<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

5 สิ่งที่อาจตามมาหากธนาคารแห่งประเทศไทยทำให้ Bitcoin ถูกกฏหมาย

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ปี 2017 ถือเป็นปีแห่ง Bitcoin ที่ทุกๆคนรู้กันดีว่าตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 มกราคมที่ผ่านมานั้นราคาของ Bitcoin ก็ได้ทำการแตะระดับ 1,000 ดอลลาร์แน่นอนว่าการสูงขึ้นของราคาก็ย่อมดึงดูดให้ทั้งนักลงทุนและกลุ่มคนทั่วๆไปที่อยากจะแสวงหาสิ่งที่เรียกว่า ‘รวยทางลัด’ ให้กระโดดเข้ามาลงทุนในเจ้าเหรียญตัวนี้ โดยความนิยมของมันได้ส่งผลให้ทั้งรัฐบาลญี่ปุ่นและรัฐบาลออสเตรเลียถึงกับต้องหันมาสร้างกฎหมายเพื่อพยายามควบคุมเจ้าเหรียญตัวนี้ ซึ่งในแต่ละประเทศนั้นก็มีวิธีการของตัวเองต่างกันไป แต่สิ่งที่น่าสนใจไปกว่านั้นคือ การประกาศของทางธนาคารแห่งประเทศไทยที่บอกว่ากำลังศึกษา Bitcoin และอาจจะรับไว้พิจารณาว่าจะทำให้มันถูกกฎหมายหรือไม่ โดยการออกมากล่าวในครั้งนี้อาจสร้างความไม่พอใจให้กับผู้ใช้งานบิทคอยน์ในไทยหลายๆคนเพราะเรื่องที่ว่าด้วยแนวคิดและคอนเซปต์ของบิทคอยน์ที่ไม่ขึ้นตรงกับใคร และไม่มีใครมาเป็นเจ้าของมันได้ กระนั้น มันอาจจะไม่ได้มีแต่ผลลัพธ์ที่แย่เสมอไป สยามบล็อกเชนได้ลองวิเคราะห์ถึง 5 ผลกระทบที่อาจตามมาหากรัฐบาลไทยได้ทำให้ Bitcoin ถูกกฏหมายจริงๆ

ผู้ใช้งานบิทคอยน์ที่จะมีมากขึ้น

เป็นที่แน่นอนอย่างเห็นๆกันอยู่แล้วถ้าหากทางภาครัฐจะลงทุนทำให้ Bitcoin ถูกกฎหมายขึ้นมาจริงๆ สิ่งนี้จะส่งผลให้ผู้คนในประเทศไทยอีกหลายๆคนทั้งที่เคยรู้จัก Bitcoin แต่ยังมีอคติและยังไม่รู้จักต้องหันกลับมามอง Bitcoin ใหม่ ก่อนหน้านี้ทางเราเชื่อว่าสาเหตุที่คนหลายๆคนยังมีอคตินั้นหลักๆเป็นเพราะ Bitcoin นั้นเข้าใจยาก ราคามีความผันผวนสูง และไม่สามารถจับต้องได้ อีกทั้งยังมีวงการแชร์ลูกโซ่หลอกลวงที่เคยพาดพิงเอา Bitcoin เข้าไปร่วมด้วยจนส่งผลให้ผู้คนเข้าใจผิดคิดว่าเป็นตัวเดียวกันจนทำให้หลายๆคนกลัว Bitcoin

อาจจะมีผู้คนเป็นจำนวนมากที่คลายข้อสงสัยเกี่ยวกับสถานะของ Bitcoin และหันเข้ามาศึกษาและใช้งานอย่างจริงจัง

ภาคร้านค้าและธุรกิจท้องถิ่นเป็นจำนวนมากจะหันมารับบิทคอยน์เป็นอีกหนึ่งช่องทางการใช้จ่าย

เมื่อผู้ใช้งานมากขึ้น ร้านค้าเองก็ต้องปรับตัวตาม อีกทั้งอาจจะมีธุรกิจแบบใหม่ประเภท “ผู้ให้บริการติดตั้งระบบจ่ายเงินด้วยบิทคอยน์สำหรับร้านค้า” โผล่ขึ้นมาเป็นดอกเห็ดในประเทศไทย และพวกเขาก็จะห้ำหั่นกันด้วยโปรโมชั่นสุดเด็ดที่จะดึงดูดร้านค้าปลีกย่อยให้มาเข้าร่วมรายการ โดยอาจมีแม้กระทั่ง 7-11 ที่อาจเข้าร่วมด้วยเช่นกัน นั่นจะเป็นสิ่งที่ต้องตาและต้องใจผู้ประกอบการร้านค้าจนต้องทำให้พวกเขาแห่กันมารับ Bitcoin เป็นอีกหนึ่งช่องทางการใช้จ่ายถ้าหากมันถูกทำให้ถูกกฎหมายขึ้นมาจริงๆ เหมือนกับในประเทศญี่ปุ่นที่มีการคาดการว่าอาจมีร้านค้าที่รับบิทคอยน์เพิ่มขึ้นถึง 3 แสนร้านภายในสิ้นปีนี้ภายหลังจากการทำให้ Bitcoi ถูกกฎหมายแล้ว

