นอกจากนี้ในรายงานยังระบุอีกว่า “ไม่มีธนาคารกลางได้ตรวจสอบความเป็นไปได้ที่ว่าเทคโนโลยี DLT นั้นจะสามารถฟื้นฟูระบบการชำระเงินของพวกเขาได้หรือไม่ โดยส่วนใหญ่แล้วนั้นพอใจกับแพลตฟอร์ม RTGS ที่มีอยู่แล้ว” โดยพวกเขาระบุว่า:

“ธนาคารกลางสรุปว่าระบบ Blockchain ต้องได้รับการปรับปรุงก่อนที่จะมันจะสามารถเอาชนะปัญหาเรื่องการ Scale และความเร็วได้”

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น