<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

บทวิเคราะห์ความเป็นไปได้ที่เหรียญ BNB อาจเข้าข่ายเป็นหลักทรัพย์ตามที่ ก.ล.ต. กล่าวอ้าง  

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ในวันนี้ราคาเหรียญ BNB ร่วงลงกว่า 7% เป็นที่น่าสังเกตว่าสาเหตุที่ทำให้ราคาร่วงลงในครั้งนี้จะมาจากการที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐอเมริกา (SEC) ได้เปิดทำการสอบสวนว่าบริษัท Binance Holdings Ltd. ละเมิดกฎหลักทรัพย์การขายโทเค็นดิจิทัลหรือไม่

หลักทรัพย์ คืออะไร

ในประเด็นดังกล่าวเราควรจะพุ่งเป้าไปที่ความหมายของคำว่าหลักทรัพย์ก่อนว่าแท้จริงแล้วคำนี้หมายถึงอะไรกันแน่ สินทรัพย์ทางการเงินที่ซื้อขายได้ มีความหมายทั่วไป คือเป็นรูปแบบต่าง ๆ ของเครื่องมือทางการเงิน แต่ในทางกฎหมายแล้วมีขอบเขตอำนาจตามกฎหมายที่ต่างกันไป ในบางประเทศ ใช้เป็นความหมายที่ใช้กันเป็นสำนวนพูดในชีวิตประจำวัน 

ที่หมายถึงเครื่องมือทางการเงิน แม้ทางกฎหมายและข้อบังคับทางสังคมอาจจะไม่ได้กว้างขนาดนั้น ในบางแห่งมีความหมายเฉพาะเจาะจงว่าเป็นหุ้นและเครื่องมือตราสารหนี้ ในบางแห่งได้รวมสิ่งที่ใกล้เคียงกับหุ้นและตราสารหนี้ไปด้วย อย่าง ใบสําคัญแสดงสิทธิในหุ้น (equity warrant)

โดยหลักทรัพย์ในสหรัฐ คือสินทรัพย์ทางการเงินที่ซื้อขายได้ทุกชนิด หลักทรัพย์มีหมวดหมู่กว้าง ๆ คือ

  • ตราสารหนี้ (เช่น ธนบัตร, ตราสารหนี้ และหุ้นกู้)
  • หุ้น (เช่น หุ้นสามัญ)
  • อนุพันธ์ (เช่น สัญญาซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า , สัญญาซื้อขายในอนาคต, ตราสารสิทธิ และสัญญาแลกเปลี่ยน)

ที่น่าสังเกตคือเหรียญ BNB ของกระดานเทรด Binance นั้นจะสามารถพิจารณาว่าเป็นหลักทรัพย์ได้หรือไม่

หากดูจากความหมายของคำว่าหลักทรัพย์แล้วดูเหมือนจะมีความหมายค่อนข้างกว้าง โดยเมื่อปี 2018 ประธาน ก.ล.ต. Jay Clayton เคยได้ออกมาบอกว่า สินทรัพย์ดิจิทัลที่แท้จริงนั้น ที่สามารถนำมาใช้แทนเงิน Fiat ได้นั้น มีแค่ Bitcoin เท่านั้น ซึ่งภายหลังเขาได้เพิ่มมาอีกเป็น Ethereum และ Litecoin โดยสินทรัพย์ดิจิทัลเหล่านี้ ถูกมองว่าเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ มากกว่าจะมองว่าเป็นหลักทรัพย์

ดังนั้นหากเชื่อมจากสิ่งที่ Clayton เคยพูดคริปโตเหรียญอื่น ๆ ก็มองว่าเป็นเรื่องยากที่จะสามารถจำกัดว่าเหรียญคริปโตใดบ้างที่เป็นหลักทรัพย์หรือไม่ใช่หลักทรัพย์ตามที่ ก.ล.ต กำหนดเพราะ ไม่ว่าจะ “เหรียญ” “โทเคน” “สกุลเงิน” และ “สินทรัพย์” มักใช้แทนกันได้ในโลกของอุตสาหกรรมคริปโต จึงเป็นเรื่องยากที่จะจัดหมวดหมู่อย่างถูกต้อง ซึ่งบางอย่างจะต้องดูหน้าที่แทน ว่าเข้าเกณฑ์จะวิเคราะห์ว่าใช่หลักทรัพย์หรือไม่

หลักเกณฑ์ในการพิจารณาว่าเป็นหลักทรัพย์

ในการพิจารณาว่า สินทรัพย์ดิจิทัลสามารถมองว่าเป็นหลักทรัพย์ตามที่ ก.ล.ต. ได้ไหมนั้น จะพิจารณาว่าสินทรัพย์นั้นเป็น “สัญญาการลงทุน” หรือไม่ สินทรัพย์ที่จะถือว่าเป็นสัญญาการลงทุนต้องเป็นไปตามเกณฑ์สามข้อของ Howey Test ซึ่งได้รับการพัฒนาและตั้งชื่อตามคดีในศาลฎีกา SEC v. W.J. Howey Co., 328 U.S. 293 (1946) การทดสอบ Howey กำหนดให้ต้องมี (1) ลงทุนด้วยเงิน (2) ในองค์กรทั่วไป (3) คาดหวังผลกำไรที่สมเหตุสมผลจากความพยายามของผู้อื่น

