<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

คริปโตเคอเรนซี่: อนาคตการชำระเงินยุคใหม่ ไร้ตัวกลาง ค่าธรรมเนียมต่ำติดดิน

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

เงินถือเป็นปัจจัยสี่และเป็นตัวกลางสำหรับการซื้อขายทุกสิ่งทุกอย่างตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน เป็นปัจจัยที่สำคัญที่ใช้ในการดำรงชีวิต

ต้องยอมรับว่า วิวัฒนาการการชำระเงินเกิดขึ้นอยู่แทบจะตลอดเวลา ซึ่งถ้าหากถามถึงพฤติกรรมผู้ใช้งานอาจจะมีมุมมองที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับวัย เพราะว่าการเงินในแต่ยุคแต่ละสมัยจะมีความเป็นเฉพาะตัวอย่างมาก ซึ่งถ้าเราย้อนเวลากลับไปในช่วงหลาย 10 ปีก่อน เราน่าจะคุ้นชินกับการทำธุรกรรมทางการเงินในรูปแบบของแลกเปลี่ยนผ่านมือกัน เช่น เวลาไปตลาดการซื้อขายก็จะเป็นในลักษณะที่ผู้ซื้อจ่ายเงินให้กับผู้ขาย เป็นต้น

หลังจากนั้นไม่นานวิวัฒนาการของการชำระเงินก็เริ่มเปลี่ยนแปลงไปตามยุคตามสมัยและตามปัจจัยแวดล้อมที่เป็นตัวกระตุ้น ซึ่งสุดท้ายแล้วถ้าถามว่า การใช้เงินที่คุ้นชินที่สุดของคนเราก็น่าจะยังคงเป็นเรื่องการถือเงินสดเพื่อเดินไปซื้อสินค้า

วิวัฒนาการการชำระเงิน

ยุคแลกเปลี่ยนสิ่งของ นับว่าเป็นเริ่มต้นจากความต้องสิ่งของเครื่องใช้และปัจจัยอื่นๆ ที่จำเป็นของมนุษย์ เพราะสิ่งของบางอย่างมนุษย์ไม่สามารถผลิตเองได้ทั้งหมด หรือผลิตเองได้แต่ถ้ามีมากเกินความจำเป็น ก็สามารถนำของที่ตนมีอยู่ไปแลกเปลี่ยนกับบุคคลอื่นที่มีความต้องการ

เหรียญ และ ธนบัตร การใช้เหรียญกษาปณ์แบบสากลนิยมเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 4 ก่อนที่ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการออกใช้ธนบัตรอย่างเป็นทางการ ทั้งเหรียญและธนบัตรนับว่าเป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้แลกเปลี่ยนสิ่งของที่ต้องการจนชินมือมาตลอด จนถึงยุคปัจจุบัน

ใบสั่งจ่ายเงิน หรือ เช็ค แม้ว่าการใช้เหรียญหรือธนบัตรจะเป็นที่นิยม แต่สุดท้ายการจ่ายเงินจำนวนมากๆ ในหนึ่งครั้งก็ไม่ใช่เรื่องที่ดีเพราะมีความเสี่ยง จึงเกิดใบสั่งจ่ายเงิน หรือ เช็คขึ้น ซึ่งมันคือตราสารที่บุคคลห

นึ่งเรียกว่าผู้สั่งจ่าย สั่งให้ธนาคารจ่ายเงินจำนวนหนึ่งให้แก่อีกบุคคลหนึ่ง

บัตรอิเล็กทรอนิกส์ เหล่าบรรดาบัตรเครดิต บัตรเดบิต บัตรเอทีเอ็ม นับว่าเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่อำนวยความสะดวกในการชำระเงิน ตามการใช้งานของบัตรแต่ละประเภท ซึ่งเป็นหนึ่งนวัตกรรมที่เข้ามาสร้างความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้งาน

จ่ายผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นช่องทางที่ตัดข้อจำกัดเดิมๆ ออกไป เพราะมันสามารถทำให้ชำระค่าสินค้าและบริการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ 

จ่ายผ่านโทรศัพท์มือถือ เป็นการทำธุรกรรมอย่างการชำระเงินผ่านเครือข่ายของระบบโทรศัพท์มือถือโดยใช้โทรศัพท์มือถือเป็นสื่อในการโอนเงิน หรือชำระเงินให้แก่ร้านค้า รวมทั้งการชำระค่าสินค้าและบริการต่างๆ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

หลักจากนั้นไม่นานการชำระเงินรูปแบบใหม่ๆ ก็เกิดขึ้น อย่างการชำระเงินผ่านพร้อมเพย์ หรือ QRcode ที่สร้างขึ้นเพื่อพาประเทศไทยเข้าสู่สังคมไร้เงินสดอย่างแท้จริง แต่อย่างไรก็ตามวิวัฒนาการด้านการชำระเงินในประเทศไทยอาจจะเป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นเท่านั้น เพราะมีบางประเทศได้พัฒนาการชำระเงินไปอย่างสุดล้ำ อย่างประเทศจีนที่มีการชำระเงินผ่านการสแกนใบหน้า

