<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

ผู้ก่อตั้ง Ethereum เผยถึงแนวคิดของการนำ Crypto มาใช้กับเมืองต่าง ๆ ในอนาคต

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ในการกล่าวสุนทรพจน์ที่งาน SG Blockchain Day 2021 ซึ่งจัดขึ้นโดย Blockchain Association Singapore ผู้ร่วมก่อตั้ง Ethereum นาย Vitalik Buterin ได้พูดถึงวิธีที่เมืองต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมืองในสหรัฐอเมริกาได้ทดลองใช้แนวคิดเกี่ยวกับคริปโต เช่น เหรียญ NFT หรือ DAO

โดยนาย Francis Suarez นายกเทศมนตรีเมือง Miami กล่าวในเดือนนี้ว่า Miami จะมอบเงินปันผลเป็น Bitcoin ให้แก่ผู้อยู่อาศัยที่ซื้อและถือครองเหรียญ MiamiCoin เช่นเดียวกับเมือง Newyork ที่ตอนนี้มีเหรียญคริปโตของตัวเองในชื่อว่า NYCCoin ซึ่งนาย Eric Adams นายกเทศมนตรีของ NYC ต้องการให้เมืองนิวยอร์กนั้นกลายเป็นศูนย์กลางด้านคริปโต

นอกเหนือจาก Miami Coin และ Newyork Coin แล้วยังมี AustinCoin ที่ขับเคลื่อนด้วยแพลตฟอร์ม CityCoins.co ซึ่งจะช่วยให้ชุมชนในเมืองต่าง ๆ สามารถสร้างเหรียญคริปโตของตนเองได้ และจะมีการออกเหรียญบางส่วนให้กับรัฐบาลท้องถิ่นของเมือง  “มันจะช่วยสนับสนุนให้ผู้ที่อยู่อาศัยในเมืองเหล่านั้นทำสิ่งต่าง ๆ เพื่อทำให้เหรียญสามารถใช้ประโยชน์ได้จริง” Buterin กล่าว

ในขณะที่รัฐ Wyoming ปัจจุบันได้กลายเป็นที่ตั้งของ CityDAO ซึ่งเป็นบริษัทที่ก่อตั้งขึ้นในฐานะ DAO โดยมีแผนสร้างเมืองบล็อคเชนที่ซ้อนทับอยู่ในโลกแห่งความเป็นจริง พร้อมกันนี้ทีมงานของ CityDAO ยังได้กว้านซื้อที่ดินกว่า 40 เอเคอร์ในมุมที่ห่างไกลของไวโอมิงและมีแผนที่จะซื้ออสังหาริมทรัพย์เพิ่มเติมอีกในอนาคต

“แทนที่จะถูกควบคุมโดยโทเค็น การกำกับดูแลจะขึ้นอยู่กับ NFT ของพลเมือง และในที่สุดการกำกับดูแลอาจถูกจำกัดให้สูงสุดอยู่ที่หนึ่งเสียงต่อคน” Buterin กล่าว “มีการทดลองเกิดขึ้นมากมาย แต่ขณะนี้มันยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น ซึ่งนั้นหมายถึงโอกาสอีกมากมายที่รอเราอยู่”

Buterin ตั้งข้อสังเกตว่า กรณีการใช้งานที่เป็นไปได้นั้น รวมถึงเหรียญที่กันใช้เฉพาะภายใน สำหรับวัตถุประสงค์ของรัฐบาลเพื่อทำให้การโอนเงินภายในรัฐบาลนั้นมีความโปร่งใสมากขึ้น เช่น “เมื่อผู้เสียภาษีจ่ายภาษี จะมีเหรียญคริปโตที่สร้างในจำนวนเงินที่เท่ากับการชำระเงินภาษีของพวกเขา” Buterin กล่าว “มันจะมีใบเสร็จเข้ารหัสที่พิสูจน์ได้ว่า จำนวนเหรียญที่สร้างจริงมีจำนวนเท่ากับภาษีที่จ่ายไป ซึ่งหากคุณไม่ต้องการเปิดเผยว่า มีผู้คนจ่ายภาษีไปเป็นจำนวนเท่าใด มันก็ยังมีวิธีที่จะสามารถทำได้ใน  zero-knowledge ” 

นอกจากนี้ระบบยังสามารถขยายไปสู่การประมูลเพื่อการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐบาล โดยสามารถดำเนินการประมูลแบบ on-chain โดยใช้สกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง (CBDC) และผู้รับเหมาที่สามารถเสนอราคาด้วยกระบวนการประมูลสาธารณะ สัญญา Smart contract ที่สามารถกำหนดผู้ชนะได้ เช่น การมอบงานให้กับผู้เสนอราคาต่ำสุด เป็นต้น

NFTs อาจถูกใช้เป็นทางเลือกอื่น Buterin กล่าวเสริม “ในทางเทคนิค รัฐบาลสิงคโปร์ได้มีการออก NFT แล้ว เช่น ใบอนุญาตขับรถ แต่นั้นยังไม่ใช่ NFT ที่อยู่บนบล็อคเชน” 

บล็อกเชนจะช่วยมอบความโปร่งใสและไว้วางใจให้กระบวนการเหล่านี้ รวมถึง กระบวนการ zero-knowledge proofs เพื่อเพิ่มความเป็นส่วนตัวให้กับสิ่งต่าง ๆ Buterin กล่าว “แม้ว่าข้อมูลบางส่วนนั้นจะอยู่รูปแบบส่วนตัว แต่คุณก็ยังมีหลักฐานของการเข้ารหัสที่สามารถบอกได้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านั้นกำลังเป็นไปตามกฎ” นอกจากนี้ยังมันสามารถรวมเข้ากับระบบนิเวศบล็อกเชนในวงกว้างขึ้นได้ เช่น การเข้าถึงตลาดการเงินแบบกระจายอำนาจ ( DeFi) หากเมืองต้องการขาย NFT

“ตอนนี้ แนวคิดทั้งหมดนี้ยังเพิ่งอยู่ในช่วงเริ่มต้น และยังมีแนวคิดอีกมากมายที่กำลังจะเกิดขึ้นตามมา” Buterin กล่าว “ผมรู้สึกตื่นเต้นจริง ๆ ที่จะได้เห็นเมืองในอีก 5 ปีข้างหน้าได้เริ่มมีการทดลองใช้แนวคิดบล็อคเชน ”