<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

รัฐบาลจีนเริ่มเข้มงวดกับนักขุด Bitcoin ในประเทศอีกครั้ง นักวิเคราะห์คาดอาจเสี่ยงต่อราคา

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

จากเอกสารที่ได้ถูกเผยแพร่ออกมาผ่านนักรายงานข่าว Colin Wu ระบุว่า เมืองเป่าชาน (Baoshan) ที่อยู่ทางใต้ของมณฑลยูนนาน (Yunnan) ได้ทำการห้ามไม่ให้โรงจ่ายไฟฟ้าในพื้นที่ทำการจ่ายไฟฟ้าให้กับ นักขุด Bitcoin โดยหากยังมีสถานีจ่ายไฟฟ้าใดๆที่ยังคงทำการจ่ายไฟฟ้าให้กับนักขุดในพื้นที่ดังกล่าวอยู่นั้นจะถือว่าผิดกฏหมาย

ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลจีน และนักขุด Crypto นี้เริ่มต้นขึ้นเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมาโดยรัฐบาลจีนได้เสนอข้อห้ามไม่ให้ประชาชนขุด Crypto เนื่องจากปัญหาด้านผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม แม้ว่าท้ายที่สุดจะยังไม่ได้บังคับใช้ข้อห้ามดังกล่าวก็ตาม อ้างอิงจากการรายงานของ U.Today

ในขณะเดียวกัน ช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา, มณฑลมองโกเลียส่วนใน (Inner Mongolia) ก็ได้ประกาศยกเลิกสัมปทานช่วยเหลือค่าไฟฟ้าให้กับนักขุด Crypto อีกด้วย

การที่ประเทศจีนค่อยๆปลีกตัวออกจากธุรกิจการขุด Crypto นั้นจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับวงการการขุด Crypto อย่างมหาศาล เนื่องจากว่าปัจจุบันในประเทศจีนมีกำลังการขุดเฉพาะ Bitcoin ที่สูงถึง 65% ทั้งหมดในเครือข่าย และหากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น จีนอาจสูญเสียแรงขุดไปอย่างมหาศาลได้เลยทีเดียว

แม้ว่าประเทศจีนจะเป็นแหล่งรวมตัวของนักขุด Crypto แต่กฎหมายต่อต้านของรัฐบาลที่เริ่มส่งผลกระทบต่อการขุดก็เริ่มมีมากขึ้น ส่งผลทำให้นักขุดในประเทศจีนทำงานได้ยากยิ่งขึ้น โดยในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา นาย Wu ยังได้เปิดเผยอีกว่านักขุดบางรายไม่สามารถจ่ายค่าไฟฟ้าได้เนื่องจากบัญชีธนาคารของพวกเขาถูกอายัดเนื่องจากมีธุรกรรมทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับ Crypto ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากทางรัฐบาลจีนได้กำหนดให้การแลกเปลี่ยนหรือธุรกรรมทางการเงินเกี่ยวข้องกับ Crypto เป็นเรื่องผิดกฎหมายตั้งแต่ปี 2017

แม้ว่าจะมีเกิดเหตุการณ์เหล่านี้ขึ้น แต่ก็ยังไม่น่าจะนำไปสู่การปราบปรามในวงกว้าง นอกจากนี้ นาย Wu ยังได้กล่าวอีกว่าเหตุการณ์ที่ยูนนานนั้นจริงๆแล้วเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์แอบแฝงในเชิงธุรกิจระหว่างโรงไฟฟ้ากับนักขุดเสียมากกว่า

“เรายังไม่ควรกังวลว่าจะเกิดผลกระทบในวงกว้างจากเหตุการณ์นี้ มุมมองของบริษัทพลังงานในระดับท้องถิ่นต่อการขุด Crypto นั้นเปลี่ยนแปลงอยู่บ่อยๆ และมักจะเกิดขึ้นจากความต้องการเชิงธุรกิจมากกว่าในด้านของแรงกดดันทางการเมือง”