<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

สภาเศรษฐกิจโลกประกาศก่อตั้ง Consortium ด้าน Cryptocurrency เพื่อควบคุมและกำกับเหรียญคริปโต

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

การประชุมประจำปีของสภาเศรษฐกิจโลก หรือ The World Economic Forum (WEF) ที่เมืองดาวอสประเทศสวิตเซอร์แลนด์จบลงไปเมื่อวานนี้พร้อมกับการประกาศสำคัญที่เกี่ยวข้องกับโลกสกุลเงินดิจิตอลเป็นอย่างมาก ในวันสุดท้ายสภาเศรษฐกิจโลกประกาศก่อตั้งสมาคมเกี่ยวกับสกุลเงินดิจิตอลเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์

สมาคมดังกล่าวจะทำหน้าที่ออกแบบกรอบในการกำกับดูแลสกุลเงินดิจิตอลต่างๆ รวมไปถึงเหรียญ stablecoins ด้วย

สภาเศรษฐกิจโลก หรือ The World Economic Forum (WEF) เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ซึ่งจัดการประชุมขึ้นทุกปีที่เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2514 โดย เคลาส์ มาร์ติน ชวับ (Klaus Martin Schwab) เป็นอาจารย์ใน มหาวิทยาลัยเจนีวา เดิมชื่อ สภายุโรป เปลี่ยนเป็น สภาเศรษฐกิจโลก เมื่อปี พ.ศ. 2530 

ที่ผ่านมาสภาเศรษฐกิจโลกก็ให้ความสนใจเกี่ยวกับสกุลเงินดิจิตอลมาโดยตลอด ในปี 2018 สภาเศรษฐกิจโลกได้เล็งเห็นกรณีการใช้งานจริงกว่า 65 เคส สำหรับการใช้ Blockchain เพื่อแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ทางสภาเห็นว่าเทคโนโลยี Blockchain สามารถแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่ขณะนี้กำลังเผชิญอยู่ได้หลากหลายวิธี เช่น โมเดลการระดมทุนเพื่อแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมแบบใหม่, การตระหนักถึงต้นทุนทางธรรมชาติที่ไม่ใช่ด้านการเงิน, สร้างระบบที่มีประสิทธิภาพ และไร้ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น พร้อมทั้งอื่น ๆ อีกมากมาย

นอกจากนั้นแล้วสภาเศรษฐกิจโลกยังยกข้อดีต่าง ๆ ของ Blockchain มากมายหลายประการว่ามันจะสามารถเข้ามาสร้างระบบใหม่ ๆ ได้ โดยเรียกมันว่าเป็น “Game Changers หรือนวัตกรรมที่จะมาเปลี่ยนโลก”

และในอาทิตย์ที่ผ่านมาซึ้งเป็นการประชุมประจำปี 2020 สกุลเงินดิจิตอลก็กลายเป็นจุดสนใจหลักของที่ประชุมอีกครั้ง ทางสภาเศรษฐกิจโลกประกาศว่าจะก่อตั้งสมาคมกำกับสกุลเงินดิจิตอลระดับโลกแห่งแรก (Global Consortium for Digital Currency Governance)

โดยสมาชิกของสมาคมจะมาจากสถาบันการเงิน ตัวแทนรัฐบาล นักวิชาการ องค์กรระดับนานาชาติ บริษัทชั้นนำ ผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิค เอ็นจีโอ และสามชิกจากตัวสภาเอง

รายงานของสภาเศรษฐกิจโลกบอกว่าถ้าสกุลเงินดิจิตอลจะได้รับการยอมรับอย่างเหมาะสมมันต้อง “อยู่คู่กับการกำกับดูแลที่ดี” ดังนั้นแล้วหน้าที่ของสมาคมคือการวางรากฐานในการออกกฎหมายควบคุมอย่างสร้างสรรค์ โดยสมาชิกของสมาคมจะบรรลุจุดประสงค์ด้วยการใช้ “ประสิทธิภาพ,ความรวดเร็ว, การปฎิบัติการร่วมกัน, การครอบคลุม, และความโปร่งใส”

ทางสมาคมจะปฎิบัติงานทั้งในสาธารณะและเบื้องหลังเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้

นาย Klaus Schwab ผู้ก่อตั้งและผู้บริหารของสภาเศรษฐกิจโลกกล่าวว่า:

“สกุลเงินดิจิตอลเป็นประเด็นที่ต้องได้รับการอินพุตจากหลายภาคส่วน การทำงาน ภูมิศาสตร์ มันเป็นจุดสนใจสำคัญสำหรับสภาเศรษฐกิจโลก”

นาย Mark Carney ผู้ว่าธนาคารอังกฤษ (Bank of England) ออกมาให้ความคิดเห็นกับสื่อว่า:

“การกำกับดูแลถือเป็นเสาหลักสำคัญสำหรับสกุลเงินดิจิตอลทุกรูปแบบ มันเป็นสิ่งสำคัญที่รากฐานของสร้างสำหรับสกุลเงินดิจิตอลจะต้องสร้างความปลอดภัย ประสิทธิภาพ และความถูกต้องในการใช้จ่ายสกุลเงินดิจิตอลในขณะที่มันจะต้องสนับสนุนให้เกิดการแข่งขันที่เปิดกว้างและยุติธรรม ทางเรายินดียอมรับแพลตฟอร์มของสภาเศรษฐกิจโลกเพื่อช่วยพัฒนารากฐานการกำกับดูแลที่แข็งแกร่งเพื่อที่จะทำให้เกิดการยอมรับสกุลเงินดิจิตอล”

ในปัจจุบันบรรยากาศด้านกฎหมายเกี่ยวกับสกุลเงินดิจิตอลเริ่มจะเป็นรูปเป็นร่างและมีความจริงจังมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ในตอนต้นเดือนสหภาพยุโรปเปิดตัว 5th Anti-Money Laundering Directive (5AMLD) เวอร์ชั่นใหม่ที่มีการควบคุมทางกฎหมายแน่นหนากว่าเดิม

ซึ่งธุรกรรมเกี่ยวกับสกุลเงินดิจิตอลต้องดำเนินการภายใต้กฎของสหภาพยุโรป ทำให้เกิดกระบวนการการยืนยันผู้ใช้หรือ Know-Your-Customer (KYC)  การตรวจตราการใช้จ่าย และการรายงานพฤติกรรมนาสงสัยที่เคร่งขัดขึ้น

ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นส่งผลให้เว็บกระดานเดทรดดิ้งแพลตฟอร์มชื่อดังอย่าง Deribit ประกาศย้ายสำนักงานจากเนเธอแลนด์สู่ประเทศปานามา

สมาคม Global Consortium นี้จะทำให้กลุ่มอำนาจทั่วโลกพยายามสร้างรากฐานการควบคุมกำกับสกุลเงินดิจิตอล ต้องรอดูกันต่อไปว่าการก่อตั้งสมาคมจะส่งผลต่อชุมชนสกุลเงินดิจิตอลทั่วโลกที่ส่วนมากยังไม่ถูกกำกับโดยกฎหมายมากน้อยแค่ไหน

ข้อมูลจาก WEF

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น