<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

[บทสัมภาษณ์พิเศษ] คุณโดม เจริญยศ :  USDL Stablecoin บน JIB Chain คืออะไรและใช้งานยังไง ?

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ในช่วงที่ผ่านมา หลายคนอาจรู้สึกคุ้นหูกันไม่น้อยเกี่ยวกับ JIBCHAIN  ซึ่ง JIBCHAIN เป็นบล็อกเชนที่เกิดจากการร่วมกันพัฒนาโดย JIB Computer Group ซึ่งนำโดยพี่จิ้บ สมยศ เชาวลิต และ Tokenine (พี่โดม เจริญยศ) ผู้พัฒนา JIB Blockchain เพื่อเปิดใช้งานในกลุ่มแวดวงบริษัทฯ  

ด้วยคำถามมากมายที่หลายคนสงสัย ในวันนี้ทาง Siam Blockchain จึงขอรับหน้าที่แทนเพื่อน ๆ ไปสัมภาษณ์ คุณโดม เจริญยศ นักพัฒนาบล็อกเชนชื่อดังในประเทศไทย ผู้ก่อตั้งและ CEO บริษัท โทเคไนน์ จำกัด (Tokenine) 

ในการสัมภาษณ์ครั้งนี้จะเป็นการสัมภาษณ์เกี่ยวกับความร่วมมือกันระหว่างคุณโดม เจริญยศ กับบริษัทที่เป็น Agent ของธนาคาร JDB ที่ชื่อ Tech Investment ซึ่งเป็นคน issue USDL บน JBC  รวมถึงภาพรวมของโปรเจกต์เหรียญ USDL ว่าคืออะไรกันแน่? กระบวนการออก USDL บน JIB Chain เป็นยังไง? และ มีคุณสมบัติอย่างไร?

Siam Blockchain: เหรียญ USDL แตกต่างกับเหรียญ Stable Coin อื่น ๆ ในตลาดอย่างไรบ้างคะ ?

คุณโดม เจริญยศ : ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่า เหรียญ USDL ไม่ได้แตกต่างจาก Stable coin ตัวอื่น ๆ และมันก็ไม่ใช่ Stable coin ที่ peg ด้วยเงินเฟียตหรืออะไรทั้งสิ้น แต่มันคือเหรียญ Stable coin ที่ peg ด้วย USDT 1:1 เลย 

โดยจะมีระบบที่เอา USDT มา Wrap ให้เป็น USDL 1:1 เลย หมายความว่า USDL จะไม่มีเหรียญเลย ถ้าใครอยากได้ USDL ก็เอา USDT มา Wrap หรือแลกให้เป็น USDL เสร็จแล้วเอา USDL ส่งเข้าหมายเลขบัญชีที่ Tech Investment ออกให้ ก็จะเกิดดอลลาร์ ในกระเป๋าของธนาคาร JDB แล้วสามารถเอาไปใช้ในบัตรเดบิตได้เลย 

Siam Blockchain :  กระบวนการออก USDL บน JIB Chain เป็นยังไงคะ ? 

คุณโดม เจริญยศ : กระบวนการออก USDL บน JIB Chain เป็นการใช้ USDT มา Wrap แล้วใครก็ตามที่มี USDL อยู่ในมือ เช่นบริษัท Tech Investment เองที่ได้เหรียญมาจากลูกค้าเยอะ ๆ Tech Investment จะรวบรวมออกมา แล้ว UnWrap  กลับไปเป็น USDT แล้วก็เอาไปขายในกระดานทั่วไป อย่าง binance, coinbase หรืออะไรก็ว่ากันไป เพราะฉะนั้นมันจะตรึงอยู่กับ USDT แบบ 1:1 ตลอดเวลาเลยครับ

Siam Blockchain :  บัตร VISA ที่รองรับเหรียญ USDL มีคุณสมบัติ อย่างไรบ้างคะ?

