<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

“สกุลเงินดิจิตอลคือสกุลเงินเถื่อน..เรียกร้องให้ ก.ล.ต. คิดด่วน” กล่าวโดยผู้สื่อข่าว SpringNews

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ปัจจุบันความนิยมของ cryptocurrency ที่แผ่ขยายไปทั่วโลกไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทยนั้น ได้ทำให้สื่อกระแสหลักหลายๆที่ต่างก็เริ่มที่จะมาให้ความสนใจนำเสนอข่าวและวิพากษ์วิจารณ์สินทรัพย์ดิจิตอลเหล่านี้กัน ซึ่งก็มีทั้งด้านลบและด้านบวกปนๆกันไป

ทว่าที่น่าสนใจคือล่าสุด หนึ่งในสื่อกระแสหลักที่มีตัวเลขผู้ชมในประเทศไทยสูงมากนาม SpringNews ที่ได้มีการออกมานำเสนอเรื่องราวของธุรกิจเงินดิจิทัลนั้นได้ ทำให้บางคนเกิดข้อกังขาว่าข้อมูลที่พวกเขารายงานนั้นมีความเที่ยงตรงมากขนาดไหน

โดยอ้างอิงจากคลิปวีดีโอดังกล่าวของรายการเจาะลึกทั่วไทย Inside Thailand ที่ออกกาศเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา และดำเนินรายการโดยโดย “ดนัย เอกมหาสวัสดิ์” และ “อมรรัตน์ มหิทธิรุกข์” นั้น ที่ได้ออกมาอ้างอิงคำพูดของผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ว่า Bitcoin นั้นยังไม่มีกฎหมายในประเทศไทยมารองรับ และการลงทุนในสกุลเงินดังกล่าวนั้นอาจจะมีความเสี่ยงในด้านการขาดทุน, ถูกหลอก และอาจจะเสี่ยง “ผิดกฎหมายด้วย” นั่นเอง โดยนายดนัยกล่าวว่า

“เรื่องเงินสกุลดิจิตอลอย่างเช่น Bitcoin, OneCoin ผู้ว่าวิรไทบอกว่ากฎหมายไทยยังไม่รับรองสกุลเงินดิจิทัล กฎหมายของอีกหลายประเทศก็ยังไม่รับรองเงินสกุลดิจิทัล ดังนั้นใครจะไปซื้อๆขายๆเก็งกำไรเงินสกุลดิจิทัลก็โปรดรับทราบว่ากฎหมายไม่รับรองเงินสกุลดิจิทัล แปลเป็นไทยแบบจิ๊กโก๋ก็คือ เสี่ยงขาดทุน เสี่ยงถูกหลอก มีปัญหากฎหมายไม่คุ้มครองนะ และเผลอๆเสี่ยงเรื่องผิดกฎหมายด้วยนะ”

โดยเขายังเสริมอีกว่า ในลักษณะนี้เงินสกุลดิจิตอลเป็นสกุลเงินเถื่อน

“ถ้าแปลตามกฎหมายไทยก็คือ มันเป็นเงินเถื่อนใช่มั้ย ครับ ครับ สกุลเงินเถื่อน”

ก่อนหน้านี้ทางธนาคารแห่งประเทศไทยก็เคยได้ออกออกมาประกาศตามข้างต้นเมื่อปี 2014 ทว่าก็ยังมีรายงานว่าแม้มันจะไม่มีกฎหมายมารองรับ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะผิดกฎหมาย

ทว่าที่น่าสนใจคือ ก่อนหน้านี้เมื่อช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา นายวิรไท สันติประภพ หรือผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยนั้นได้ออกมาประกาศว่าพวกเขากำลังศึกษา Bitcoin อยู่ และกำลังหาวิธีการให้รัฐบาลช่วยแก้ไขกฎหมายด้านฟินเทคด้วย และรวมถึงเมื่อวันที่สามเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ทางแบงก์ชาติยังได้ประกาศเปิดการทดสอบเทคโนโลยี Blokchain หรือเทคโนโลยีที่ใช้หนุนหลัง Bitcoin บน Regulartory Sandbox อีกด้วย

ทว่าสำหรับ OneCoin แบบที่คนทั่วๆไปเขาใจผิดว่า “ถูกจัดอยู่ในหมวดหมู่เดียวกันกับ Bitcoin” นั้น ก่อนหน้านี้ทางแบงก์ชาติได้ออกมาเตือนว่ามีลักษณะคล้ายคลึงแชร์ลูกโซ่ อีกทั้งยังแนะนำให้ทางประชาชนโทรปรึกษาทางธนาคารก่อนจะเข้าไปลงทุนด้วย

