<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

ผู้ก่อตั้ง Cyber Capital ชี้  Ethereum กำลังขุดหลุมฝังตัวเอง

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ล่าสุดหลังทางทีมพัฒนา Ethereum ประกาศเปลี่ยนโร้ดแมป ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ขึ้นในคอมมูนิตี้ ถึงการเปลี่ยนแปลงที่ส่อแววไปในทางที่ไม่ดี

เมื่อวันที่ 2 มกราคม ที่ผ่านมา Justin Bons ผู้ก่อตั้ง Cyber Capital ได้โพสต์ลงใน X ว่า การยกเลิกแผนการขึ้นลิมิตของแก๊สบน layer-1 นั้นเป็นการวางแผนที่ผิดพลาดอย่างใหญ่หลวง และ การตัดสินใจที่จะไม่ใช้การ sharding แต่กลับไปพึ่งพา layer-2 อย่าง Arbitrum, Base, and OP จะเป็นการค่อย ๆ ขุดหลุมฝังตัวเอง

เขาได้กล่าวเสริมว่าการนำคำว่า “การขึ้นลิมิตของเเก๊สบน layer-1” ออก

เป็นการส่งสัญญาณให้ตลาดรู้ว่า Ethereum นั้นไม่ได้มีการ scaling เลย เป็นการทรยศเหล่าผู้คนที่สนับสนุน Ethereum มาตั้งแต่แรกเริ่ม ด้วยคำสัญญาที่ Ethereum ให้ไว้ในด้าน scalability 

ในบล็อกเชน Ethereum เเก๊สลิมิต หมายถึงจำนวนของเเก๊สที่ใช้ได้ทั้งหมดในบล็อก ยิ่งมีมากยิ่งทำให้เสียค่าธรรมเนียมถูกลง ซึ่งลิมิตก็ได้เพิ่มขึ้นมาเรื่อย ๆ เพื่อช่วยลดราคาค่าเเก๊สที่เพิ่มโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงตลาดขาขึ้น โดยเมื่อเดือน ธันวาคมมีลิมิตอยู่ที่ 30 ล้าน gwei ตามข้อมูลของ Etherscan

ภาพ : กราฟลิมิตของแก๊ส บน Ethereum

Bons ยังได้วิจารณ์ทีมพัฒนา Ethereum อีกด้วยว่าการที่บอกว่าเชนเป็น B2B ทั้งๆที่เป็น Enterprise chain ซึ่งอาจจะเอื้อให้กับ layer-2 และผู้ถือเหรียญเหล่านั้นมากกว่าผู้ใช้งานทั่วไป ซึ่งจะส่งผลร้ายต่อเครือข่ายในระยะยาว

ไม่ใช่ว่าการ Sharding จะเป็นคำตอบที่ดีกว่าหรือ?

ตามที่อนุมานได้จากการประกาศของนักพัฒนา Ethereum ครั้งล่าสุด เป้าหมายของเครือข่ายคือการทำให้เครือข่ายเป็นโฮสต์สำหรับเลเยอร์ 2 เลเยอร์ 2 เหล่านี้ขับเคลื่อนโดยโรลอัพและ อื่นๆ ซึ่งบางส่วนได้นำ zero-knowledge proofs เข้ามาใช้เพื่อความปลอดภัยที่ดีขึ้น

ในทางเทคนิค โรลอัพ โซลูชัน เป็นการกำหนดเส้นทางของธุรกรรมใหม่ไปยังแพลตฟอร์มนอกเครือข่ายซึ่งมีการจัดลำดับ ตรวจสอบ และยืนยันในภายหลังบน mainnet ในกรณีนี้ mainnet คือ Ethereum ที่จะถูกลดภาระการทำงานลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่มีความต้องการสูง นอกจากนี้ ผู้ใช้ยังได้เสียค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมที่ต่ำกว่าที่พวกเขาจะทำธุรกรรมบน mainnet อีกด้วย 

 การแบ่งข้อมูล (sharding) เป็นเทคนิคที่จะช่วยให้ Ethereum ขยายขนาดได้โดยการแบ่งโซ่หลักเป็นหน่วยย่อยหรือชาร์ด (shards) ชาร์ดเหล่านี้จะทำงานอิสระกันแต่จะมีการเชื่อมโยงกันอย่างแน่นหนา ด้วยวิธีนี้ เชนหลักจะขยายขนาดได้เนื่องจากชิ้นข้อมูลเล็กๆ เหล่านี้จะประมวลผลธุรกรรมอิสระกันและจะช่วยลดค่าธุรกรรมลง แม้ว่าจะเป็นส่วนสำคัญในการ scaling ให้กับ Ethereum แต่ Bons ก็ได้ออกมาโต้แย้งว่าให้เลื่อนการ sharding ไปก่อนด้วยเช่นกัน

ที่มา : Bitcoinist