<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

นายกสมาคมสินทรัพย์ดิจิทัลฯ เผยประเทศไทยอาจเป็นผู้นำด้านเศรษฐกิจ หากปรับตัวใช้ Cryptocurrency

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

อ้างอิงจากแหล่งข่าวประชาสัมพันธ์ที่ทางสยามบล็อกเชนได้รับมาเมื่อเร็ว ๆ นี้ระบุว่า ในวันที่ 28 กันยายน 2563 ที่ผ่านมา คุณศุภกฤษฎ์ บุญสาตร์ นายกสมาคมสินทรัพย์ดิจิทัลไทย ได้เข้าร่วมอภิปรายบนเวทีสาธารณะในเรื่อง ทิศทางและการขับเคลื่อนระบบวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมของประเทศไทย (TSRI Virtual Forum 2020) เศรษฐกิจกระแสใหม่ โอกาสสุดท้ายด้วยวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งจัดขึ้นโดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

ภายในงานได้มีการพูดคุยถึงโอกาสและความเป็นไปได้ของประเทศไทยในการก้าวสู่การเป็นผู้นำด้านเศรษฐกิจโดยอาศัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมดิจิทัล 

คุณศุภกฤษฎ์ บุญสาตร์ ในฐานะนายกสมาคมสินทรัพย์ดิจิทัลไทยและผู้ร่วมอภิปรายคนอื่น ๆ ได้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการสื่อสารเทคโนโลยีให้ถูกต้องและเข้าใจง่ายแก่บุคคลทั่วไป รวมถึงความเหมาะสมของข้อระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ที่มีต่อกลุ่มอุตสาหกรรมดิจิทัล และความท้าทายที่ประเทศไทยและทั่วโลกกำลังเผชิญจากการใช้งานเทคโนโลยีบล็อกเชนบน Ethereum อย่างรวดเร็วและไร้พรมแดน

ความสำคัญด้านบุคคลากร

ในช่วงแรกของการอธิปรายนั้น คุณศุภกฤษฎ์ระบุว่า ประเทศไทยควรมุ่งเน้นให้การสนับสนุน กลุ่มบุคลากรที่มีศักยภาพสูงเป็นอันดับแรก ๆ หรือกลุ่มที่มีความสามารถพิเศษ เพื่อเข้ามาช่วยพัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ โดยหนึ่งในผู้ร่วมอภิปรายกล่าวเสริมว่า โครงการในลักษณะนี้ได้ถูกจัดทำขึ้นมาสักพักแล้ว แต่ยังมีข้อติดขัดในรายละเอียดบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

นอกจากนี้ภายในงานยังมีประเด็นอื่นที่น่าสนใจเกี่ยวกับความสำคัญด้านบุคคลากรซึ่งนั่นก็คือ การสร้างจูงใจให้เยาวชนก้าวเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของวงการคริปโต โดยคุณศุภกฤษฎ์ตั้งข้อสังเกตว่า หากเราสามารถทำให้เด็กรุ่นใหม่เกิดความสนใจในเทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้มากขึ้น นี่อาจเป็นการเพิ่มโอกาสการเติบโตของอุตสาหกรรมคริปโตในประเทศไทย

การสร้างสังคมที่เอื้อต่อการเกิดนวัตกรรม

ในระหว่างแลกเปลี่ยนความคิดเห็นภายในงาน ผู้ร่วมอภิปรายทุกท่านต่างเห็นตรงกันว่า การสนับสนุนงานวิจัยและกำหนดงบสนับสนุนอย่างเฉพาะเจาะจงของรัฐบาลนั้น ยังไม่ใช่สิ่งที่ตอบโจทย์ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างแท้จริง และแนะนำด้วยว่ารัฐบาลควรมุ่งเน้นไปที่การสร้างระบบนิเวศ (Digital Ecosystem) หรือสังคมที่เอื้อต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมแทนมากกว่า รัฐบาลควรมีนโยบายที่สนับสนุนต่อแนวคิดดังกล่าวเพื่อยกระดับให้ประเทศไทยก้าวขึ้นมาเป็นเจ้าของนวัตกรรม ยกตัวอย่างเช่น การแก้กฎหมายหรือกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมดิจิทัลภายในประเทศ , การตั้งงบกลางสำหรับการทำวิจัย , การสนับสนุนให้ผู้มีความสามารถและประสบการณ์จริงจากต่างประเทศเข้ามามีส่วนช่วยในการพัฒนาธุรกิจและงานวิจัยในไทย , การสนับสนุนการลงทุนในระยะแรกของธุรกิจดิจิทัล , การอำนวยความสะดวกและสิทธิประโยชน์ด้านภาษี , การเปิดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดแบบสหวิทยาการข้ามอุตสาหกรรม และการรับฟังความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ

นอกจากนี้คุณศุภกฤษฎ์ ยังกล่าวเน้นย้ำด้วยว่า การที่อุตสาหกรรมคริปโตในไทยจะพัฒนาต่อไปได้นั้น ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เนื่องด้วยอุตสาหกรรมคริปโตในไทยยังเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่ ดังนั้นการใช้ระเบียบข้อบังคับแบบเดียวกับที่ใช้ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ อาจจะไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้องนัก และเเม้ว่าการกำกับควบคุมโดยหน่วยงานรัฐบาลจะให้ความสำคัญเพื่อรักษากฎหมายและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุน แต่ก็ควรมีอิสระมากพอให้เหล่านวัตกรและผู้มีความคิดด้านเทคโนโลยีได้ทดลองและผิดพลาดด้วย

This image has an empty alt attribute; its file name is vkPDD-I-2u8VqhLGYOESYNzFDCboWOz0yqbN6lpeNw-Z6E3ccYTrJdKi-bO4zbXVD3Mo0G4-1UNgTvE5Szaqx1sOKnghN4FFCvzXmB5dM7ylf_Ip8ZWK1cZu6dXqKHnuCJ3P0Tqa

การสร้างแรงขับเคลื่อนด้านการวิจัยและนวัตกรรม

ในช่วงหนึ่งระหว่างการอธิปราย คุณสุทธิชัย หยุ่น ผู้ดำเนินรายการที่เราทุกคนรู้จักกันเป็นอย่างดี ได้ตั้งคำถามถึงความเป็นไปได้ของการสร้างระบบนิเวศที่ส่งเสริมให้เกิดการสร้างนวัตกรรมในระดับบุคคลหรือกลุ่มบุคคล โดยไม่ต้องพึ่งพาแรงสนับสนุนจากรัฐบาล ซึ่งถือว่าเป็นหัวข้อที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก ขณะเดียวกันทางด้านคุณศุภกฤษฎ์ ระบุว่า ในทุกวันนี้ ไม่เฉพาะแค่ในอุตสาหกรรมดิจิทัลเท่านั้น ประเด็นทางสังคมและแนวทางในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ยังถูกขับเคลื่อนโดยกลุ่มคนเป็นหลัก (Community-based driven) เช่น งาน Blockchain Thailand Genesis ที่จัดขึ้นโดยสมาคมสินทรัพย์ดิจิทัลไทย ก็มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างพื้นที่แลกเปลี่ยนองค์ความรู้และโอกาสทางธุรกิจด้านบล็อกเชนในประเทศไทยเพื่อคนไทย 

คุณจิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด หนึ่งในผู้ร่วมอภิปรายยังชี้ให้เห็นว่า ในยุคที่โซเชียลมีเดียเข้ามามีบทบาทในสังคมมากขึ้น เสียงของประชาชนย่อมสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้มากขึ้นตามความเห็นของคนที่มีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้นด้วย แต่อำนาจการตัดสินใจ และการกำหนดทิศทางนั้นยังเป็นไปตามรัฐบาล

ทุกวันนี้เราปฏิเสธไม่ได้เลยว่าโลกดิจิทัลได้เข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวันของเราไปซะแล้ว ไม่ว่าจะสื่อโซเซียล , การค้นหาข้อมูลบนโลกออนไลน์ หรือแม้แต่สกุลเงินดิจิทัลอย่างคริปโตเคอเรนซี่เข้ามาช่วยในเรื่องของการทำธุรกรรมการเงินให้ปลอดภัยมากขึ้น แต่ส่วนใหญ่นั้นล้วนเป็นของธุรกิจของนายทุนต่างชาติทั้งสิ้น ดังนั้นทำให้เกิดคำถามต่อว่าไป ประเทศไทยเตรียมพร้อมที่จะรับมือกับเรื่องนี้แล้วหรือยัง ? เพราะเมื่อพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไปแล้ว และสุดท้ายประเทศไทยของเราอาจจะต้องถูกทิ้งไว้อยู่เบื้องหลัง หากไม่ทำอะไร

ขอขอบคุณรูปภาพจาก depa Thailand

หากใครสนใจศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมหรือติดตามข่าวสารเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล รวมถึงการสมัครสมาชิกกับทางสมาคมฯ สามารถเข้าไปอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่