ที่สำคัญ รัฐบาลประเทศอื่นๆนั้นก็เริ่มที่จะเอาจริงเอาจังในการกวาดล้าง OneCoin แล้ว ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลประเทศฟินแลนด์, อินเดีย, อิตาลี และล่าสุดประเทศจีนที่มีการจับกุมและจำคุกแม่ทีม OneCoinไปแล้วจำนวน 35 ราย อีกทั้งยังมีรายงานว่าสกุลเงินดิจิทัล OneCoin นั้นไม่ได้ใช้เทคโนโลยี Blockchain แบบ Bitcoin แต่ใช้แค่ฐานข้อมูล SQL ที่ใครจะกำหนดตัวเลขเท่าไรก็ทำได้

ความเข้าใจผิดเรื่องผู้ก่อตั้ง ZCoin และบริษัทหนึ่งที่มีสาขาในสิงคโปร์

นายดนัยยังได้มีการกล่าวอ้างอิงถึงบริษัท ZCoin และ Satang.com ที่มีผู้ก่อตั้งเป็นนายปรมินทร์ อินโสม โดยได้อ้างว่าบริษัทของนายปรมินทร์นั้นให้บริการที่ปรึกษาบริษัทหนึ่งที่มีบริษัทแม่อยู่ในไทย แต่มีบริษัทลูกอยู่ในสิงค์โปร (ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็น Omise) และเปิดขายระดมทุนผ่าน Initial Coin Offerings ( ICO) อีกด้วย โดยนายดนัยกล่าวว่า

“ปรากฏว่าผู้บริหารของ Zcoin, Satang.com เขาประกาศอย่างภาคภูมิใจว่าเขาทำสำเร็จไปแล้ว 1 ราย ระดมทุนด้วยวิธี ICO ให้กับบริษัทที่ตั้งอยู่ในสิงคโปร์ บริษัทนั้นทำธุรกิจชำระเงินออนไลน์หรือ payment gateway แต่แปลก ผู้บริหารของ ZCoin บอกว่า เป็นบริษัทที่อยู่ในสิงคโปร์ก็จริง แต่บริษัทแม่อยู่ในประเทศไทย” และเขายังเสริมอีกด้วยว่า

[rsnippet id=”1″ name=”AdSense In-article ad 1″]

“แล้วบริษัทสิงคโปร์บริษัทนั้นก็มาใช้บริการ Zcoin, Satang.com ในการเป็นที่ปรึกษาในการทำระดมทุนแบบ ICO”

ภายหลังจากนั้นนายปรมินทร์ได้ติดต่อทางทีมงานสยามบล็อกเชนเพื่อให้ข้อเท็จจริง พร้อมกับปฏิเสธและบอกว่าข้อมูลจากผู้สื่อข่าวของช่อง SpingNews นั้นไม่เป็นความจริง

“ไม่ ๆๆๆ ผมไม่เกี่ยวอะไรกับ OMG เลยครับ รู้จัก Thomas ซึ่งเป็น หนึ่งในทีมงานของ OMG เพราะเขาเป็น Ether Advocate แล้วผมก็ชอบ ETH เคยชวนเขาไปพูดที่งาน Blockchain Thailand Meetup เกี่ยวกับ Ether ระดับเขา คงไม่ต้องการผมเป็น advisor ครับ Vitalik, Gavid Wood ต้องระดับนั้น”

โดยเขาเชื่อว่าทีมงานผู้สื่อข่าวน่าจะนำข้อมูลดังกล่าวมาจากหนังสือพิมพ์กรุงเทพฯธุรกิจมาตีความด้วยตัวเอง เขากล่าวเสริมว่า

“น่าจะเอามาจากนี้ครับ แล้วเข้าใจว่าผมไปช่วย ซึ่งในนั้นยังไม่มีส่วนไหนเลยครับว่าผมไปช่วย OMG”

ภาพถ่ายหนังสือพิมพ์กรุงเทพฯธุรกิจจากนายปรมินทร์

ซึ่งหากเข้าไปตรวจสอบบนหน้าเว็บหลักของ OmiseGO นั้นจะพบว่าที่ปรึกษาของบริษัทดังกล่าวนั้นคือนาย Vitalik Buterin ชาวรัสเซียผู้ก่อตั้ง Ethereum Foundation และผู้สร้างเหรียญ cryptocurrency อันดับที่สองของโลกนามว่า Ethereum และไม่มีข้อมูลของนายปรมินทร์อยู่บนหน้าเว็บแต่อย่างใด

บริษัท Omise นั้นถูกก่อตั้งโดยผู้บริหารชาวไทยและชาวญี่ปุ่น โดยมีบริษัทแม่ตั้งอยู่ในประเทศไทย และยังมีสาขาอื่นๆตั้งอยู่ในประเทศสิงคโปร์, ญี่ปุ่น และอินโดนีเซีย โดยก่อนหน้านี้พวกเขาเคยเปิดระดมทุนขาย ICO มาได้แล้วกว่า 25 ล้านดอลลาร์ และเข้าซื้อกิจการชำระเงิน Paysbuy จาก DTAC ด้วย