Gary Gensler ประธาน ก.ล.ต. คนปัจจุบันกล่าวย้ำกับ CNBC ในเดือนสิงหาคม 2564 ว่าสำนักงาน ก.ล.ต. พิจารณาว่าเหรียญและโทเค็นสกุลเงินดิจิทัลจำนวนมากเป็นหลักทรัพย์ภายใต้การทดสอบ Howey สะท้อนความรู้สึกของบรรพบุรุษของเขา โดยกล่าวว่า

“หากมีใครระดมเงินเพื่อขายโทเคนโดยที่ผู้ซื้อคาดหวังผลกำไร โดยขึ้นอยู่กับความพยายามของกลุ่มในการสนับสนุนผู้ขาย ซึ่งสิ่งนี้จะเหมาะกับการเรียกสิ่งนั้นว่าเป็น  ‘หลักทรัพย์’” (“ก.ล.ต. เป็นประธาน Gary Gensler ในวิสัยทัศน์ของเขาสำหรับกฎระเบียบของสกุลเงินดิจิทัล” 4 ส.ค. 2564)

ตัวอย่าง Case ที่เกิดขึ้น

Case 1: (คดี SEC v. Kik Interactive Inc., 1 :19-cv-05244) ในเดือนมิถุนายน ปี 2019 ก.ล.ต. ได้ยื่นเรื่องร้องเรียนในเขตทางใต้ของนิวยอร์กกับบริษัท Kik Interactive Inc. ซึ่งตอนนั้นในช่วงปี ในปี 2017 ได้ขายโทเคนดิจิทัลที่เรียกว่า “Kin”  โดยขายได้ไปกว่าล้านล้านเหรียญ 

บริษัท Kik ได้อ้างว่าเงินทุนจากการเสนอจะช่วยสร้าง “Kin Ecosystem” ที่หมุนเวียนไปรอบๆ และเพิ่มมูลค่าให้กับโทเคนใหม่ หลังจากที่ Kik ระดมทุนได้เกือบ 100 ล้านดอลลาร์ 

ก.ล.ต. ได้ตั้งข้อหา Kik ในข้อหาละเมิดต่อ พ.ร.บ หลักทรัพย์ ตามมาตรา 5 ของพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ปี 1933 โดยกล่าวหาว่าโทเค็น Kin ควรได้รับการจดทะเบียนเป็นหลักทรัพย์ก่อนจะมาพร้อมกับการเปิดเผยข้อมูลของผู้ลงทุนที่เหมาะสม

อย่างไรก็ตาม ทาง ก.ล.ต. ได้รับชัยชนะในการฟ้องร้องว่าบริษัท Kik ว่าละเมิด โดยการพิจารณาว่า เหรียญ Kik นั้นเป็นหลักทรัพย์หรือไม่นั้น ภายใต้กฎของ Howey ทั้งสามข้อปรากฎว่า อยู่ภายใต้กฎทั้งสามทำให้ เหรียญ ​Kik ถูกพิจารณาว่าเป็น “หลักทรัพย์” ตามทฤษฎีในการลงทุน

โดยศาลได้ให้เหตุผลว่า เหรียญ Kik ได้ทำการระดมทุนด้วยความคาดหวังของนักลงทุนว่า พวกเขาจะได้รับผลตอบแทนจากโครงการในอนาคตของ Kik หลังจากศาลตัดสินให้ กลต ชนะ ทำให้บริษัท Kik ต้องจ่ายค่าปรับเป็นจำนวน 5 ล้านดอลลาร์

Case 2 : (คดี SEC v. Ripple Labs, Inc., 1:20-cv-10832) ในเดือนธันวาคมปี 2020 ทาง ก.ล.ต. ได้ยื่นฟ้อง Ripple Labs Inc. และผู้บริหารบางคน โดยกล่าวหาว่าจำเลยได้ทำการระดมทุนเป็นจำนวนกว่า 1.3 พันล้านดอลลาร์ผ่านการเสนอขายหลักทรัพย์สินทรัพย์ดิจิทัลอย่างต่อเนื่องที่ไม่ได้ลงทะเบียน โดยในกรณีดังกล่าว สกุลเงินดิจิทัลที่เป็นประเด็นคือ XRP 

