<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

ก.ล.ต. กับธนาคารแห่งประเทศไทยกำลังศึกษาการลงทุนแบบ ICO

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ปี 2017 เป็นปีที่ถือว่าการลงทุนแบบ ICO หรือ Initial Coin Offering มีการฉายแววมากที่สุดในวงการ Blockchain เลยก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มขึ้นของมูลค่าตลาดรวมของ ICO ทั่วโลกเมื่อปีที่แล้วที่เพิ่มไปถึง 540 ล้านดอลลาร์ในเดือนเดียวจนทำให้มูลค่าตลาดรวมแบบ all-time ของมันพุ่งไปอยู่ที่ 1.6 พันล้านดอลลาร์ หรือรวมไปถึงไฮไลท์การลงทุน ICO ที่น่าหยิบยกมาพูดถึงอย่างเหรียญ BAT ที่สามารถระดมทุนไปได้ถึง 25 ล้านดอลลาร์ภายในระยะเวลาเพียงแค่ 30 วินาที และนาย Floyd Mayweather หรือนักมวยชื่อดังที่ออกมาช่วยโปรโมท ICO เช่นกัน กระนั้นการฉายแววอันแรงกล้าของมันก็ได้ไปตกกระทบที่ SEC หรือ ก.ล.ต. ประเทศสหรัฐอเมริกาจนทำให้พวกเขาต้องออกมาประกาศบังคับให้บริษัท ICO ทั้งหมดในประเทศมาขึ้นทะเบียนการขาย ICO เพื่อให้ตกอยู่ภายใต้กฎหมายการแลกเปลี่ยน

โดยมาวันนี้ดูเหมือนกระแส ICO จะวิ่งมาถึงประเทศไทยแล้วเช่นกัน ซึ่งสื่อกระแสหลักอย่างกรุงเทพธุรกิจ หรือสำนักข่าวในประเทศไทยที่รายงานข่าวสารเกี่ยวกับเศรษฐกิจการเงินทั้งในและนอกประเทศก็ได้ออกมาจัดทอล์คโชว์เพื่อไขข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนแบบ ICO เพื่อมองหาโอกาสและข้อดีในการทำสตาร์ทอัพเกี่ยวกับ ICO

ICO เกิดมาจากอะไร

ซึ่งในรายการทอล์กโชว์นามว่า Round Table ในหัวข้อ “โอกาส STARTUP กับการระดมทุนด้วยดิจิทัล” ที่ได้มีการเชิญบุคคลสำคัญมาทั้ง 4 ท่านอย่าง

  • ศ.ดร.อาณัติ ลีมัคเดช ผู้อำนวยการโครงการปริญญาโททางการเงิน คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ม.ธ.
  • คุณบัญชา มนูญกุลชัย ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเทคโนโลยีทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย
  • คุณอาจารีย์ ศุภพิโรจน์ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมเทคโนโลยีการเงิน สำนักงาน ก.ล.ต.
  • คุณปรมินทร์ อินโสม ผู้ร่วมก่อตั้ง ZCoin

เพื่อมาพูดคุยในประเด็นเกี่ยวกับประโยชน์ของ ICO ดังกล่าว

คุณปรมินทร์ (หนึ่ง) ได้ออกมาอธิบายเกี่ยวกับสาเหตุตอนเริ่มต้นที่ ICO นั้นถือกำเนิดขึ้นมา ว่ามีขึ้นมาจากการที่ก่อนหน้านี้การลงทุนแบบเก่าที่ต้องผ่าน VC (Venture Capitalist) มีความนิยมสูงจนเกินไป ซึ่งทำให้มีบริษัทนับร้อยบริษัทต่างก็แย่งกันเข้ามา pitch (ทำการแข่งกันเสนอไอเดียเพื่อแย่งเงินลงทุนจาก VC) แต่ท้ายสุดก็มีแค่บริษัทเดียวที่ได้เงินลงทุนนั้นไป