โดยอ้างอิงจากนายปรมินทร์นั้น เขาเคยเป็นที่ปรึกษาให้กับโปรเจคๆ หนึ่งนามว่า ITT หรือผู้ให้บริการด้านสัญญาณการซื้อขายเหรียญคริปโต ในการเปิดระดมทุนขาย ICO ที่เปิดขายไปแล้วตั้งแต่เมื่อวันที่ 18 สิงหาคมที่ผ่านมา และจะสิ้นสุดในวันที่ 17 กันยายนนี้

เรียกร้องให้รัฐบาลคิดด่วน

นายดนัยได้กล่าวปิดท้ายราย โดยเรียกร้องให้ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างกระทรวงการคลัง, แบงก์ชาติ และ ก.ล.ต. ให้ “คิดด่วน” เกี่ยวกับเรื่องที่เขาได้รายงานมา

“กระทรวงการคลังคิดด่วน แบงก์ชาติคิดด่วน โดยเฉพาะคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ก.ล.ต. คิดด่วน คิดออกแล้วบอกด้วยนะฮะ”

กล่าวโดยนายดนัย

[rsnippet id=”1″ name=”AdSense In-article ad 1″]

ทว่าก่อนหน้านี้ดูเหมือนว่าทางก.ล.ต.นั้นอาจจะตอบคำถามให้กับนายดนัยไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยอ้างอิงจาก BrandInside ที่ได้ทำการสัมภาษณ์ทิพยสุดา ถาวรามร รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์เกี่ยวกับการระดมทุน ICO นี้เมื่อวันที่ 6 กันยายนที่ผ่านมา โดยเธออธิบายว่า ICO นั้นเติบโตเร็วมาก หน่วยงานก็คงอยู่เฉยไม่ได้ คงต้องมีการนำเสนอข้อมูลเพื่อเตือนเรื่องข้อควรระวังต่างๆ แม้การลงทุนแบบนี้จะไม่มีกฎหมายของประเทศไทยใดๆ เข้ามากำกับก็ตาม

“แค่ขึ้นชื่อว่า Cryptocurrency ก็คงทำได้แค่ดูแลให้อยู่ในสายตา และให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ แต่เราก็คงไม่ได้เข้าไปยุ่งกับมันมาก เพราะไม่เช่นนั้นคงทำหน้าที่อย่างอื่นได้ไม่เต็มที่ ผ่านความซับซ้อนของการลงทุนแบบนี้ ที่สำคัญก็ต้องรอธนาคารแห่งประเทศไทยว่าจะฟันธงเรื่องนี้ออกมาเป็นอย่างไรด้วย”

กล่าวโดยทิพยสุดา

ที่น่าสนใจคือ เธอยังได้มีการอ้างอิงถึงการแบนการเปิดขาย ICO ของธนาคารกลางแห่งประเทศจีนเมื่อวันจันทร์ของสัปดาห์ที่แล้ว โดยให้เหตุผลว่าในไทยนั้นจะทำแบบจีนไม่ได้ เพราะมันถือเป็นอีกโอกาสในการลงทุน และเสริมความแข็งแกร่งให้กับภาคธุรกิจ โดยเธออธิบายว่า

“ที่จีนแบนเรื่องนี้ได้ เพราะประเทศเขาใหญ่ และก็มีแนวโน้มที่จะทำสกุลเงินดิจิทัลของตัวเองเหมือนกัน แต่ที่ไทยจะปิดกั้นเรื่องนี้ไม่ได้ ก็เพราะมันเป็นอีกโอกาสในการลงทุน และเสริมความแข็งแกร่งให้กับภาคธุรกิจ ยิ่งมีช่องทางการลงทุนก็น่าจะยิ่งดีกว่า ดังนั้นยืนยันว่ากลต. ไม่ปิดกั้น ICO แต่ตอนนี้คงทยอยให้ความรู้ และพยายามก้าวข้ามความท้าทายในการดูแลเรื่องนี้ด้วย”

การระดมทุนซื้อขาย ICO คือการระดมทุนและลงทุนเพื่อที่จะเปิดตัวโปรเจคโครงการหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ของบริษัทสตาร์ทอัพ โดยมีการออกเหรียญดิจิตอล (ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกสร้างขึ้นมาโดยมีฐานเป็น Ethereum) มาเพื่อเสนอขายให้กับนักลงทุนที่สนใจจะลงทุนในตัวโปรเจคดังกล่าว (หรือแม้กระทั่งบริษัท) กล่าวคืออาจจะคล้ายคลึงกับ IPO หรือ Initial Public Offering ที่เรารู้จักกันดี เพียงแต่ตัวหุ้นนั้นจะถูกแทนที่ด้วยเหรียญดิจิตอล

การได้มาซึ่งเหรียญไม่ได้แปลว่าเรามีสิทธิหรือมีส่วนร่วมในหุ้นส่วนของบริษัทนั้นๆแต่อย่างใด ทว่าเหรียญที่ได้มาจากการซื้อขาย ICO สามารถนำมาขายออกหรือเก็งกำไรได้

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น