<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

Bitcoin ทำให้โลกร้อนจริงหรือ?

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ท่ามกลางความเติบโตอย่างรวดเร็วของบิทคอยน์ ทำให้เกิดความกังวลที่ไม่ได้เพียงเกิดขึ้นกับผู้ลงทุนเท่านั้น แต่ยังเกิดกับโลกของเราด้วย 

ตามข้อมูลดัชนีการใช้ไฟฟ้าของบิทคอยน์จาก Cambridge Bitcoin Electricity Consumption Index (CBECI) พลังงานทั้งหมดที่ใช้ในการขุดบิทคอยน์ในปีนี้อาจสูงถึง 120 TWh (เทราวัตต์ต่อชั่วโมง) หรือประมาณ 0.5% ของการผลิตไฟฟ้าทั้งหมดของโลก ตัวเลขอาจจะดูน่าตกใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณการใช้ไฟฟ้ารายปีของประเทศใดประเทศหนึ่งไม่ว่าจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วหรือกำลังพัฒนา การใช้พลังงานไฟฟ้าของประเทศเหล่านั้นก็ยังน้อยกว่าที่อุตสาหกรรมบิทคอยน์ใช้ในหนึ่งปี

แต่นี่เป็นการเปิดเผยภาพรวมจริง ๆ หรือไม่?

บิทคอยน์ใช้พลังงานไฟฟ้ามากจริง ๆ อย่างไม่ต้องสงสัย ส่วนใหญ่เกิดจากกลไกโครงสร้างพื้นฐานที่ใช้ในเครือข่ายบิทคอยน์หรือสกุลเงินดิจิทัลอื่น ๆ ด้วยการใช้ประโยชน์จากกระบวนการ Proof of Work ที่ทำให้นักขุดเหมืองจำเป็นต้องใช้ทรัพยากรในการคำนวณ ไม่ใช่แค่เพื่อการตรวจสอบธุรกรรมเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวกับความปลอดภัยของเครือข่ายอีกด้วย อย่างไรก็ตามโปรดจำไว้ว่านี่เป็นเครือข่ายทางการเงินระดับโลก ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ตราบใดที่พวกเขามีกระเป๋าเงินดิจิทัลและสมาร์ทโฟน

คำถามคือแล้วระบบนิเวศของธนาคารแบบเดิมล่ะ? หากเราพิจารณาระบบของอุตสาหกรรมธนาคารในยุคปัจจุบันดี ๆ จะเห็นได้ชัดว่าการใช้จ่ายด้านพลังงานนั้นสูง โดยพิจารณาจากค่าใช้จ่ายของศูนย์ข้อมูล, สำนักงานของบริษัท, สาขาธนาคารและตู้เอทีเอ็มที่ต้องเปิดเครื่องทิ้งไว้ทุกวินาที

ด้วยเหตุที่ว่าการใช้พลังงานในภาคธนาคารเพียงอย่างเดียว มีการแยกส่วนมากกว่าคริปโตเคอเรนซีมาก จึงหาปริมาณการใช้พลังงานโดยรวมได้ยากกว่า อย่างไรก็ตามการวิจัยจาก Ark Invest ระบุว่าในที่สุดภาคการธนาคารและการขุดทองทั่วโลกนั้น ไม่มีประสิทธิภาพเท่าการขุดบิทคอยน์ โดยอุตสาหกรรมการธนาคารแบบดั้งเดิมนั้นใช้พลังงานถึง 2.34 พันล้านกิกะจูล (GJ) และการขุดทองใช้พลังงานไฟฟ้า 500 ล้านกิกะจูลต่อปี ในทางกลับกันการขุดบิทคอยน์ใช้พลังงานเพียง 184 ล้านกิกะจูล

หากเรามองข้ามสกุลเงินและเทคโนโลยีพื้นฐานของสกุลเงิน นวัตกรรมบล็อกเชนก็ยังมีประโยชน์มากมายที่สามารถนำไปใช้สร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ด้วยลักษณะสำคัญของบล็อกเชนที่กระจายอำนาจและความไม่ไว้วางใจสามารถนำไปสู่ประสิทธิภาพในการดำเนินงานที่สำคัญซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการใช้พลังงาน

หากพิจารณาระบบเครดิตทางการเงินแบบดั้งเดิมซึ่งอาศัยบันทึกการทำธุรกรรมที่เข้มงวด เพื่อสะสมเครดิตเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับเงินและเงินกู้ แต่ด้วยบล็อกเชนและ Smart Contract กระบวนการเหล่านี้สามารถทำให้ทุกอย่างเป็นอัตโนมัติได้มากขึ้น

 และนวัตกรรมบล็อกเชนสามารถทำให้เข้าถึงง่ายขึ้นกับทุกคนมากกกว่าระบบธนาคารแบบดั้งเดิม นอกจากนี้การทำธุรกรรมข้ามพรมแดนยังทำให้เกิดความไร้ประสิทธิภาพด้านต้นทุนอย่างการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้มักจะตกสู่ผู้ใช้

 แต่ด้วยบล็อกเชนค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมจะลดลงอย่างมาก ด้วยเหตุนี้บล็อกเชนจึงสามารถช่วยประหยัดเวลาและต้นทุนได้อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งจะนำไปสู่การประหยัดพลังงานเมื่อเทียบกับระบบที่มีอยู่ในภาคบริการทางการเงินแบบดั้งเดิม