<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

สรุป 10 ข้อเกี่ยวกับการประชุมผู้นำ G20 ว่าด้วยเรื่องเกี่ยวกับ Cryptocurrency

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

เมื่อสัปดาห์ที่แล้วประเทศกลุ่มผู้นำด้านเศรษฐกิจ 20 ประเทศได้จัดการประชุมผู้นำ G20 ในเมืองบัวโนส ไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา โดยกฎหมายด้าน cryptocurrency นั้นได้กลายเป็นหนึ่งในหัวข้อหลักของการประชุมด้วย โดยเป็นที่คาดการณ์ว่าทุกอย่างในการประชุมดังกล่าวนั้นอาจจะส่งผลกระทบต่อ cryptocurrency ทั่วโลก ซึ่งใจความสำคัญหลัก ๆ ของการประชุมคือ “เราจะไม่แบน แต่จะทำให้ตลาดนั้นถูกกฎหมาย” ถือเป็นข่าวด้านบวกที่ทำให้หลาย ๆ คนกำลังสงสัยว่าเมื่อทางกลุ่มผู้นำ G20 เริ่มเดินหมากมาในรูปแบบนี้ แล้วทางจีน, ญี่ปุ่นจะทำอย่างไรต่อไป

สำนักข่าว CCN ได้เผยให้เห็นถึงข้อสรุปใหญ่ ๆ ทั้งหมด 10 ข้อ และคาดการณ์ว่าร่างกฎหมายทั้งหมดนี้จะถูกนำมาเสนอให้เห็นเป็นครั้งแรกในเดือนกรกฎาคม ตามรายงานก่อนหน้านี้ โดยข้อสรุปที่น่าสนใจนั้นประกอบไปด้วย

  1. Cryptocurrency/blockchain ควรที่จะถูกนำไปปรับใช้ในแต่ละประเทศ
    ผู้เข้าร่วมประชุม G20 มองว่า cryptocurrency นั้นมีศักยภาพที่จะช่วยเหลือรัฐบาลในการขยายนโยบายสวัสดิการ โดยผู้ว่าฯกระทรวงการคลังแห่งสเปนถึงกับกำชับในข้อดังกล่าวว่าควรที่จะทำ
  2. ประเทศต่าง ๆ เริ่มรับรู้ถึงเศรษฐกิจแบบดั้งเดิมที่กำลังใกล้จะตาย
    ผู้ว่าฯดังกล่าวยังเห็นด้วยว่าเศรษฐกิจแบบเก่านั้นกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนแปลง และมันกำลังเป็นเรื่องที่ยากในการแยกยุคดิจิตอลออกจากเศรษฐกิจ กล่าวคือทั้งสองอย่างนี้จะต้องมาควบคู่กัน
  3. กฎหมายนั้นต้องมาแน่
    การออกกฎหมายนั้นกำลังอยู่ในช่วงเตรียมพร้อม และคอนเฟิร์มว่าจะมาแน่นอน และแม้ว่าเศรษฐกิจนั้นจะเป็นดิจิตอล แต่ประชาชนนั้นอยู่บนโลกของความจริงและจับต้องได้ ดังนั้นจึงต้องออกมีการออกกฎหมายออกมา
  4. กำกับ แต่ไม่ห้าม
    สมาชิก G20 ต่างก็เห็นพ้องตรงกันทุกคนว่า cryptocurrency นั้นสำคัญ และแสดงถึงการปฏิวัติเศรษฐกิจและการจัดระเบียบทางสังคม ดังนั้นมันจึงไม่ควรถูกแบน แต่ควรที่จะถูกกำกับภายใต้กฎหมาย
  5. กฎหมายจะไม่ขัดขวางเทคโนโลยีใหม่ แต่การเก็บภาษีนั้นขัดขวางแน่ ในทันที
    เป็นที่ทราบกันดีว่าถ้าหากมีการออกกฎหมายอย่างระมัดระวังและค่อยเป็นค่อยไปนั้นจะไม่ทำให้การพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ หยุดชะงักลง แต่อย่างไรก็ตามการเก็บภาษี หรือการที่จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียม หรือค่าแรกเข้าให้กับทางรัฐฯ นั้นจะมีผลกระทบอย่างแน่นอน
  6. ร่างกฎหมายตัวแรกจะถูกเสนอในเดือนกรกฎาคม
    ประธานของธนาคารกลาง, องค์กรปราบปรามด้านการเงิน (FAFT) และองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) จะร่วมมือกันเพื่อทำหน้าที่ร่างกฎดังกล่าวให้กับกลุ่ม G20 โดยร่างตัวแรกนั้นจะถูกเผยออกมาครั้งแรกในเดือนกรกฎาคมปีนี้ในช่วงการประชุมครั้งที่สามของกลุ่มผู้ว่าฯคลัง และประธานธนาคารกลาง
  7. ป้องกันอาชญากรรม
    ร่างกฎหมายที่ว่านี้จะมุ่งเป้าไปที่การป้องกันกิจกรรมผิดกฎหมายทุกอย่างที่เกี่ยวข้อง เช่นการสนับสนุนผู้ก่อการร้าย, การฟอกเงิน และปกป้องผู้บริโภค อย่างเช่นการช่วยให้ความรู้เพื่อป้องกัน ICO ที่เป็นตัวหลอกลวง เป็นต้น
  8. การติดตามผู้ใช้งานและการทำ KYC
    ปัจจุบันยังไม่มีการหาข้อตกลงเกี่ยวกับวิธีการติดตามผู้ใช้งานและเส้นทางการทำธุรกรรมที่แน่นอนว่ามีที่ไปมาอย่างไร อย่างไรก็ตาม การทำ KYC หรือการยืนยันตัวตนนั้นจะถือเป็นมาตรฐานหลักและสำคัญที่ต้องมีการหยิบมาถกเถียงกัน
  9. ยุโรปต้องการนำร่องไปก่อน G20
    ทางฝั่งยุโรปต้องการที่จะนำร่องในการช่วยออกกฎหมาย cryptocurrency ไปก่อน และจะไม่รอท่าทีของ G20 ในการตัดสินใจในเดือนกรกฎาคมนี้ โดยกลุ่มประเทศในยุโรปได้มีการจัดตั้งการประชุมกันแล้วเพื่อถกเถียงกันเกี่ยวกับเรื่องกฎหมายดังกล่าว
  10. การดูแลและปกครองกันเอง
    แม้ว่าหัวข้อดังกล่าวจะไม่ได้ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดในที่ประชุม แต่ก็ได้มีการคุยกันนอกรอบเกี่ยวกับขั้นตอนในการออกกฎหมายกันเองที่กำลังมีขึ้นในประเทศญี่ปุ่น, เปอโตริโก้ และสหรัฐฯ ที่กำลังได้รับความสนใจกันในกลุ่มอย่างพอสมควร

ที่มา CCN

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น