คุณโดม เจริญยศ : มันเป็นเหมือนบัตรเดบิตของธนาคารเลย เหมือนกับที่เวลาเราไปเปิดบัญชีธนาคาร เช่น kbank จะได้เลขบัตรมาเหมือนกันเลยครับ อันนี้เป็นฝั่งของธนาคาร JDB เลยครับ เป็นบัตรเดบิตวีซ่าปกติเลยครับ ใช้ได้ทั่วโลก ทั้งแบบออนไลน์ ออฟไลน์ได้หมด แบบบ้านเรา

Siam Blockchain :  บัตร VISA  มีแค่แบบเดียว หรือมีหลายแบบคะ ? 

คุณโดม เจริญยศ : เวลาที่ธนาคารออกบัตร เขาก็จะมีให้เลือกตามวงเงินปกติ แต่เป็นบัตรเดบิตนะครับ มีหลายแพคเกจแล้วแต่บัญชี มีให้เลือก อันนี้ต้องเป็นเรื่องของ Tech Investment ว่าจะเอาออกมากี่รูปแบบ  ช่วงเวลาการออกบัตร ก็น่าจะเริ่มเดือนหน้าที่ Tech Investment รับลูกค้า ซึ่งจะให้ไปเปิดบัญชีปกติ เสร็จแล้วก็เริ่มทดสอบ คือเอาเหรียญ disposit เข้าไปในกระเป๋า

Siam Blockchain : ธนาคาร JDB มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างไรในโปรเจกต์เหรียญ Stable Coin USDL ในเรื่องของบัตรเดบิตวีซ่า แล้วนอกจากนี้มีเรื่องอื่นอีกไหมคะ?

คุณโดม เจริญยศ : ธนาคาร JDB เป็นธนาคาร ก็อาจจะดีกว่าของประเทศไทย ตรงที่ว่า เขา Regulate คริปโตด้วยแบงค์ชาติ โดยธนาคาร JDB มีแผนการที่จะทำหลายอย่างบน chain เช่น พวกระบบรีวอร์ตก็มีแผนที่จะทำ แต่ยังไม่ชัดเจนนะครับ 

เพียงแต่ว่า อันที่เริ่มก่อนคือ บัตรที่มันเป็น USDL ของ Tech Investment ที่เป็น Agent ไม่ได้ตรงไปที่ธนาคาร JDB นะครับ หมายความว่า ธนาคาร JDB เขามี License ธนาคาร ที่แต่งตั้งบริษัทที่เป็น Agent ของเขาไปดูแลลูกค้า แต่ Tech Investment จะเป็นคนออก USDL บน jib chain ส่วนเรื่องอื่นก็เรื่องคะแนน อาจจะมีบน Chain บ้าง แต่ว่าก็ยังเป็นเหมือนในประเทศไทย ในฝั่งที่เป็น core  banking ก็ยังไม่ได้ยุ่งอะไรกับ blockchain ครับ เป็นปกติดี

Siam Blockchain : คิดว่าการชักชวนกับทางธนาคาร JDB ในครั้งนี้ จะประสบความสำเร็จ มากน้อยแค่ไหนคะ ?

คุณโดม เจริญยศ : คิดว่ามันเป็นทางออกที่ดี คือถ้ามองในมุมของธนาคาร ตั้งอยู่ที่ประเทศลาว  เวลาที่ลูกค้าจะเอาเงินไปเปิดบัญชี มันเปิดได้ เหมือนเวลาที่เราไปเปิดที่สิงคโปร์ แต่ความยุ่งยาก ซับซ้อน อาจจะน้อยกว่า เพราะฉะนั้นคนไทยหรือต่างชาติก็สามารถไปเปิดบัญชีธนาคาร JDB ได้

หลังจากเปิดบัญชีแล้ว มีบัตรเดบิต สามารถใช้ได้ทั่วโลก ตอนจะเอาเงินโอนเข้าไป เวลาโอนเข้าไปแบบ switch Cross-Border มันก็ไม่ได้ง่ายนะ เวลาโอนไปก็วุ่นวายพอสมควร เพราะฉะนั้นการที่ทดสอบรองรับ USDL มันน่าจะทำให้มีกลุ่มลูกค้าที่เปิดบัญชีแล้วต้องการใช้เงินเฟียต เงินดอลลาร์นี่แหละ ที่เอาคริปโตเข้าไป disposit พี่ว่ามันน่าจะ popular พอสมควร

