<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

จีนเผยพิมพ์เขียวอนาคตของประเทศ มี Cryptocurrency และ Blockchain อยู่ในนั้นด้วย

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

นับว่าเป็นครั้งแรกที่คำว่า บล็อกเชน และสกุลเงินดิจิทัล ได้รับการเขียนอย่างเป็นทางการในพิมพ์เขียวของจีนในช่วงครึ่งทศวรรษหน้า โดยทางสภาประชาชนแห่งชาติได้เผยแพร่ แผน 5 ปี ฉบับที่ 14 ซึ่งเป็นเอกสารแนวทางสำหรับการพัฒนาสังคมในอนาคตและการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ หลังจากการประชุมรัฐสภาที่สำคัญที่สุดในจีน

ขณะนีจีนได้มุ่งเน้นไปที่การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลเป็นอย่างมาก ซึ่ง คาดว่าจีนจะลงทุนมากขึ้นในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ซึ่งรวมถึงบล็อกเชน โดยมีรัฐบาลในระดับเทศบาลและระดับจังหวัดปฏิบัติตามคู่มือการใช้งานระดับประเทศ และปรับแต่งสำหรับแผน 5 ปีในท้องถิ่นของตนเอง

เมื่อเดือนที่แล้วมหาวิทยาลัย Tsinghua หนึ่งในมหาวิทยาลัยชั้นนำของจีนที่มีโปรเจ็ค Blockchain Service Network (BSN) ซึ่งเป็นโปรเจ็คแพลตฟอร์มบล็อกเชนระดับชาติ และสถาบันวิจัย Huobi ซึ่งเป็นหน่วยงานวิจัยของ Huobi ซึ่งเป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มซื้อขายแลกเปลี่ยนคริปโตที่ใหญ่ที่สุดในโลก ได้มีการเปิดเผยรายงานประจำปี“ The Blockchain Industry in China-2020” ซึ่งตรวจสอบพัฒนาการของ blockchain ในปีที่ผ่านมา และทำนายอนาคตของบล็อกเชน และสกุลเงินดิจิทัลในจีน

Blockchain ได้รับการกล่าวถึงในแผนห้าปีของจีนเป็นครั้งแรก

แผนห้าปีฉบับที่ 14 ของจีน ซึ่งเป็นช่วงระยะเวลาปี 2021 ถึง 2025 มีเนื้อหาทั้งหมดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลในทุกภาคส่วนของสังคมจีน นับตั้งแต่อุตสาหกรรมจริงไปจนถึงการบริหารภาครัฐ

มีบทหนึ่งในรายงานชื่อว่า “การเร่งพัฒนาการทางดิจิทัลและการสร้างจีนดิจิทัล” ทางรัฐบาลให้คำมั่นว่าจะ “เสริมสร้างการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลหลัก ๆ ที่เป็นนวัตกรรมใหม่” และ “เร่งการพัฒนาอุตสาหกรรมดิจิทัล” โดยมีการกล่าวถึงคำว่า เทคโนโยลีบล็อกเชน เป็นครั้งแรกในแผนห้าปี และยังเผยอีกว่า “เราจะส่งเสริมและเสริมความแข็งแกร่งให้กับอุตสาหกรรมดิจิทัลที่เกิดขึ้นใหม่ เช่น AI, big data, เทคโนโลยีบล็อกเชน, cloud computing และความปลอดภัยในโลกไซเบอร์”

เนื้อหาของบทนี้ได้ระบุถึง เป้าหมายเทคโนโลยีบล็อกเชนของจีนในอีกห้าปีข้างหน้า ซึ่งรวมถึงการพัฒนา smart contract, multiple-consensus algorithms,  asymmetric encryption และกลไกการป้องกันความผิดพลาดแบบกระจาย นอกจากนี้แผนดังกล่าวยังอธิบายถึงการประยุกต์ใช้บล็อกเชนในประเทศจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาบล็อกเชนเป็นแพลตฟอร์มบริการ สำหรับ fintech การจัดการซัพพลายเชนในกิจการของรัฐ และโซลูชันแอปพลิเคชันด้านอื่น ๆ

Blockchain จะเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างพื้นฐานใหม่

แผนของจีนยังเน้นในการพัฒนา“ โครงสร้างพื้นฐานใหม่” เพื่ออำนวยความสะดวกในการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของประเทศ การอัพเกรดอย่างชาญฉลาด และนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีอีกด้วย