การร้องเรียนของ ก.ล.ต. อ้างว่าจำเลยระดมทุนผ่านการขาย XRP ในการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ไม่ได้ลงทะเบียนให้กับนักลงทุน และได้ทำการแจกจ่าย XRP หลายพันล้านเหรียญเพื่อแลกกับการพิจารณาที่ไม่ใช่เงินสด เช่น การบริการด้านแรงงานและการทำตลาด การร้องเรียนยังอ้างว่า จำเลยไม่ได้ลงทะเบียนข้อเสนอและการขาย XRP หรือปฏิบัติตามข้อยกเว้นจากการจดทะเบียน ซึ่งเป็นการละเมิดบทบัญญัติการจดทะเบียนของกฎหมายหลักทรัพย์ของรัฐบาลกลาง เมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2565 อย่างไรก็ตามจำเลยได้ขอให้ยกฟ้องแต่ศาลยังคงปฏิเสธ ปัจจุบันคดียังคำดำเนินอยู่

เหรียญ BNB

Binance ได้ระดมทุน ( ICO) ครั้งแรกในเดือนกรกฎาคม ปี 2017 มูลค่าทั้งหมดในการระดมทุนทั้งหมด 15 ล้านดอลลาร์

โดยเหรียญ BNB ซึ่งมีการเติบโตอย่างมากในปี 2021 ยังเป็นสกุลเงินดิจิตอลที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 5 ตามมูลค่าราคาตลาด โดยผู้ที่ถือเหรียญ BNB นั้น สามารถที่จะใช้เหรียญ BNB เพื่อชำระค่าสินค้าและบริการ ชำระค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมบน Binance Smart Chain เข้าร่วมในการซื้อขายโทเคนพิเศษ และอื่นๆ

เมื่อเร็ว ๆ นี้ มีการเปลี่ยนชื่อซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการ Re-Brand บล็อกเชนให้กว้างขึ้นโดย Binance ได้เปลี่ยนชื่อเต็มของ BNB เป็น Build and Build จาก Binance Coin ทางบริษัทได้กล่าวว่า ทำการเปลี่ยนแปลงตามข้อเสนอแนะจากผู้ใช้เกี่ยวกับ “ความจำเป็นในการเสริมความแข็งแกร่งให้กับธรรมชาติของการกระจายอำนาจของเครือข่ายและเสริมสร้างการกำกับดูแลของชุมชนในเครือข่าย”

อย่างไรก็ตามบริษัทยังคงห่างไกลจากแผนที่กำหนดไว้ใน Whitepaper ของ ICO ที่บอกว่าว่าจะใช้กำไรของกระดานแลกเปลี่ยน 20% ในทุก ๆ ไตรมาสเพื่อซื้อเหรียญ BNB คืน 

ทาง CZ ได้โพสต์ในบล็อกปี 2020 กล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกิดขึ้นเพื่อให้อยู่ภายใต้คำแนะนำทางด้านกฎหมาย

“บ่งชี้ว่ามีความเป็นไปได้ที่จะถูกเข้าใจผิดว่าเป็นหลักทรัพย์” ในบางภูมิภาค

การมองว่า BNB เป็นหลักทรัพย์อาจทำให้ Binance ตกอยู่ในสถานการณ์เดียวกันกับ Ripple Labs Inc. ซึ่งยังคงอยู่ระหว่างต่อสู้ในศาลกับ SEC 

อย่างไรก็ตาม Gary Gensler ประธาน ก.ล.ต. คนปัจจุบันได้ กล่าวว่าการระดมทุม ICO เกือบทั้งหมดเป็นหลักทรัพย์และควรได้รับการควบคุมโดย ก.ล.ต

สรุป

จากข้อมูลเบื้องต้นก็พอสรุปได้แล้วว่าการที่จะมองว่า คริปโตเป็นหลักทรัพย์ นั่นอาจจะหมายถึงว่าการที่คริปโตจะต้องมีคุณสมบัติเดียวกับการถือหุ้น ซึ่งสิ่งนี้แสดงให้เห็นว่า ถ้าหากการที่นักลงทุนทั่วโลกถือคริปโตหนึ่งเหรียญแล้วมีสิทธิมีเสียงใน ชุมชมเหรียญนั้น ๆ อย่างชัดเจนในลักษณะเดียวกันการการถือหุ้น นั่นอาจจะมองว่าเป็นคริปโต โดยเฉพาะในที่นี่ก็คือเหรียญ BNB อาจจะมองว่าเป็น หลักทรัพย์ แต่หากไม่ใช่ ก็ยากที่จะมองว่าเหรียญคริปโตจะมีลักษณะคล้ายหุ้นและเป็นหลักทรัพย์

อย่างไรก็ตามทาง ก.ล.ต ได้มีทฤษฎีในการอย่าง กฎของ Howay Test ทั้งสามข้อก็ตามแต่ด้วยคุณสมบัติของคริปโต ทางผู้เขียนก็ยังมองว่ายากที่จะใช้ทฤษฎีที่มีมานานมาตัดสินกับเทคโนโลยีที่ได้เกิดขึ้นใหม่ โดยส่วนตัวในกรณีที่เกิดขึ้นกับ Binance ผู้เขียนมองว่า BNB ไม่ใช่หลักทรัพย์เพราะว่า การถือครอง BNB ก็ไม่ได้ทำให้มีผลอะไร ไม่ได้สามารถจัดการบริษัท หรือมีสิทธิมีเสียงในเรื่องการตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ได้นั่นเอง