<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

ผู้ว่าธปท. เผย “เงินดิจิทัลในไทยเกิดยาก อาจต้องใช้เวลาทำความเข้าใจกับประชาชน”

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ก่อนหน้านี้มีรายงานว่าหัวหน้า IMF อยากให้ธนาคารกลางทั่วโลกออกสกุลเงินดิจิทัลของตัวเอง เพื่อลดการใช้เงินสดนั้น ทางผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยกล่าวว่า น่าจะเกิดยากและอาจต้องใช้เวลา

อ้างอิงจาก eFinancethai ระบุว่านายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่าจากข่าวที่นาง Christine Lagarde หรือกรรมการผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) กล่าวว่า “ธนาคารกลางทั่วโลกควรพิจารณาการออกสกุลเงินดิจิทัลเพื่อให้การทำธุรกรรมมีความปลอดภัยมากขึ้น และยังช่วยเสริมสร้างความมั่นใจ” นั้น สำหรับประเทศเกิดใหม่ หรือประเทศกำลังพัฒนา รวมถึงประเทศไทย เชื่อว่าเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา และคงไม่ได้เกิดขึ้นเร็วในช่วง 3 ถึง 5 ปีนี้ เนื่องจากต้องใช้เวลาในการสร้างความเข้าใจในสังคม สร้างความเสถียรภาพของการพัฒนาเทคโลยี และการยอมรับจากประชาชน

ปัจจุบันทางธนาคารแห่งประเทศไทยยังไม่ได้เปิดใช้ Central Bank Digital Currency (CBDC) ให้กับประชาชนทั่วไป แต่อยู่ในระหว่างการทดสอบระหว่างสถาบันทางการเงินด้วยกัน โดยการใช้ทดสอบนี้อยู่ภายใต้โปรเจกต์ที่ชื่อว่า “อินทนนท์” โดยคาดว่าจะสามารถใช้งานได้ภายในไตรมาสแรกปี 2562

พันธบัตรรัฐบาล

ขณะเดียวกัน ธปท.ยังทดสอบการนำระบบเทคโนโลยี Distributed Ledger Technology หรือ DLT มาใช้กับการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล เพราะว่าปัจจุบันจะต้องใช้เวลาดำเนินการถึง 15 วันทำการ แต่หากนำระบบดังกล่าวมาใช้ได้ จะลดเวลาการทำธุรกรรมเหลือเพียง 2 วันทำการเท่านั้น

ทางธปท. ยังกล่าวอีกว่ารูปแบบสกุลเงินดิจิทัลสำหรับบุคคลทั่วไปนั้น ยังเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา เนื่องจากรูปแบบการดำเนินการมีความซับซ้อน รวมถึงความพร้อมของคนในสังคม กฎเกณฑ์ เทคโนโลยีที่ต้องมีเสถียรภาพ นอกจากนี้ ยังเชื่อว่า หากสถาบันการเงินสามารถพัฒนาระบบการชำระเงินได้อย่างดี และมีประสิทธิภาพ โดยนายวิรไท กล่าวว่า:

“สิ่งแรกที่เราต้องทำตอนนี้คือ Digital Payment ทำอย่างไรให้คนใช้มากขึ้น ให้ระบบมีประสิทธิภาพที่ดี เพราะหากดำเนินการได้อาจไม่ต้องลดการออกเงินสด เป็นการออก Digital Currency ก็ได้ เพราะต้องอย่าลืมว่า เรื่องความพร้อมของคนในสังคม กฎเกณฑ์ กติกา รูปแบบการดีไซน์มีความซับซ้อนเยอะมาก เช่น เวลาที่เป็น Digital Currency จะออกเป็นโทเคน หรือ เอ็คเค้าเบท คือ ทุกคนจะมีแอคเค้ากับแบงก์ชาติ ซึ่งถ้าเกิดขึ้น จะทำอย่างไรกับบัญชีเงินฝากที่มีอยู่กับแบงก์ หากทุกคนมี E-Wallet กับแบงก์ชาติ จะมีผลกับ Business Model ของแบงก์ และวันนี้ระบบการชำระเงินที่มันดี มี QR Code มันก็ได้ผลเหมือนกัน โดยที่ไม่ต้องเปลี่ยนรูปแบบเป็นโทเคน หรือ Digital Currency”

นี่ก็เป็นจุดมุ่งหมายที่ดีที่ผู้ที่ดูแลทางการเงิน ได้หันมาสนใจในสกุลเงินดิจิทัลมากขึ้นและในอนาคตในประเทศไทยอาจใช้สกุลเงินดิจิทัลกันอย่างแพร่หลายก็เป็นได้

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น