สิ่งนี้แตกต่างจาก “โครงสร้างพื้นฐาน” ของจีนที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ที่หมายถึง ทางรถไฟ ทางหลวง สนามบิน ท่าเรือ หรือโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่อื่น ๆ การกล่าวถึง “โครงสร้างพื้นฐานใหม่” ของจีนในตอนนี้หมายถึง เครื่องมือ กระบวนการ สิ่งอำนวยความสะดวก และเทคโนโลยีที่สนับสนุนการสร้าง การใช้ การแบ่งปัน และการจัดเก็บข้อมูล รวมถึงการสร้างสถานีฐาน 5G เพิ่มเติม และสถานีบริการของรัฐที่ได้รับการสนับสนุนด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง โดยในเดือนเมษายนปี 2020 คณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติได้ชี้แจงถึง ขอบเขตของเทคโนโลยีที่จะช่วยอำนวยความสะดวกอย่าง “โครงสร้างพื้นฐานใหม่” โดยคำว่าบล็อกเชนเป็นส่วนหนึ่งของรายงานนั้นควบคู่ไปกับ 5G  ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ cloud computing

Blockchain เป็นตัวอย่างโครงสร้างพื้นฐานที่มีลักษณะเฉพาะ เนื่องจากการใช้ประโยชน์มีความชัดเจนน้อยกว่าเทคโนโลยีอื่น ๆ ในรายงานของรัฐบาล ตัวอย่างเช่น วัตถุประสงค์ของ 5G คือ เพื่อให้ได้เครือข่ายเซลลูลาร์บรอดแบนด์ที่รวดเร็วยิ่งขึ้น Blockchain ตามรายงานของผู้เขียน “ The Blockchain Industry in China-2020 Annual Report” เป็นเทคโนโลยีที่สามารถผสมผสานกับเทคโนโลยีอื่น ๆ เพื่อสร้างแอปพลิเคชันใหม่ ๆ

รายงานของ BSN จากมหาวิทยาลัย Tsinghuaและ Huobi ได้นำเสนอตัวอย่างเกี่ยวกับการบูรณาการของ AI และบล็อกเชน: การพัฒนาของ AI ต้องมีการแบ่งปันเอกสารจำนวนมากแบบเรียลไทม์ ดังนั้นการเพิ่มบล็อกเชนเข้ามาจะไม่เพียง แต่เอื้อต่อการวิเคราะห์ขนาดใหญ่ที่ปลอดภัยมากขึ้นเท่านั้น แต่ข้อมูล ยังสามารถปรับปรุงระดับความไว้วางใจบนแพลตฟอร์มได้อย่างมีนัยสำคัญ ทำให้ได้รูปแบบการพัฒนา AI ที่น่าเชื่อถือมากขึ้น

การเพิ่มโครงสร้างพื้นฐานใหม่เป็นสิ่งที่จำเป็นยิ่งกว่าแผนห้าปี โดยรัฐบาลกำลังดำเนินนโยบายและงบประมาณทางการเงิน เพื่อกำหนดเส้นตายโครงสร้างพื้นฐานใหม่ที่สำคัญภายในสองปีข้างหน้า

รายงานประจำปีได้มีการสรุปนโยบาย และแผนการส่งเสริมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานใหม่ใน 10 จังหวัด ได้แก่ เซี่ยงไฮ้ ปักกิ่ง ฉงชิ่ง และกวางตุ้ง นอกจากนี้ภายในปี 2022 รัฐบาลมณฑลกวางตุ้งมีแผนจะลงทุน 666 พันล้านหยวนหรือ 102 ล้านดอลลาร์สหรัฐในโครงสร้างพื้นฐานใหม่ทั้งหมด ส่วนฉงชิ่ง ซึ่งเป็นเขตเทศบาลที่อายุน้อยที่สุดตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน มีแผนจะลงทุน 398 พันล้านหยวนหรือ 61,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และเซี่ยงไฮ้ก็มีแผนลงทุน 270,000 ล้านหยวนหรือ 41,000 ล้านเหรียญสหรัฐเช่นกัน

Blockchain ช่วยอำนวยความสะดวกในกิจการของรัฐ

การปรับปรุงและการพัฒนาในรัฐบาลดิจิทัล เป็นเป้าหมายหลักในแผนห้าปีฉบับที่ 14 โดยจีนมีเป้าหมายที่จะสร้างเมืองอัจฉริยะ และจัดตั้งระบบทรัพยากรข้อมูลสาธารณะระดับชาติ เพื่อความปลอดภัยของข้อมูลสาธารณะ  ในขณะเดียวกันก็จะเปิดใช้งานการแบ่งปันข้อมูลระหว่างหน่วยงานของรัฐ  ระดับการจัดการและระดับภูมิภาคอีกด้วย

ตามรายงานประจำปีเผยว่า มีการนำแอปพลิเคชันกิจการของรัฐที่ใช้บล็อกเชนมาใช้ประมาณ 60 แอปในปี 2020 ซึ่งรวมถึงด้านการพิจารณาคดี การอนุมัติ การบริหาร และบริการใบอนุญาตอิเล็กทรอนิกส์ 