“การที่ผมเองจะเหมือนกับว่า raise fund โดยที่เหมือนกับระดมทุนตรงนั้นนะครับแล้วก็เอาเงินหรือไป pitch ตามที่ต่างๆเพื่อที่จะเอาเงินทุนจาก VC มาพัฒนาตัวสตาร์ทอัพของผมนะครับ มันจะมีประเด็นอยู่ที่ว่าคือ ก็ไม่ใช่ทุกคนที่ได้ อ่า อาจจะเหมือนกับว่าร้อยสตาร์ทอัพนะครับที่ไป pitch เนี่ยครับ ก็อาจจะมีแค่ 1 สตาร์ทอัพได้เงินทุนมาจาก VC แคนั้นนะครับ”

ซึ่งเขายังได้อธิบายเพิ่มว่า

“นั่นเป็นปัญหาว่า จริงๆแล้วหนึ่งในร้อยสตาร์ทอัพตัวนั้นน่ะครับอาจจะไม่ใช่เหมือนกับว่าคือเค้าไม่ได้ดี เหมือนกับว่าคือเค้าอาจจะด้วยคอนเซปไอเดียของเค้าอาจจะดีอยู่แล้ว แต่ว่าอาจจะเป็นในเรื่องของการ pitch หรือโควต้าที่ทาง VC มีให้ อาจจะทำให้เค้าไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมตัว ICO ถึงเกิดขึ้นมา”

กล่าวโดยคุณปรมินทร์

อ้างอิงจากคุณปรมินทร์ เขายังได้กล่าวถึงสาเหตุที่การที่ ICO นั้นจะต้องมีการควบคุมโดยกฎหมายนั้นเนื่องมาจากว่าการระดมทุนโดยปกตินั้น นักระดมทุนจะต้องทำการเปิดบัญชีธนาคาร ซึ่งอาจจะปิดกั้นอิสระของนักลงทุนที่อยู่นอกประเทศที่ไม่สามารถโอนเงินเข้ามาในบัญชีของนักระดมทุนได้ ทำให้ ICO จึงเข้ามาแก้ปัญหาในข้อนี้ได้ ทว่าด้วยความอิสระที่มากเกินไปของ ICO นั้นส่งผลให้รัฐบาลไม่สามารถเข้ามาห้ามการส่งเงินทุนได้ ทำให้ต้องมีการทำให้ถูกกฎหมายขึ้นมา

[rsnippet id=”1″ name=”AdSense In-article ad 1″]

ก.ล.ต.กับธนาคารแห่งประเทศไทยกำลังเฝ้ามองและศึกษา

ที่น่าสนใจคือคุณบัญชาหรือผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเทคโนโลยีทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ออกมากล่าวถึงการที่ผู้ออกกฎหมายต่างๆทั่วโลกแสดงท่าทีเกี่ยวกับการลงทุนของ ICO ที่แตกต่างกัน ซึ่งบ้างก็รองรับ ในขณะที่บางประเทศก็ยังระมัดระวังอยู่ โดยเขายังบอกว่าทางแบงก์ชาติปัจจุบันมีทีมงานที่กำลังศึกษาในด้านนี้อยู่โดยเฉพาะ โดยจะทำการศึกษาทั้งมุมมองทางด้านข้อดีและความเสี่ยงของมัน

“ในมุมของพวกเงินอิเลคทรอนิกส์เองเนี่ยนะครับ บางประเทศก็มีการยอมรับ ส่วนหลายๆประเทศก็ยังคง reserve ยังคงที่ ที่ระมัดระวังอยู่นะครับ ก็ยังแบ่งเป็นสองค่ายคล้ายๆกัน แต่ก็ต้องยอมรับว่าเจ้าเงินอิเลคทรอนิกส์หรือเงินดิจิตอลพวกนี้ ก็เป็นนวัตกรรมอย่างหนึ่งนะครับ ในส่วนของแบงก์ชาติเราเองก็มีทีมงานที่ศึกษานะครับ ที่จะดูว่าสิ่งนี้มีประโยชน์อย่างไร มีมุมมองในการกำกับดูแล มุมมองความเสี่ยง มุมมองประโยชน์ นะครับ หรือว่ามุมมองในการใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆอย่างไร นะครับ ก็มีการตั้งทีมมาศึกษาเรื่องนี้”