ชำระเงินด้วยเทคโนโลยี Blockchain

Cryptocurrency ที่เราคุ้นเคยกันดีหลายคนรู้อยู่แล้วว่าเบื้องหลังของมันคือเทคโนโลยี Blockchain ซึ่ง เทคโนโลยี Blockchain เป็นเทคโนโลยีที่ถูกคาดว่าจะมาเปลี่ยนแปลงโลก ซึ่งอาจจะหมายถึงการที่สามารถพลิกโฉมวงการธุรกิจหลายธุรกิจได้ เพื่อก้าวผ่านเข้าสู่ยุคใหม่ เช่นเดียวกับในอดีตอย่าง Internet Technology และ Social Media  

Blockchain เป็นเทคโนโลยีเก็บข้อมูลแบบกระจายหลายที่ ทำให้เกิดความปลอดภัยสูง จึงทำให้มีแผนถูกนำไปใช้ในหลายอุตสาหกรรม และแน่นอนว่าจุดเด่นที่ทุกคนทราบกันดีของ Blockchain คือการตรวจสอบความเคลื่อนไหว ซึ่งมันทำให้ทุกคนได้รับรู้ข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงได้อย่างโปร่งใส จึงทำให้เทคโนโลยีดังกล่าวเหมาะสมกับระบบการโอนเงิน

ข้อดีสำหรับการโอนเงินผ่านระบบเทคโนโลยี Blockchain คือ ความโปร่งใสของการโอนเงินที่สามารถตรวจสอบได้อย่างแม่นยำ เพราะการโอนเงินผ่านระบบดังกล่าวนั้นไม่สามารถทำการแก้ไขข้อมูลทีหลังได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีที่จะทำให้ผู้รับเงินสามารถรู้ได้ทันทีว่าฝั่งตรงข้ามโอนเงินมาในจำนวนเท่าไหร่ และยังย่นระยะเวลาการทำธุรกรรมให้เร็วขึ้นได้อีกด้วย

ข้อเสีย เทคโนโลยีดังกล่าวแม้จะมีมายาวนานแล้วแต่การยอมรับของคนทั่วไปอาจจะยังไม่ได้ยอมรับเทคโนโลยีนี้อย่าง 100% ซึ่งอาจจะต้องใช้ระยะเวลาในการทำความเข้าใจก่อน คล้ายๆ กับวันที่อินเทอร์เน็ตเข้ามามีอิทธิพลกับชีวิตของเรา ตอนนั้นหลายคนลังเลที่จะเข้าไปหรือไม่ แต่สุดท้ายมันก็เป็นสิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้และอยู่กับมันมาจนถึงปัจจุบัน

ธนาคารในไทยเริ่มใช้ Blockchain

ก่อนหน้านี้มีข่าวรายงานที่ระบุว่า ธนาคารในประเทศไทยเริ่มดึงเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ Blockchain เข้ามาเสริมเป็นบริการให้กับประชาชนที่ต้องการโอนเงินไปต่างประเทศ เพื่อให้การโอนเงินนั้นสะดวก รวดเร็วและประหยัดต้นทุน

โดยเมื่อช่วงเดือนมิถุนายน ปี 2017 ที่ผ่านมา ธนาคารไทยพาณิชย์ประกาศเปิดตัวระบบโอนเงินระหว่างประเทศไทยและญี่ปุ่น โดยใช้ Blockchain ของ Ripple ภายใต้ความช่วยเหลือจาก SBI Remit จากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งระบบดังกล่าวนี้ ทางธนาคารเคลมว่าสามารถทำให้การส่งเงินหากันใช้เวลาเพียงแค่ 20 นาทีเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามค่าธรรมเนียมในการโอนยังไม่ถูกเปิดเผยออกมาก็ตาม และหลังจากนั้นธนาคารไทยพาณิชย์ก็ได้ประกาศเพิ่มสกุลเงินยูโรและเงินปอนด์บนแพลตฟอร์มโอนเงินผ่าน Blockchain ของ Ripple

และล่าสุดเมื่อเร็วๆ นี้ ทางธนาคารไทยพาณิชย์เตรียมใช้เทคโนโลยี ‘multi-hop’ ของ Ripple เพื่อลดระยะเวลาการโอนเงินต่างประเทศ พร้อมตัดค่าธรรมเนียม เนื่องจากระบบ multi-hop นั้นจะช่วยให้ลูกค้าของภาคธุรกิจแน่ใจว่าธุรกรรมที่พวกเขาทำมีความโปร่งใสมากขึ้น และเร็วขึ้น รวมถึงมีค่าธรรมเนียมที่ต่ำลงอีกด้วย