ปักกิ่งเป็นผู้นำในการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้กับกิจการของรัฐ เมื่อเดือนกรกฎาคม 2020 รัฐบาลท้องถิ่นของปักกิ่งได้เผยแพร่พิมพ์เขียว 145 หน้า เกี่ยวกับนวัตกรรมและการประยุกต์ใช้บล็อกเชนในกิจการของรัฐ  นอกจากนี้ภายในสิ้นปีนี้ ปักกิ่งมีโปรเจ็คบล็อกเชนในกิจการของรัฐบาลอีก 12 โครงการ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอีกประมาณ 140 โครงการ ตัวอย่างหนึ่งคือ เทอร์มินัลการบริการภาครัฐที่ใช้บล็อกเชน ซึ่งตั้งอยู่ในเขต Haidian ถือเป็นครั้งแรกในประเทศที่รวมบริการภาครัฐที่แตกต่างกันไว้ในอันเดียว รวมถึงความสามารถในการต่ออายุหนังสือเดินทาง การลงทะเบียนผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาล และใบอนุญาตการดำเนินธุรกิจต่าง ๆ

ผู้เขียนรายงานประจำปีกล่าวว่า “รัฐบาลเริ่มมีความสนใจในเทคโนโลยีบล็อกเชนมากขึ้นเรื่อย ๆ”  นอกจากนี้ยังระบุว่า “ทิศทางของรัฐบาบทั่วโลกที่เกี่ยวข้องกับบล็อกเชนกำลังเพิ่มมากขึ้น ซึ่งรวมถึง การระบุตัวตนทางดิจิทัล การบริหารทางอิเล็กทรอนิกส์ ด้านตุลาการ การตรวจสอบ และการอนุมัติด้านการบริหารและอื่น ๆ ”

จีนกำลังดำเนินโครงการ CBDC

สุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุด แผนห้าปีฉบับที่ 14 ของจีน ยังรวมถึงการพัฒนาเงินหยวนดิจิทัล ซึ่งเป็นเป้าหมายของโปรเจ็ค  “Digital Currency, Electronic Payment” (DCEP)” ( DCEP) ของธนาคารกลาง ซึ่งในบทหนึ่งของรายงานระบุว่าจีน ได้มีการพัฒนาด้านการวิจัยและพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง”

แม้ว่าจะมีเพียงประโยคเดียวเท่านั้นที่ปรากฏอยู่ในแผนห้าปีฉบับที่ 14 ของจีน แต่รัฐบาลหลายจังหวัดได้ประกาศแผนต่าง ๆ และการทดลองใช้เงินหยวนดิจิทัลของโปรเจ็ค DCEP แล้ว

โดยทางปักกิ่งประกาศในแผนระดับเทศบาล 5 ปีว่า จะเป็นผู้นำในการสร้างแอปพลิเคชันดิจิทัลทางเศรษฐกิจจำนวนมาก เพื่อทดสอบในศูนย์ย่อยในเมือง รวมถึงสวนโอลิมปิกฤดูหนาว สนามบินนานาชาติต้าซิง และภูมิภาคอื่น ๆ ซึ่งจริง ๆ แล้วปักกิ่งได้มีการทดสอบ DCEP จำนวนมากในเดือนกุมภาพันธ์ 2021 รวมถึงกระเป๋าเงินฮาร์ดแวร์หยวนดิจิทัลด้วย

เซินเจิ้นเป็นอีกเมืองที่ถูกกล่าวถึงเกี่ยวกับสกุลเงินดิจิทัลในแผนห้าปีระดับเทศบาล โดยรัฐบาลเซินเจิ้นจะสนับสนุนการพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลต่อไป และจะทำให้เมืองนี้เป็นเขตนำร่องแห่งนวัตกรรม เซินเจิ้นจะเป็นผู้นำในการสร้างกฎและข้อบังคับเกี่ยวกับสกุลเงินดิจิทัลที่สามารถนำไปใช้กับเมืองและจังหวัดอื่น ๆ ในอนาคต

จากรายงานประจำปีของสถาบันของธนาคารกลางอย่างน้อย 48 แห่งทั่วโลก ได้มีการทำการวิจัยหรือพิสูจน์แนวคิดของ CBDC โดยมีอย่างน้อย 36 แห่งได้มีการทดสอบโครงการ CBDC สำหรับร้านค้าปลีก และในปี 2021 มีการคาดการณ์ว่าการวิจัยเกี่ยวกับ CBDC จะยังคงดำเนินต่อไป แม้ว่าจะยังไม่มีการดำเนินการอย่างสมบูรณ์ก็ตาม