กล่าวโดยคุณบัญชา

หลังจากนั้นคุณอาจารีย์หรือผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมเทคโนโลยีการเงิน สำนักงาน ก.ล.ต.ก็ได้ออกมากล่าวถึงข้อดีของ ICO โดยบอกว่าการลงทุนแบบดังกล่าวนั้นไม่ต้องผ่านขั้นตอนความยุ่งยากในหลายๆเรื่องกว่าจะทำการระดมทุนได้

“ICO เนี่ยคือแค่มีไอเดียปุ๊ป เราก็ระดมทุนได้ ถ้าเทียบกับ IPO ที่ทุกคนคุ้นใช่มั้ยคะ มันต้องมี track record มาเท่านี้ ต้องมีคุณสมบัติมาเท่านั้น ต้องผ่านเกณฑ์ ก.ล.ต. เกณฑ์ตลาดหลักทรัพย์ใช่มั้ยคะกว่าจะระดมทุนได้ บางคนก็อาจจะแบบไม่ไหวและเพราะฉะนั้นจริงๆถามว่าประโยชน์ของ ICO มีมั้ยในแง่ financial นี่มีแน่นอนแล้วก็เห็นค่อนข้างชัดเจนแล้วนะคะว่ามันก็เป็นตัวที่ทำให้มันเกิดนวัตกรรมหรือสิ่งใหม่ๆในทั้งตลาดไทยก็ได้ ถ้าอีกหน่อยมี หรือในโลกก็ได้ถูกมั้ยคะ เพราะฉะนั้นมันก็เป็นอะไรที่ๆมีประโยชน์และน่าสนับสนุน”

กล่าวโดยคุณอาจารีย์ ซึ่งเธอยังกล่าวเพิ่มถึงมุมมองอีกหนึ่งมุมมอง ซึ่งเป็นมุมมองของผู้ออกกฎหมายอย่างก.ล.ต. ว่ามันยังมีเรื่องที่น่าห่วงในการลงอยู่สามเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการปกป้องผู้ลงทุน, การลงทุนที่มีความยุติธรรมและเรื่องของผลกระทบของตลาดทุนโดยรวม โดยเธอกล่าวว่าหากจะพิจารณาทำให้ถูกกฎหมายนั้นจะต้องดูเรื่องหลักๆสามเรื่องพวกนี้

“ในอีก angle หนึ่งเนี่ย จริงๆความเป็น securities regulator หลักๆเราก็จะมีห่วงอยู๋สามเรื่องถ้วน หนึ่งคือเรื่อง investor protection นะคะ คือผู้ลงทุนเป็นพระเจ้าของเรา สองก็คือตลาดที่มัน fair ที่มัน efficient ถูกมั้ยคะ สามก็คือเรื่องของ อ่า ผลกระทบกับตลาดทุนโดยรวมแบบพวก systemic risk หรืออะไรงี้ใช่มั้ยคะ เพราะฉะนั้นการที่เราจะกำกับดูแลเราก็ต้องดูเรื่องพวกเนี้ยด้วย”

คุณอาจารีย์ยังได้นำมาเทียบกับ ICO ที่บอกว่าแทบจะไม่มีข้อสามข้อดังกล่าวที่เธอกล่าวมาข้างต้น

[rsnippet id=”1″ name=”AdSense In-article ad 1″]

