<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

เบื้องหลัง Volume การเทรดที่พุ่งขึ้นมหาศาล: Trans-fee Mining คืออะไรและยั่งยืนหรือไม่ ?

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

หากใครได้ติดตามข่าวในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา จะพบว่ามีเว็บเทรดจำนวนหนึ่งที่มีปริมาณการเทรดเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล ซึ่งบางเว็บนั้นมีปริมาณการเทรดแซง Binance เลยด้วยซ้ำ ซึ่งเคยครองอันดับ 1 มาอย่างยาวนาน เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากที่เว็บเทรดได้นำโมเดลใหม่นาม “Trans-fee Mining” มาใช้งาน ซึ่งมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในชุมชนเป็นอย่างมากในชุมชนคริปโต โดยในบทความนี้ผู้เขียนจะแสดงความคิดเห็นส่วนตัวว่า โมเดลดังกล่าวนั้นส่งผลดีหรือเสียต่ออุตสาหกรรม Cryptocurrency

Trans-fee Mining คืออะไร

Trans-fee Mining เป็นโมเดลรูปแบบใหม่ที่เว็บเทรดบางเว็บนำมาใช้ในช่วงที่ผ่านมา โดยปกติผู้ใช้งานจะเสียค่าธรรมเนียมต่อการซื้อขายให้เว็บเทรดเป็นปกติอยู่แล้ว แต่สิ่งที่โมเดลนี้ทำแตกต่างออกไปคือ เว็บเทรดจะสร้างโทเคนของพวกเขาขึ้นมา และกำหนดว่ามีจำนวนจำกัดกี่เหรียญ

เมื่อผู้ใช้งานทำการซื้อขายในเว็บเทรดนั้น ๆ พวกเขาก็ยังเสียค่าธรรมเนียมตามปกติอยู่ แต่ผู้เทรดจะได้รับโทเคนที่ถูกเว็บเทรดสร้างขึ้นมาแทนส่งกลับไป โดยจะมีมูลค่า 100 เปอร์เซ็นต์ของค่าธรรมเนียมในการเทรดที่เสียไป ส่งผลให้ผู้ใช้งานมีแรงจูงใจในการเทรดที่เว็บนั้น ๆ

Volume ของเว็บเทรดที่เพิ่มขึ้น

ในวันที่ 27 มิถุนายนที่ผ่านมา เว็บเทรด CoinBene และ Bit-Z มีปริมาณการเทรดภายใน 24 ชั่วโมงมากกว่า Binance ถึง 1 พันล้านดอลลาร์ หลังจากที่เว็บเทรดเหล่านั้นประกาศใช้โมเดล Trans-fee Mining แต่ในเวลาต่อมาถูก Binance แซงกลับไปได้ เนื่องจากในช่วงนั้นเป็นช่วงที่ Binance ปิดปรับปรุงพอดีทำให้ไม่มีการเทรดเกิดขึ้น

แต่ล่าสุดในวันที่ 1 มิถุนายนที่ผ่านมา เว็บเทรดนาม CoinEx ได้ขึ้นแท่นอันดับ 1 ในปริมาณการเทรดแซง Binance เช่นกัน แต่คราวนี้ Binance ไม่ได้ปิดปรับปรุงแต่อย่างใด โดยเว็บเทด CoinEx มีปริมาณการเทรดเพิ่มขึ้นกว่า 24,000 เปอร์เซ็นต์ จาก 5 ล้านดอลลาร์ เป็น 1,297 ล้านดอลลาร์

[rsnippet id=”1″ name=”AdSense In-article ad 1″]

ข้อกังขา

ถึงแม้ว่าวิธีนี้จะเป็นวิธีใหม่ที่สามารถสร้าง Volume ให้เว็บเทรดได้อย่างมากมาย แต่ดูเหมือนว่าโมเดลดังกล่าวจะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากตามมา เช่นนาย Zhao Changpeng CEO ของเว็บ Binance ได้กล่าวว่า เขามีความคลาบแคลงใจว่า โมเดลดังกล่าวนี้จะยั่งยืนในระยะยาวหรือไม่

“ถ้าเกิดเว็บเทรดไม่ได้รับรายได้จากค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมและได้กำไรจากราคาของโทเคนตนเองเท่านั้น เว็บเหล่านั้นจะอยู่รอดได้อย่างไร ถ้าไม่มีการควบคุมราคาโทเคนเกิดขึ้น ? คุณมั่นใจหรือเปล่าที่จะเล่นกับผู้ควบคุมราคา ? ผู้ควบคุมราคาที่ควบคุมแพลตฟอร์ม ?”

ผู้เขียนเห็นด้วยกับความเห็นของเจ้าของเว็บ Binance แต่ก็ไม่ถึงกับ 100 เปอร์เซ็นต์ ยังคงเป็นความจริงที่เว็บเทรดเหล่านั้นได้ค่าธรรมเนียมจากการเทรดอยู่ดี เพียงแต่พวกเขาต้องเสียโทเคนคืนกลับไปให้กับผู้เทรด แต่ไม่สามารถทราบได้ว่าโทเคนเหล่านั้นมีต้นทุนที่เท่าไร และมูลค่าจริง ๆ ของมันคืออะไร

สิ่งที่ผู้เขียนกังวลยิ่งกว่าคือ Volume ปลอมที่เพิ่มขึ้นมาหลังจากใช้โมเดลนี้ ซึ่งอาจจะกลายเป็นกระแสได้ ทำให้อาจเกิดเว็บใหม่ ๆ ที่ใช้โมเดลนี้เพื่อล่อนักลงทุนเข้ามา พอนักลงทุนเริ่มเทรด ก็ทำการปิดเว็บหนีหายไป ซึ่งจะสร้างชื่อเสียงในแง่ลบกับอุตสาหกรรมคริปโตได้

รวมทั้งเว็บเทรดเหล่านั้น ยังไม่มีท่าทีที่จะป้องกันการ Wash Trading ซึ่งผู้เขียนคิดว่า ทางเว็บมองว่าเป็นการสร้าง Volume ให้เลยไม่ได้ห้ามอะไร สำหรับคนที่ไม่ทราบ Wash Trading คือการใช้โปรแกรมในการซื้อขายกับตัวเอง โดยพวกเขาทำเพื่อให้ได้โทเคนมาและไม่เสียค่าใช้จ่ายอะไรเลย เรียกง่าย ๆ ว่าเป็นการได้โทเคนมาฟรี ๆ นั่นเอง

[rsnippet id=”1″ name=”AdSense In-article ad 1″]

Volume ที่เพิ่มขึ้นมานั้น ไม่ได้เพิ่มสภาพคล่องของเว็บแต่อย่างใด มีความเป็นไปได้ที่จะเป็นเพียง Volume ของการ Wash Trading เท่านั้น ซึ่งอาจสร้างความสับสนให้กับนักเทรดมือใหม่ที่ไม่มีช้อมูลและเข้ามาเทรดตามกระแสก็ได้ พร้อมทั้งไม่เป็นที่แน่ชัดว่าโมเดลดังกล่าวนั้นจะยั่งยืนในระยะยาวหรือไม่

 

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น