<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

ตู้กดเงิน ATM แบบ White-Label อาจเป็นหนึ่งสัญญาณการปรับตัวของแบงก์ก่อนถูก Disrupt

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

เมื่อช่วงต้นปี 2561 ที่ผ่านมา ข่าวที่เรียกได้ว่าเป็นเสียงฮือฮามากที่สุดในแวดวงการเงินไทย คงหนีไม่พ้นกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย ประกาศฟรีค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรม ซึ่งในตอนนั้นนับว่าเป็นสัญญาณการปรับตัวของแบงก์ไทยอย่างชัดเจน ด้วยเหตุผลที่ว่าอาจถูก แพลตฟอร์ม หรือ เทคโนโลยีใหม่เข้ามาทำลาย (Disrupt) โดยเฉพาะเทคโนโลยี Blockchain

ล่าสุด ธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยได้ปรับตัวอีกครั้ง โดยให้เหตุผลว่าการปรับตัวในครั้งนี้เพื่อหวังลดการลงทุนที่ซ้ำซ้อน และ ภาระต้นทุนของธนาคาร ด้วยการผลักดันแนวคิด White Label ATM

คนไทยกดเงินเฉพาะแบงก์

ยามที่คนเราต้องการใช้เงินสด ในการเดินเข้าธนาคารเพื่อขอเบิกเงินสดจำนวนหนึงในปัจจุบันนั้นมีขั้นตอนที่หลากหลายมากมายกว่าจะเสร็จสิ้นและคงจะใช้เวลาที่มากกว่าการกดเงินจากตู้กดเงินสด หรือ เอทีเอ็ม ซึ่งการกดเงินผ่านตู้ เอทีเอ็ม ในแต่ละครั้งนั้น หากเป็นธนาคารเดียวกับบัญชีที่เรามีค่าธรรมเนียมในการกดเงินก็แทบไม่มี แต่ กรณีที่กดข้ามธนาคารมีบ้างที่จะต้องเสียค่าธรรมเนียม จึงเป็นภาพจำของคนไทยว่าเวลาที่ต้องการกดเงินในแต่ละครั้ง ถ้าไม่อยากเสียค่าธรรมเดียวก็ต้องกดเงินจากตู้เอทีเอ็มของธนาคารที่เรามีบัญชีเท่านั้น

มันจึงเป็นที่มาว่าคนไทยมักจะมีความคุ้นชินกับการเห็นเครื่องเอทีเอ็มหลากหลายสีของแต่ละธนาคารตั้งเรียง ๆ กันเป็นตับ ๆ ตามห้างสรรพสินค้า หรือ สถานที่ต่าง ๆ ที่มีผู้คนพลุกพล่าน หรือแม้แต่บางจุดเราเองก็มีโอกาสเห็นตู้เอทีเอ็มของธนาคารเดียวกัน 2-3 ตู้เพื่อรองรับลูกค้า

เมื่อแบงก์ฟรีค่าธรรมเนียม

ในวันที่อุตสาหกรรมการเงินกำลังพัฒนาอย่างต่อเนื่องนั้น ธนาคารจะไม่ปรับตัวตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงคงเป็นไปได้ยาก เพราะจากสัญญาณการปรับตัวของธนาคารพาณิชย์ ทั้งเรื่องฟรีค่าธรรมเนียม การชำระเงินผ่าน QRcode และ การสนับสนุนให้ใช้งานแอปพลิเคชั่นของธนาคารเพื่อทำธุรกรรมต่าง ล้วนแต่เป็นการผลักดันให้สังคมไทยเป็น Cashless Society ซึ่งเรากำลังจะบอกว่าทำไมนั่นถึงถือเป็นเรื่องที่ดี

[rsnippet id=”1″ name=”AdSense In-article ad 1″]

White Label ATM ตู้เอทีเอ็มสีขาว

เมื่อเร็วๆ นี้ สมาคมธนาคารไทยได้ผลักดันแนวคิด White-Label ATM หรือเอทีเอ็มป้ายขาว ซึ่งเป็นระบบเอทีเอ็มที่ไม่มียี่ห้อ ไม่แบ่งแยกว่าเป็นเอทีเอ็มของธนาคารสีใด แต่เป็นเอทีเอ็มที่รับบัตรของทุกธนาคาร

แนวคิด White-Label ATM  เกิดขึ้นจากการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยและสมาคมธนาคารไทยต้องการให้ระบบการเงินมีการใช้ทรัพยากรร่วมกัน ซึ่งผู้ที่ได้ประโยชน์หลัก คือ สถาบันการเงิน เพราะจะเป็นการลดต้นทุนและประหยัดค่าใช้จ่าย

Cryptocurrency ATMs

แน่นอนว่าการกดเงินแบบไร้พรมแดน และ ไม่มีข้อจำกัดนั้นเป็นเรื่องที่ดีสำหรับผู้บริโภค แต่ถ้าลองดูในแง่ของ Cryptocurrency ATMs บ้าง มันก็มีข้อดีที่น่าสนใจเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเหรียญที่มีมากมายไม่ใช่เพียงแค่ BTC เท่านั้น หรือ สมมติว่าถ้าหากเรามีคริปโตบน Wallet ก็สามารถไปกดกับตู้ Cryptocurrency ATMs ในแต่ละประเทศได้ เป็นการลดความเสี่ยงในกรณีที่เราต้องถือเงินจำนวนมาก ๆ ไปท่องเที่ยว และยังช่วยประหยัดเวลาอีกด้วย