“อย่าง ICO อย่างเงี้ย investor protection แน่นอน หนึ่งคือคุณไม่มีเกณฑ์เยอะๆเมื่อกี้ที่พูดมาช่วยดูให้ ใช่มั้ยคะ ไม่มี ก.ล.ต. มาช่วยคัดกรองคุณสมบัติ การลงทุนของคุณก็คือ base on ความเชื่อใน white paper หรือใน potential ของตัวกิจการหรือว่าไอเดียนั้นเฉยๆ even นะคะ disclosure เกณฑ์ ก.ล.ต. ที่เคยมีเยอะแยะบอกว่าคุณต้องมีเปิดเผย ratio นู่นนี่นั่นต้อง compare 3 ปี 5 ปีอะไรกันเพื่อเป็นข้อมูลให้ตัดสินใจถูกมั้ยคะ เพราะการลงทุนมันควรจะ base on informed decision…ICO แต่ละคนจะเปิดอะไรมาไม่มีใครรู้ได้เลยค่ะ ผู้ลงทุนต้องมี ability ที่หนึ่งคือนอกจากจะเข้าใจไอคอนเซปต์ยากๆของโปรเจคของเค้าแล้วอย่างเนี้ยค่ะ ก็แบบอ้าวแล้วถ้าฉันจะลงทุน compare กับสิ่งที่ฉันเคยมีหรืออะไร หรือฉันอยาก diversify อย่างเงี้ย ผู้ลงทุนจะมีความรู้ความสามารถที่จะเข้าใจเพียงพอที่จะตัดสินตรงนี้ได้หรือเปล่า ตรงเนี้ยก็จะเป็นอะไรที่แน่นอนว่า ก.ล.ต. คงต้องลงมาพยายาม address ว่าเราจะทำอะไรได้บ้าง”

กล่าวโดยคุณคุณอาจารีย์

ภายหลังเธอยังได้แสดงมุมมองที่เป็นบวกต่อการลงทุน ICO พร้อมกับบอกว่าถ้าหากมีบริษัทที่มีศักยภาพสามารถสร้างนวัตกรรมให้กับตลาดทุนไทยได้ แต่ไม่ได้รับการสนับสนุน พวกเขาก็คงย้ายไปโตที่อื่นซึ่งถือเป็นเรื่องน่าเสียดาย ดังนั้นทาง ก.ล.ต. ก็จะคอยเฝ้าดูและช่วยอำนวยความสะดวกให้อยู่ห่างๆ

“ยังไงเทรนด์นี้มันมาแน่ๆค่ะ แล้วก็ถ้าทำให้มันเกิดได้จริงๆมันก็เป็นประโยชน์ แล้วก็ถ้าแบบมี innovation ที่มัน work กับตลาดทุนไทยเงี้ย แล้วเราจะแบบไม่ทำให้เกิดมันก็น่าเสียดายว่าเค้าไปโตที่อื่นที่ทำได้ เพราะฉะนั้นเราก็คงเป็นแบบ facilitate แต่ว่าก็ยังต้อง address ข้อกังวลต่างๆยังอยู่ในสายตาอยู่อะค่ะ”

กฎหมายมีส่วนช่วยให้ ICO มีความน่าเชื่อถือ

คุณปริมินทร์หรือผู้ก่อตั้งร่วม ZCoin นั้นยังได้กล่าวถึงจุดที่น่าสนใจว่า แม้ว่าการลงทุนแบบ ICO นั้นอาจจะไม่มีกฎหมายมารองรับในประเทศไทย แต่ก็สามารถไปทำที่ต่างประเทศหรือที่ไทยก็ได้ เนื่องด้วยความที่ธรรมชาติของ ICO นั้นไม่จำเป็นต้องมีบริษัทมารับผิดชอบ หรือไม่จำเป็นที่จะต้องมี entity แต่ทุกอย่างถูกอ้างอิงจาก whitepaper หมด

“จริงๆแล้วถ้าในประเทศไทยยังไม่ได้ทำการ regulate ว่าคือถูกหรือผิด นั่นหมายความว่าจริงๆแล้วเนี่ยเราก็สามารถที่จะมาทำที่นี่ หรือไปทำที่ต่างประเทศก็ได้ เพราะว่าคือจริงๆแล้วการทำ ICO มันได้ขึ้นอยู่กับประเทศด้วยซ้ำตรงนั้นนะครับ มันไม่จำเป็นว่าจะต้องมีแม้กระทั่งบริษัทที่มีคนที่รับผิดชอบชัดเจนด้วยซ้ำว่าต้องคุณต้องมี entity นะ จริงๆแล้วมันไม่จำเป็น”