ซึ่งคนที่จะเป็นลูกค้ากลุ่มใหญ่เขาน่าจะเป็นคนไทย ที่เป็นสายคริปโต คือทุกวันนี้เราจะไปขายเหรียญเสร็จแล้ว ถอนเข้าบัญชีธนาคาร คนไทยก็อาจจะกังวลเรื่องภาษีเงินได้แต่ว่าการที่เราถือคริปโตอยู่ แล้วมันข้ามไปเข้าธนาคารต่างประเทศเลย แล้วใช้บัตรได้เลย มันก็อาจจะทำให้คนในกลุ่มคริปโตบางกลุ่มสนใจที่จะใช้มัน 

แล้วมันอยู่ใกล้เรา มันไม่อยู่ไกลเหมือนสิงค์โปร์ ไม่ได้เปิดยากอะไร พี่ว่าน่าจะมีกลุ่มลูกค้ากลุ่มใหญ่เลยแหละ คือสายคริปโตก็ไม่เล็กนะ จำนวนเป็นล้านคน ดูจากของ bitkub ซึ่งอาจจะมีลูกค้าบางกลุ่มที่คิดว่า เมื่อเรามีเหรียญอยู่แล้ว เราไม่ต้องขายเงินบาทในไทย เราก็ส่ง disposit เข้าไป แล้วก็ใช้บัตรแทน น่าจะ popular  ในความคิดพี่นะ

Siam Blockchain :  เราสามารถสมัครจากในประเทศไทยได้ไหมคะ?

คุณโดม เจริญยศ :  เขาก็มีขั้นตอน KYC ของเขาปกติ หมายความว่า มันก็จะมีระเบียบการสมัครใช้งานของเขา เข้าใจว่าเปิดออนไลน์ได้ด้วย แต่ว่าทุกวันนี้ที่พี่ข้ามไปประเทศลาว พี่ก็เปิดบัญชี คือพอเราไปถึง เราเปิดบัญชีได้เลยในประเทศลาว เดินไปถึงสาขาไหนของธนาคาร JDB ก็ตาม เปิดบัญชีต่างชาติ มีพาสสปอตใบเดียว แล้วก็เปิดบัญชีได้เลย 3 สกุลเงินด้วยกัน คือ ดอลลาร์ บาท แล้วก็กีบ 

KYC ยังไง ถ้าตอนที่เราไปเที่ยวลาวแล้วไปเปิดบัญชี จากนั้นรอรับบัตรที่บ้าน ให้เขาส่งบัตรมาให้ คือเมื่อเปิดบัญชีก็จะได้บัตร ต้องโหลดแอปตัวนึงชื่อ “JDB Yes”  เป็นแอปของธนาคาร JDB คล้าย ๆ แอป kplus แล้วก็ได้บัตรส่งมาที่บ้าน เพราะฉะนั้นเรื่องเปิดออนไลน์พี่ไม่ชัวร์ แต่ว่าคนที่ข้ามไปที่เวียงจันทร์ แล้วก็เปิดก็สามารถใช้ได้เลย มาเปิดบัญชีผ่าน Agent ของ Tech Investment ก็จะได้ทั้งกระเป๋าคริปโต ได้ทั้งบัญชีธนาคารครับ

Siam Blockchain :  โปรเจกต์เหรียญ USDL จะเปิดตัวประมาณวันไหนคะ?

คุณโดม เจริญยศ :  จริง ๆ มันเป็นของ Tech Investment เพราะฉะนั้นเขาก็คงจะเป็นคนที่ issue เหรียญ USDL บน JBC (JIB Chain) แล้วก็ทดสอบระบบตั้งแต่เดือนหน้า แต่ว่า Tech Investment ต้องเตรียมในส่วนของฝั่งเขา ซึ่งเหรียญก็คงจะ issue ไม่ยาก เพราะว่ามันเป็นคอนแทคที่มันไม่ต้องกังวลอะไร มัน disposit แล้วมันก็ peg USDT แล้วกลายเป็น USDL ซึ่งฝั่ง Tech Investment จะต้องเคลียระบบก่อน

