<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

“ICO จะทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางการเงินหากกำกับได้อย่างเหมาะสม” โดย MD ของ SmartContract Thailand

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ในปี 2017 นี้กระแสความนิยมของการลงทุนผ่าน Initial Coin Offerings (ICO) ได้แผ่มาถึงประเทศไทยแล้ว ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องที่ไม่อาจจะปฏิเสธได้ว่าภายใต้ความอิสระในการระดมทุนของมันนั้น ได้ทำให้ผู้ใช้งาน cryptocurrency ทั่วโลกได้เห็นปรากฏการณ์ประวัติศาตร์การระดมทุนระดับหลักหลายสิบล้านดอลลาร์ภายในระยะเวลาแค่ 30 วินาที ซึ่งกระแสมาแรงถึงขั้นมีนักมวยและนักฟุตบอลชื่อดังออกมาช่วยโปรโมทและโฆษณาเหรียญ ICO ด้วยเช่นกัน

ด้วยฟีเจอร์ของเทคโนโลยี Blockchain ที่ถูกนำมาพัฒนาให้ใช้งานง่ายขึ้นไปอีกบนระบบ ERC20 Token ของ Ethereum ที่ใครๆก็สามารถสร้างเหรียญดิจิตอลเป็นของตัวเองและเปิดขายเพื่อระดมทุนจาก “ทั่วโลก” ได้นั้น ทำให้บางคนเชื่อว่าจะสามารถช่วยลดต้นทุนของบริษัทในประเทศไทยได้ และจะทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านการเงิน หากมีกฎหมายที่เหมาะสมมาควบคุม

โดยในการให้สัมภาษณ์กับช่อง TNN16 นายสถาพน พัฒนาคูหา หรือผู้ก่อตั้งและ MD บริษัท SmartContract Thailand ได้ออกมากล่าวว่า

“ส่วนตัวเชื่อว่าคงต้องดูกฎหมายด้วยนะครับว่าหน้าตาออกมาเป็นยังไงครับ แต่ว่าถ้าเกิดเราควบคุมมันได้อย่างเหมาะสมและเปิดกว้างให้มีการทดลองการระดมทุนได้ในหลายๆรูปแบบเนี่ย ก็เชื่อว่าจะทำให้ต้นทุนทางการเงินของการทำธุรกิจในประเทศไทยเนี่ยลดลงด้วย แล้วก็จะทำให้ประเทศไทยเราก็สามารถเป็นส่วนหนึ่งของศูนย์กลางทางการเงินในโลกยุคใหม่ได้อย่างดีครับ”

กฏหมายกับ ICO

ทว่าภายใต้ความอิสระและความสะดวกของ ICO ที่ตามมาด้วยช่องโหว่ให้มิจฉาชีพหรือผู้ไม่ประสงค์ดีสามารถใช้เครื่องมือด้านการระดมทุนดังกล่าวนำมาหลอกเอาเงินจากนักลงทุนได้นั้น ทำให้ผู้ออกกฎหมายในหลายๆประเทศออกมาเตือนถึงความอันตราย และวางแผนหาวิธีกำกับและควบคุม ไม่ว่าจะเป็น SEC ประเทศสหรัฐ, MAS ของสิงค์โปร์, BNM ของมาเลเซีย และล่าสุด PBoC ของประเทศจีนที่ตัดปัญหาทั้งหมดด้วยการสั่งแบนการซื้อขาย ICOทั้งหมดในประเทศ

สำหรับประเทศไทยเรานั้น ล่าสุดทาง ก.ล.ต. ได้มีมุมมองที่ค่อนข้างเป็นบวกกับการระดมทุนแบบ ICO โดยกล่าวว่ามันจะช่วยตอบโจทย์การระดมทุนให้ธุรกิจ แต่ก็อาจจะยังต้องมีการหาวิธีกำกับให้มันอยู่ภายใต้กฎหมาย เนื่องจากว่าเหรียญ ICO บางตัวนั้นอาจจะตกอยู่ภายใต้กฎหมายหลักทรัพย์ (securities) แต่อาศัยช่องโหว่ของกฎหมาย cryptocurrency ที่ปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายมารองรับเพื่ออาศัยข้อได้เปรียบด้านกฎหมาย

“ทุกคนก็ต้องไปดูว่ากฎหมายของตัวเองมี gap มั้ย ถ้ามีก็ต้องปิด เพราะถ้าเผื่อไม่ปิด ก็จะมีคนที่ออกสิ่งที่เป็นหลักทรัพย์แต่ว่าไปตกอยู่ใน gap นี้ที่กฎหมายมันบอกว่ามัยยังไม่ใช่ และเราก็จะทำอะไรเค้าไม่ได้[…]คือเราไม่ได้อยากจะปิดกั้นไม่ให้มันเกิด แต่เราอยากจะให้มันเกิดภายใต้สายตาการกำกับที่เหมาะสม”

กล่าวโดยทิพยสุดา ถาวรามร รองเลขาธิการ ก.ล.ต.

[rsnippet id=”1″ name=”AdSense In-article ad 1″]

สำหรับในประเทศไทยนั้น ก่อนหน้านี้ก็มีบริษัทสตาร์ทอัพลูกครึ่งไทยญี่ปุ่น OmiseGO ที่ประสบความสำเร็จในการเปิดระดมทุนผ่าน ICO ขายเหรียญ OMG ไปแล้ว โดยระดมทุนไปได้ทั้งหมดกว่า 25 ล้านดอลลาร์ ซึ่งภายหลังเหรียญที่ว่านี้เคยมีมูลค่าตลาดรวมทะลุ 1 พันล้านดอลลาร์

ปัจจุบันมูลค่าตลาดรวมทั้งหมดของการระดมทุนแบบ ICO นั้นอยู่ที่ 2.2 พันล้านดอลลาร์ อ้างอิงจาก CoinDesk

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น