โดยคุณปริมินทร์ยังเสริมอีกด้วยว่าถ้าหากทาง Zcoin นั้นได้รับการรับรองจากผู้ออกกฎหมาย ก็จะทำให้แลดูมีความน่าเชื่อถือเพิ่มขึ้น และทำให้นักลงทุนที่มาลงทุนเกิดความเชื่อมั่นอีกด้วย

“แต่ถ้าถามว่าถ้าจะสร้างความน่าเชื่อถือให้กับ Zcoin เองตรงเนี้ยครับ เราควรที่จะมี entity แล้วเราควรที่จะได้รับการรับรองจากทาง regulator ว่าถูกต้องตามกฎหมายเพื่อทำให้คนที่มาลงทุนเนี่ยคับเชื่อมั่นว่าการทำ ICO ของเราครั้งนี้เป็นการทำ ICO ที่ถูกต้องตามกฎหมาย และก็เหมือนกับว่าถ้าเกิดเหตุการณ์อะไรเราต้องรับผิดชอบจริงๆตรงนั้นนะครับผมมันก็จะทำให้เหมือนกับว่า ICO เรามีมูลค่าและก็มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น แต่ถามว่าจำเป็นมั้ย ต้องบอกว่าไม่ได้จำเป็น”

กล่าวโดยคุณปริมินทร์

ศ.ดร.อาณัติ หรือผู้อำนวยการโครงการปริญญาโททางการเงิน คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ม.ธ.ได้แสดงความคิดเห็นที่น่าสนใจ โดยกล่าวว่าจริงๆแล้วนักลงทุนยังต้องการให้ทางเจ้าของ ICO ได้รับการตรวจสอบอย่างแน่ชัด พร้อมถึงชี้ว่าประเทศไทยสามารถที่จะเป็นฐานของการลงทุนดังกล่าวได้

“ถามว่าลึกๆแล้วนักลงทุนต้องการมีคนสักคนหนึ่งมา certify หรือเปล่า ผมยังคิดว่าเขายังต้องการอยู่ เพราะงั้นถ้ามองไปมันก็เป็นโอกาสของประเทศไทยเหมือนกันนะที่จะกลายเป็นฐานระดมทุนนะครับ”

กล่าวโดย ศ.ดร.อาณัติ

[rsnippet id=”1″ name=”AdSense In-article ad 1″]

พร้อมกับกล่าวแนะนำให้ทางผู้ออกกฎหมายในประเทศไทยช่วยคัดกรอง ICO ที่ดีออกมาจาก ICO ที่ไม่ดี (อย่างเช่น ICO ที่ทำออกมาเพื่อหลอกคน) และส่งเสริมให้สนับสนุน ICO ในประเทศไทยให้ถูกกฎหมายไปเลย

“ผมยังคิดว่ามันควรจะต้องมีกลไกสักอย่างหนึ่ง ก็คือ regulator เนี่ยแหละที่ดีที่สุด ที่จะช่วยคัดกรอง ICO ดีออกมาจาก ICO ที่ไม่ดี และก็ทำให้นักลงทุนมีความมั่นใจ ผมถึงยังบอกว่า ณ ขณะนี้ถ้าต่างชาติยังกำลังงงๆอยู่นะ ก.ล.ต. เรารีบศึกษาเร็วๆประชุมกันบ่อยๆ ทำที่แรกออกมาเป็นตัว certify”

และเขายังเพิ่มความเห็นที่น่าสนใจ โดยแนะนำทาง ก.ล.ต. และแบงก์ชาติอีกด้วยว่า

“แต่อย่างที่ผมเรียนนะครับ ก็คือเราต้องเปลี่ยน mindset จากการควบคุมเพราะเรารู่อยู่แล้วว่าการควบคุมในแบบของเราคุณต้องโชว์งบ คุณต้องโชว์ ratio มันไม่ได้ใช้กับธุรกิจสตาร์ทอัพ ไอนั่นเราใช้กับบริษัทที่เข้าไปลิสกับ MAI กับ SET ของสตาร์ทอัพเขามีวิธีวัดการวัดความก้าวหน้าของเขาผ่านเรื่องของการใช้เงินหาสมาชิก”

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น