ด้วยความที่ว่ามันใกล้กัน ภาษามันก็ใกล้กัน พี่คิดว่าเขาน่าจะทำตลาดซักเดือนหน้า 

สรุป

คุณโดมอธิบายเรื่อง Tech Investment โดยเริ่มเล่าว่า ธนาคาร JDB เป็นธนาคารอันดับที่ 2 ของประเทศลาว ซึ่งมีบริษัทในเครือที่ได้ Exchange License คริปโตอย่างถูกต้อง ดังนั้นในประเทศลาวจึง Regulase คริปโต ด้วยแบงค์ชาติลาว ซึ่งแตกต่างจากประเทศไทย เนื่องจากในประเทศไทย ใช้ ก.ล.ต. เป็นตัวควบคุมดูแลคริปโต โดยแบงค์ชาติจะเป็นคนควบคุมดูแลธนาคาร 

ในประเทศลาว แบงค์ชาติของลาว จะดูแลทั้ง 2 เรื่อง ได้แก่เรื่องธนาคาร เรื่องเงิน และเรื่องคริปโต  ส่วนธนาคาร JDB มีบริษัทที่เป็น Agent เหมือนเป็นตัวแทนของธนาคาร JDB บริษัทนี้ชื่อ Tech Investment  โดยบริษัท Tech Investment มีสิทธิ์ที่จะเปิดบัญชีธนาคารให้กับบุคคลทั่วไป ทั้งชาวต่างชาติ เช่นคนไทยหรือคนลาว

เมื่อมาเปิดบัญชีที่ Tech Investment  ก็จะสามารถเปิดบัญชีธนาคาร JDB พร้อมทั้งได้บัตรเดบิตวีซ่า เหมือนกับของประเทศไทยที่มี ATM ในบัตรเดบิตวีซ่า เนื่องจากในเครือของ Tech Investment  มีคริปโตอยู่ด้วย จึงมีบริการเพิ่มขึ้น ให้คนสามารถ disposit คริปโตเข้าไป แล้วก็ขายเป็นดอลลาร์เข้าบัญชีธนาคาร เสร็จแล้วจากนั้นก็สามารถใช้งานบัตรเดบิตวีซ่าได้เลย

ซึ่งคุณโดม เจริญยศ เป็นคนทำ jib chain (JBC) ได้ไปเสนอ solution ให้กับทาง Tech Investment ที่เป็น Agent ของธนาคาร JDB  เนื่องจากโดยปกติ Tech Investment ไม่ได้เป็น Exchange จึงไม่อยากรับเหรียญทั่วไป อย่างเหรียญที่เป็นดอลลาร์ Tech Investment อยากจะรับเหรียญเดียวที่เป็น Stable Coin ที่สามารถเอาไปขาย แล้วเอาเงินมา disposit ให้ลูกค้า คุณโดมเลยเสนอกับทาง Tech Investment ว่า ให้มาใช้ jib chain โดยให้ทาง Tech Investment ออก Stable Coin ตัวหนึ่งที่ชื่อ USDL เหรียญเดียว เพื่อความง่ายในการ Integrated ระบบ หมายความว่า สมมติลูกค้าเปิดบัญชีธนาคารผ่าน Tech Investment ลูกค้าก็จะได้บัตรเดบิตมา 1 ใบ จะได้บัญชีธนาคาร และหมายเลขกระเป๋าเงินประจำตัว คือ Tech Investment จะเปิดบัญชีกระเป๋าเงินให้ พร้อมทั้งมีหมายเลขกระเป๋าเงินประจำตัว 

เมื่อเวลาต้องการบอกให้คนโอนเงินมาให้ ปกติสามารถบอกเป็นหมายเลขพร้อมเพย์หรือเลขบัญชีธนาคาร แต่ของ Tech Investment ถ้าจะรับโอนเงินเป็นดอลลาร์ ก็บอกบัญชีธนาคารของ JBD ได้ แต่ถ้าหากอยากจะรับคริปโต ก็บอกหมายเลขกระเป๋าเงินประจำตัว ที่ Tech Investment ออกให้ได้เลย ซึ่งหมายเลขกระเป๋าเงิน ถ้ารับหลายเหรียญจะวุ่นวายมากในการ disposit เงิน คุณโดม เจริญยศจึงไปเสนอให้ออก USDL บนบล็อกเชนของ jib chain นั่นเอง  

ที่มาภาพ : Facebook