<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

พรรคการเมืองของไทยเริ่มใช้ Blockchain ในการลงคะแนนเสียงในการเลือกหัวหน้าพรรคแล้ว

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

การลงคะแนนเลือกตั้งด้วยระบบ Blockchain กำลังเป็นที่น่าจะตามองและกำลังเป็นที่นิยมในหลาย ๆ ประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่กำลังมีการจัดเลือกตั้งหรือต้องมีการลงคะแนนเสียง

ล่าสุดในประเทศไทยได้นำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้กับการลงคะแนนเสียงกับพรรคการเมืองเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

อ้างอิงจากเว็บข่าวสยามรัฐ ได้รายงานว่า พรรคการเมืองแรกที่นำระบบ Blockchain มาใช้ลงคะแนนเสียงในการเลือกตั้งหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารก็คือ “พรรคพลังท้องถิ่นไท” นั่นเอง เมื่อวันที่สองพฤศจิกายนที่ผ่านมา พรรคพลังท้องถิ่นไทมีวาระในการเลือกคณะกรรมการบริหารชุดใหม่ คณะกรรมการสรรหาผู้สมัคร โดยเฉพาะหัวหน้าพรรค ซึ่งจะมีการเสนอชื่อหัวหน้าพรรค จากนั้นขอมติในที่ประชุมและให้สมาชิกพรรคที่เข้าร่วมประชุมได้ลงคะแนนแบบใหม่

โดยการลงคะแนนในรูปแบบใหม่นี้จะใช้คอมพิวเตอร์ระบบจอสัมผัส (Touchscreen) และต้องแสกนบาร์โค้ด (Barcode) โดยบาร์โค้ดแต่ละคนจะไม่เหมือนกันและไม่ทราบว่าเป็นของผู้ใด ดังนั้นการลงคะแนนจะไม่ทราบว่า ท่านใดรับรองหรือเลือกใคร

ระบบ Blockchain ของพรรคพลังท้องถิ่นไท

อ้างอิงจากข่าวระบุว่าทางพรรคพลังท้องถิ่นไทจะใช้แพลตฟอร์ม Ethereum และ Smart Contract ในการจัดการ โดยผู้ลงคะแนนแต่ละคนจะมี Wallet Address หรือที่อยู่ของตนในการลงคะแนนด้วย

โดยขั้นตอนในการลงคะแนนนั้นก็คือ:

ผู้ลงคะแนนทำการ Scan Barcode ณ. จุดลงคะแนน เพื่อยืนยันสิทธิ์ และบนหน้าจอจะมีชื่อและตำแหน่งผู้ที่ได้รับการเสนอและลงมติแต่ละตำแหน่ง โดยมี 3 ตัวเลือก คือ รับรอง ไม่รับรอง และ งดออกเสียง

ระบบจะบันทึกข้อมูลการลงคะแนนเมื่อลงคะแนนครบทุกคนเท่านั้น ในกรณีขาดการลงคะแนนและไม่ครบตามกระบวนการภายในเวลาที่กำหนด ระบบจะไม่บันทึกคะแนน และถือเป็นการงดออกเสียง เช่นเดียวกับการทำบัตรเสีย

หลังจากส่งคะแนนระบบจะบันทึกคะแนน เป็นหมายเลขประจำตัว ชื่อ/ตำแหน่ง คนที่เลือก และผลการเลือก เช่น [ นาย A | หัวหน้าพรรค | รับรอง ] ซึ่งเมื่อจบรอบทั้งหมด ระบบจะรวบรวมคะแนนและประกาศผล โดยขึ้นหน้าจอแสดงผลให้สมาชิกทุกท่านทราบในห้องประชุมโดยทันที

หลังจากนั้นก็ใช้ Blockchain ในการลงคะแนน โดยทางพรรคการเมืองได้เลือกแพลตฟอร์ม Ethereum ในการลงคะแนน  เพราะมันมีระบบ Smart Contract ในการใส่กฏและเงื่อนไขต่าง ๆ สุดท้ายก็จะถูกประมวลผลบน Node ที่อยู่บน Blockchain ถ้าข้อมูลไม่ถูกต้องผลการลงคะแนนก็จะไม่ถูกยอมรับ เช่นเดียวกับการทำธุรกรรมบน Blockchain ถ้าตรวจสอบว่าถูกต้องมันก็จะยอมรับผลของการทำธุรกรรมนั้นนั่นเอง

การลงคะแนนจริง

อ้างอิงจากในข่าวได้ระบุว่าเนื่องจากข้อจำกัดบางอย่าง ทำให้พวกเขาไม่สามารถนำระบบ Blockchain มาใช้งานได้จริง การลงคะแนนที่นำมาใช้จริงจึงไม่ได้ทำงานบน Blockchain โดยตรงทันที เนื่องจากมีความล่าช้าในการนับคะแนนและมีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาจากเครื่อข่ายอินเทอร์เน็ตที่ไม่มีสเถียรภาพเนื่องจาก มีสมาชิกพรรคใช้งานอินเทอร์เน็ตทั้ง 3G 4G และ WiFi จำนวนมาก จึงปรับเปลี่ยนกระบวนการลงคะแนนให้ใช้ระบบทำอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น

สำหรับ Smart Contract ที่ส่งข้อมูลขึ้นไปจริงนั้นทำงานอยู่บนแพลตฟอร์ม Ethereum Test Network ที่ชื่อว่า Rinkeby สามารถเข้าไปตรวจสอบได้ที่นี่

ก่อนหน้านี้นายกรณ์ จาติกวณิช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และประธานสมาคมฟินเทคประเทศไทย ได้เผยว่าพรรคการเมืองในไทยเองก็ได้เริ่มใช้เทคโนโลยี Blockchain ในการเลือกหัวหน้าพรรคเช่นกัน

Blockchain กับการเลือกตั้ง

ก่อนหน้านี้ทาง Siam Blockchain ได้เขียนบทความเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยี Blockchain กับการเลือกตั้ง โดยจุดประสงค์ของการใช้ Blockchain นั้นก็คือความโปร่งใสที่ทุกคนสามารถตรวจสอบได้ ว่าผลโหวตของเรานั้นเป็นไปตามที่เราโหวตจริง ๆ หรือไม่นั่นเอง และถึงแม้ว่าหลาย ๆ ประเทศจะนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาช่วยก็ตาม แต่นั่นก็ยังไม่ได้การันตีถึงความโปร่งใสในการเก็บข้อมูลของการเลือกตั้งได้ 100 เปอร์เซ็นต์

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น