ขณะที่ธนาคารกรุงศรีอยุธยาเองก็ได้ออกมาประกาศเมื่อช่วงเดือนมีนาคมปี 2018 ที่ผ่านมาว่า พวกเขาประสบความสำเร็จในการนำร่องการโอนเงินระหว่างประเทศแบบเรียลไทม์ ระหว่างไทย-สิงคโปร์ ด้วยเทคโนโลยีของ Interledger เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งก่อนหน้านั้นช่วงปลายปี 2017 ทางธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) ได้เข้าร่วมกับทาง RippleNet เพื่อช่วยบริษัทปิโตรเคมีด้านการโอนเงินระหว่างประเทศผ่านระบบ Blockchain ของ Ripple

แบงก์ชาติทดลองโอนเงินดิจิทัลระหว่างธนาคาร

สำหรับโครงการอินทนนท์ที่เชื่อว่าหลายคนเคยได้ยินเป็นอย่างดีนั้น เป็นอีกหนึ่งโครงการที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. พยายามที่จะผลักดันโปรเจกต์อินทนนท์ ล่าสุดร่วมมือกับธนาคารพาณิชย์ 8 แห่ง ทดสอบการโอนเงินระหว่างกันโดยใช้เงินดิจิทัล ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบการนำเทคโนโลยีการประมวลผลแบบกระจายศูนย์ (Distributed Ledger Technology: DLT) มาใช้เพิ่มประสิทธิภาพของโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินไทย

หากอนาคตโปรเจกต์อินทนนท์ใช้งานได้จริงทั้งในภาคธนาคารและภาคประชาชนอาจจะเป็นหนึ่งบริการที่เข้ามาสร้างความสะดวกให้กับประชาชนในอนาคตก็เป็นได้

บนโลกความเป็นจริง

เมื่อเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว วิวัฒนาการทางการเงินจึงต้องปรับตัวตาม จากการใช้เหรียญใช้ธนบัตร สู่ยุคที่ใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ในการชำระ จนกระทั่งการจ่ายเงินผ่านอินเทอร์เน็ตหรือมือถือ ก่อนที่จะเป็นยุคปัจจุบันที่ชำระเงินผ่านการสแกน QRCode เป็นต้น อนาคตโลกของการเงินยังคงต้องปรับตัวอย่างมากเพื่อต่อกรกับเทคโนโลยีอย่าง Blockchain หรือ Cryptocurency เพราะเทคโนโลยีตัวนี้เป็นเทคโนโลยีที่หลายคนเชื่อว่าจะเข้ามา Disrupt อุตสาหกรรมทางการเงิน หากอุตสาหกรรมทางการในอนาคตไม่ปรับตัว

แม้ว่าธนาคารหลายแห่งในประเทศไทยจะพยายามปรับตัวเพื่อความอยู่รอด ด้วยการออกบริการธุรกรรมทางการเงินที่อำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งานแม้นั้นจะเป็นแนวทางที่ทำให้รายได้ของธนาคารหายไปก็ตาม แต่อย่างน้อยนั้นคือการปรับตัวของธนาคารเพื่อดึงผู้ใช้งานให้ยังคงอยู่ก่อนที่ในอนาคตแพลตฟอร์มขนาดใหญ่ หรือ เทคโนโลยีใหม่จะเข้ามา disrupt วงการแบงก์ไทย

สรุป

พฤติกรรมผู้บริโภคนั้นเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาขึ้นอยู่กับความสะดวกของผู้ใช้งาน ผู้บริโภคบางคนอาจอาจจะสะดวกที่จะใช้จ่ายเงิน หรือ รับเงินผ่านบริการพร้อมเพย์ , QRCode ในขณะที่ผู้บริโภคบางกลุ่มอาจสะดวกกับการใช้งานผ่านบัตรเครดิต บัตรเดบิต แต่สุดท้ายแล้วผู้บริโภคหรือผู้ค้าบางรายก็ยังต้องการชำระเงินเป็นเงินสดอยู่ดี แต่หากในวันที่เทคโนโลยีรุกล้ำเข้ามาใกล้ตัวมากขึ้น การชำระเงินรูปแบบเก่าๆ อาจจะถูก Disrupt ไปก็เป็นได้ เพราะเทคโนโลยีเป็นสิ่งที่เราหลีกหนีไม่ได้ ดังนั้นการชำระเงินยุคใหม่อย่างการชำระผ่าน Cryptocurrency หรือ Blockchain ที่กำลังมานั้นก็คงเป็นสิ่งที่คนทั่วไปหนีไม่พ้นอยู่ดี  

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น