เว็บเทรดเหรีญคริปโตจะเข้าคิวต่อกันมาเปิดให้บริการ

แน่นอน ว่าเมื่อตลาดนั้นบูมขึ้นมา ก็จะทำให้มีนักลงทุนหน้าใหม่ที่ไม่อยากจะพลาดรถไฟขบวนนี้ ทั้งในและนอกประเทศกระโดดเข้ามาเปิดให้บริการเว็บเทรดในประเทศไทย น้อยคนนั้นจะรู้ว่าเม็ดเงินทั้งเงินจริงและเงินดิจิตอลที่มีหมุนเวียนอยู่ในเว็บเทรดในประเทศไทยนั้นมีมูลค่าสูงถึงหลายร้อยล้านบาท นั่นหมายความว่าในอนาคตเราอาจจะได้เห็นเว็บกระดานเทรดเหรียญสัญชาติไทยหน้าใหม่ออกมาเปิดให้บริการนอกเหนือจากเว็บ Bx.in.th ที่มีอยู่แค่เว็บเดียวในปัจจุบันก็เป็นได้

ราคาจะพุ่งสูงขึ้น

ข่าวนี้อาจจะแพร่กระจายไปทั่วโลกเหมือนกับคราวของประเทศญี่ปุ่น แต่อาจจะทวีคูณเป็นหลายเท่าเนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศศูนย์กลางในกลุ่มอาเซียน อีกทั้งยังมีค่าครองชีพที่ต่ำจนอาจต้องดึงดูดให้นักลงทุนนอกประเทศอาจเกิดอาการ “ตื่นเต้น” เมื่อได้รับรู้ถึงการทำให้ถูกกฏหมายของ Bitcoin ในประเทศไทย

ประเทศไทยถูกจัดให้เป็นอันดับ 7 ในหัวข้อ “ประเทศที่น่าลงทุนมากที่สุด” โดย US News ซึ่งก็แน่นอนว่าหลังจาก Bitcoin ถูกทำให้ถูกกฎหมายแล้วนั้น ก็จะมีนักลงทุนชาวต่างชาติจากหลายๆประเทศกระโดดเข้ามาลงทุนในประเทศไทย ซึ่งนั่นจะส่งผลให้มีเม็ดเงินจำนวนมหาศาลไหลเข้าประเทศ และจะผลักดันราคาของ Bitcoin สูงขึ้นไปอีก

อาจมีการเก็บภาษีเหรียญดิจิตอล และมีการตรวจสอบยืนยันตัวผู้ใช้งานที่เข้มงวดมากขึ้น

เมื่อรัฐบาลทำให้ Bitcoin ถูกกฎหมาย นั่นหมายถึงพวกเขาต้องการที่จะเข้ามาควบคุมและดูแลจัดการสิ่งนั้นๆด้วยตัวเอง โดยนั่นยังหมายถึงการจำกัดอิสรภาพบางส่วนไปเพื่อให้แลกมาด้วยซึ่งสิ่งที่รียกว่า “กฎหมายที่ช่วยคุ้มครอง” และ “กฎเกณฑ์” สำหรับคนหมู่มาก

ธนาคารกลางแห่งประเทศจีนเคยเข้าตรวจค้น เว็บเทรด Bitcoin ในจีนเมื่อหลายเดือนที่แล้ว จนส่งผลให้เว็บเทรดทั้งหมดต้องประกาศยกเลิกการให้บริการถอนเงินเพื่อปรับเปลี่ยนกฎระเบียบของทางเว็บเทรดใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายป้องกันการฟอกเงินและสิทธิผู้บริโภค

นั่นหมายถึงการยืนยันตัวตนผ่านเว็บผู้ให้บริการแลกเปลี่ยนบิทคอยน์ที่อาจมีความยุ่งยากและซับซ้อนมากขึ้น พร้อมทั้งการเก็บข้อมูลที่ละเอียดของผู้บริโภคอาทิเช่นจุดประสงค์ในการใช้ บิทคอยน์, ที่มาของแหล่งรายได้ และการถ่ายวีดีโอและถามคำถาม เป็นต้น

รัฐบาลอาจมีการขึ้นทะเบียนเว็บผู้ให้บริการเทรดเหรียญคริปโตและบังคับให้เว็บเหล่านั้นเก็บข้อมูลผู้บริโภคอย่างเข้มงวด อีกทั้งอาจจะทำการเก็บภาษีทั้งหมดผ่านเว็บผู้ให้บริการเหล่านี้ จนส่งผลให้ทางเว็บเทรดต้องมาชาร์จค่าธรรมเนียมและภาษีเพิ่มกับผู้บริโภคเอาเอง

อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นแค่การวิเคราะห์เท่านั้น โดยในอนาคตรัฐอาจจะพิจารณาไม่ทำให้ถูกกฎหมายก็เป็นได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของธนาคารแห่งประเทศไทยว่าจะนำเอาเทคโนโลยีนี้มาสานต่อให้เป็นที่นิยมในประเทศไทยหรือไม่ ล่าสุดทางธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกมากล่าวว่าพวกเขากำลังศึกษาข้อดีและข้อเสียของ Bitcoin อยู่ ดังนั้นโอกาสที่เป็นไปได้อาจเป็น 50/50

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น