<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

ทำไมผู้ใช้ Bitcoin ในไทยอาจไม่ได้รับผลกระทบจากกฎใหม่ที่ตรวจสอบเงินโอนต่างประเทศเกิน 5 หมื่น

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ล่าสุดกฎหมายใหม่ได้รับการลงมติเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้วโดยจะมีการปรับแก้หลักเกณฑ์การตรวจสอบ ให้มีการตรวจสอบลูกค้าที่มีการโอนเงินกว่า 50,000 บาทข้ามประเทศทุกราย เพื่อป้องกันการฟอกเงินเข้มงวดมากยิ่งขึ้นและเพื่อยกระดับกฎหมายไทยให้ทัดเทียมกับมาตรฐานนานาชาติ

โดยภาพรวมแล้วกฎหมายเกี่ยวกับการตรวจสอบลูกค้าของไทยนั้นยังไม่ครอบคลุมเพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นเรื่องการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ข้ามประเทศ กฎหมายใหม่ที่จะออกมาบังคับใช้จึงได้วางหลักเกณฑ์ว่าหากมีการโอนเงินข้ามประเทศทางอิเล็กโทรนิกส์ที่มีมูลค่า 5 หมื่นขึ้นไป สถาบันการเงินผู้โอนและผู้รับโอนจะต้องรายงานข้อมูลผู้โอนและผู้รับโอน พร้อมคำสั่งโอนเงินด้วยซึ่งต้องมีข้อมูลของทั้งสองฝ่าย แต่ไม่ได้มีการระบุถึงการใช้คริปโตเคอร์เรนซีในการโอนเงิน

Blockchain สร้างความเป็นส่วนตัวให้กับผู้ใช้งาน

จะเห็นได้ว่ากฎหมายใหม่ที่หากมีการโอนเงินข้ามประเทศเกิน 5 หมื่นบาทจะถูกตรวจสอบ ซึ่งมองในข้อดีคือมันอาจจะช่วยป้องกันการฟอกเงินได้ส่วนหนึ่ง เพราะมีการตรวจแหล่งที่มาของเงิน และแหล่งปลายทางของเงินอย่างชัดเจนว่ามีการโอนไปให้ใคร เท่ากับว่าผู้ใช้งานจะถูกตรวจสอบอย่างเข้มงวดขึ้นมากกว่าเดิม

หากมองอีกแง่หนึ่ง ผู้ใช้งานบางรายอาจจะรู้สึกว่านี่คือการล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคล และด้วยเหตุผลนี้จึงทำให้พวกเขาหาทางเลือกอีกทางในการโอนเงินข้ามประเทศก็คือการใช้ Cryptocurrency

การใช้ Cryptocurrency เป็นเครื่องมือในการโอนเงิน เช่น Bitcoin นั้น แม้ว่าจะไม่ได้มีความเป็นส่วนตัวเสียซะ 100% แต่มันก็มีความสะดวกรวดเร็วกว่าการโอนเงินตามทางปกติ อีกทั้งมันไม่มีศูนย์กลาง จึงไม่ต้องห่วงประเด็นเรื่องการแทรกแซงข้อมูลจากภาครัฐแน่นอน ทั้งค่าธรรมเนียมที่ต่ำ ไม่แปลกใจเลยหากผู้คนจะหันมาใช้ Bitcoin แทนการโอนเงินผ่านทางธนาคาร

มิจฉาชีพก็ใช้คริปโตด้วย

อย่างไรก็ตามการใช้ Bitcoin โอนเงินแทนการโอนปกติมันก็มีข้อเสียตรงที่ว่าอาจจะมีผู้มีเจตนาไม่ดีหรือกลุ่มผู้ก่อการร้ายที่อาศัยเทคโนโลยีเพื่ออำนวยความสะดวกในการกระทำผิดของตนเพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจสอบจากภาครัฐและการบังคับใช้กฎหมายกับกรณีก็เป็นไปได้ยาก การที่เรามีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยมันจึงเปรียบเสมือนดาบสองคม แต่สำหรับกรณีดังกล่าวนั้น อย่าลืมว่าเงินสดก็ถูกนำไปใช้ในลักษณะเดียวกันด้วยเช่นกัน เพียงแต่สำหรับ Bitcoin นั้น มันช่วยอำนวยความสะดวกมิจฉาชีพให้ทำงานได้ง่ายและเร็วขึ้นกว่ามาก

แต่อย่างไรก็ตามคริปโตเคอร์เรนซีก็มีการทำ KYC/AML เช่นกัน ผู้ที่จะเข้าใช้งานเว็บเทรดได้จำต้องทำ KYC และ AML ทั้งสิ้น เว้นแต่ผู้ใช้งานจะเลือกโอนคริปโตกันแบบ peer-to-peer

โดยสรุปแล้วการที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าเพิ่มเติมมากยิ่งขึ้น ตามที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินเสนอ ที่มีการตรวจสอบข้อมูลของผู้ทำธุรกรรมมากกว่าเดิม มันอาจทำให้ผู้ที่ต้องการความเป็นส่วนตัวหันไปใช้งาน Cryptocurrency แทน เราอาจจะยิ่งเห็นประเทศไทยมีผู้ใช้งาน Bitcoin เพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม เนื่องมาจากการออกกฎของภาครัฐนี้ ซึ่งก็มีผลดีต่อระบบนิเวศของ Bitcoin เมื่อคนรับรู้ถึงประโยชน์ของเทคโนโลยีเพิ่มมากขึ้น การใช้งานในวงกว้างก็จะเกิดขึ้นไม่ยาก อาจนำไปสู่การใช้เป็นกระแสหลักได้ในอนาคต

อีกทางเลือกหนึ่งคือหันมาใช้ Privacy Coin

เหรียญ Privacy Coin เป็นเหรียญที่มุ่งเน้นความเป็นส่วนตัวเป็นหลัก โดยจะไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้ส่งและผู้รับเหรียญระหว่างการทำธุรกรรมหรือจะมีการซ่อนการทำธุรกรรมโดยแต่ละเหรียญจะมีวิธีการซ่อนการทำธุรกรรมนั้นแตกต่างกันออกไป เหรียญ Privacy Coin หลัก ๆ ก็จะมี Monero, Dash และ Zcoin ซึ่งการใช้เหรียญ Privacy Coin นี้ก็การันตีได้เลยว่าข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกรรม ไม่ว่าจะเป็นที่อยู่ผู้รับ ผู้ส่งหรือจำนวนการทำธุรกรรมจะไม่ถูกเปิดเผยออกมาแน่นอนและข้อมูลเหล่านี้จะถูกเข้าถึงและรับรู้ได้เฉพาะผู้ทำธุรกรรมสองฝ่ายเท่านั้น แตกต่างจากของ Bitcoin ที่ข้อมูลการทำธุรกรรมจะถูกเก็บไว้บน Public Ledger ซึ่งการใช้ Privacy Coin นี้ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่ต้องการความเป็นส่วนตัวสามารถเลือกใช้ได้ด้วยเช่นกัน

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น