แต่หลายคนอาจมีคำถามว่าปัจจุบัน บัตร VISA Mastercard ก็สามารถกดเงินได้ แล้วทำไมถึงยังต้องใช้ Cryptocurrency ATMs อีกล่ะ

ลองนึกภาพว่าถ้าหากคุณไปเที่ยวต่างประเทศ และไม่ได้พกเงิน fiat ของประเทศนั้น ๆ ไปเลย แต่ทว่าในโทรศัพท์ของคุณนั้นมีเหรียญ Litecoin ที่เพิ่งได้มาจากการทำกำไรบนตลาด futures เมื่อไม่นานมานี้ และคุณก็ใช้มันเพื่อ cash out ณ ที่ตู้ Cryptocurrency ATMs

ใช่แล้วค่ะ ตู้ส่วนใหญ่ในปัจจุบันที่มีสภาพคล่องสูงนั้น มักจะมีค่าธรรมเนียมที่ถูกกว่า และเรทอัตราแลกเปลี่ยนถูกกว่าการแลกที่เมืองไทย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องยอมรับข้อเสียที่ตามมาด้วย ทั้งเรื่องการให้บริการที่อาจยังมีไม่มาก เป็นเหตุทำให้ถูกชาร์จค่าธรรมเนียมที่ค่อนข้างแพงจากผู้ให้บริการ รวมถึงการทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับสิ่งเหล่านี้ล้วนต้องผ่านการทำ KYC ที่แน่นหนา อาจทำให้ความนิยมลดลง

นอกจากนี้ Cryptocurrency ATMs เสี่ยงต่อการถูกโจมตีด้วย Malware เพราะเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ความปลอดภัยอาจยังไม่เสถียรเท่ากับของภาคธนาคาร

แต่กระนั้น อาจมีอีกหนึ่งคำถามที่ตามมาก็คือ หากทุก ๆ คนใช้ “สินทรัพย์ดิจิทัล” มาเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนกันหมดแบบ 100% (Cashless Society) ผู้บริโภคยังมีความต้องการตู้เอทีเอ็ม หรือ Crypto ATM หรือไม่ และเมื่อถึงเวลานั้นธนาคารจะปรับตัวอย่างไร

[rsnippet id=”1″ name=”AdSense In-article ad 1″]

แบงก์ปรับตัวหนีเทคโนโลยี

ไม่ว่าจะเป็นการที่แบงก์ประกาศฟรีค่าธรรมเนียม หรือ ยุบรวมตู้เอทีเอ็มให้เหลือตู้เดียวเพื่อเป็นศูนย์กลางให้ทุกคนสามารถกดเงินได้ อาจเป็นสัญญาณการปรับตัวของภาคธนาคารที่กังวลว่าอาจถูกเทคโนโลยีเข้ามา Disrupt ก็เป็นได้ หลังจากที่ก่อนหน้า การประกาศฟรีค่าธรรมเนียมของแบงก์ เป็นการปรับตัวเพื่อดึงดูดลูกค้าให้ยังคงใช้งานบริการต่างๆ ของธนาคาร ไม่ให้ไปใช้เทคโนโลยี หรือ แพลตฟอร์มที่สามารถ รับ ส่ง เงินได้โดยไม่ผ่านตัวกลางหรือ เสียค่าธรรมเนียม

เอทีเอ็มป้ายขาว อาจเป็นอีกหนึ่งการบริการที่ภาคธนาคารใช้เพื่อดึงดูดไม่ให้ผู้ใช้งานหันไปพึ่งเทคโนโลยีหรือแพลตฟอร์มที่มีข้อดีมากกว่า หรือ สะดวกกว่า อย่าง เทคโนโลยี บล็อกเชน หรือ Cryptocurrency

สรุป

White-Label ATM เอทีเอ็มป้ายขาว เป็นแนวคิดที่สร้างขึ้นเพื่อลดต้นทุนของแบงก์ และเป็นการผนึกกำลังของแบงก์ไทยให้ทำงานร่วมกัน เพื่ออำนวยความสะดวกสบายให้กับลูกค้า ด้วยการไม่สร้างภาระให้กับลูกค้าเพิ่มเติม กล่าวคือ ค่าธรรมเนียมที่ลูกค้าต้องเสียเมื่อกดเงินผ่านตู้ที่ต่างธนาคาร ซึ่งนี่อาจจะเป็นการปรับตัวของแบงก์ไทยอีกครั้งหลังจากก่อนหน้านี้ปรับตัวเพื่อหนีเทคโนโลยีด้วยการประกาศฟรีค่าธรรมเนียม หวังดึงลูกค้าไม่ให้หนีไปใช่งานแพลตฟอร์มอื่น

[rating_form id=”1″]

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น