<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

‘Sell in may and Go Away’ ควรงดเทรดในเดือนพ.ค. จริงหรือ ? อะไรคือสิ่งที่นักเทรดคริปโตควรรู้ ?

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

“Sell in may and Go Away” เป็นคำกล่าวยอดฮิตที่นักลงทุนในตลาดหุ้น Wall Street ของสหรัฐฯ รู้จักกันเป็นอย่างดี เนื่องจากประโยคนี้เป็นสัญญาณเตือนให้นักลงทุนทั่วโลกรู้ว่า ควรขายสินทรัพย์เสี่ยงเมื่อถึงฤดูร้อนเริ่มต้นขึ้นในเดือนพฤษภาคม และออกจากตลาดไปจนกว่าฤดูใบไม้ร่วงจะเริ่มต้นอีกครั้งในเดือนพฤศจิกายน

ทำไมต้อง “ขายในเดือนพฤษภาคม” ?

ผู้ที่นับถือกลยุทธ์การลงทุนตามฤดูกาลนี้ จะทำการ “ขายสินทรัพย์เสี่ยง”  ช่วงเดือนพฤษภาคมที่เวียนมาถึง (หรือปลายฤดูใบไม้ผลิ)  และถือเงินสดที่ได้จากการขายไว้ เพื่อนำไป “ลงทุนใหม่ในช่วงปลายฤดูใบไม้ร่วง” และ “นำเงินไปลงทุนใหม่ในช่วงปลายฤดูใบไม้ร่วง” หลังเทศกาลฮาโลวีน นั่นเอง

ใจความสำคัญของกลยุทธ์นี้คือ ตามข้อมูลทางสถิติที่ชี้ว่า ราคาหุ้น (stocks) มักจะอ่อนแอ ในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม โดยเฉลี่ยแล้ว ช่วงครึ่งหลังของปีมักจะเป็นช่วงที่ตลาดหุ้น “มีผลตอบแทนสูงสุด” เมื่อพิจารณาจากช่วงระยะเวลา 6 เดือน นักเทรดบางกลุ่มจึงเสนอแนะกลยุทธ์การลงทุนใน Bitcoin ที่คล้ายคลึงกับกลยุทธ์การขายในเดือนพฤษภาคมของตลาดหุ้น ที่อาจเป็นประโยชน์ต่อผู้ถือครอง Bitcoin

ต้นกำเนิดของ “Sell in may and Go Away”

คำกล่าวนี้เกิดขึ้นราวปี ค.ศ. 1776 โดยมีรูปแบบมาจากอังกฤษยุคเก่า วันหยุดฤดูร้อนของโบรกเกอร์หุ้นจะขยายออกไปตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงกันยายน เนื่องจากชนชั้นสูงนั้นทำงานในช่วงฤดูหนาวและหลีกหนีจากความร้อนอบอ้าวของลอนดอน 

ซึ่งต้นฉบับดั้งเดิม ของสำนวน “Sell in May and go away” คือ ขายในเดือนพฤษภาคมแล้วไปให้พ้น อย่ากลับมาจนกว่าจะถึงวันแข่งม้าเซนต์เลเจอร์ (St. Leger’s Day) หมายถึงการแข่งม้ารอบสุดท้ายของฤดูกาล

กลยุทธ์ “Stock Trader’s Almanac” (ปฏิทินนักลงทุน) เป็นที่รู้จักจากการเผยแพร่แนวคิดการลงทุนตามฤดูกาล โดยอาศัยผลการดำเนินงานของดัชนี Dow Jones Industrial Average (DJIA)  ที่อ้างอิงถึงผลตอบแทนที่เชื่อถือได้ พร้อมความเสี่ยงที่จะน้อยลงตั้งแต่ปี 1950 สำหรับผู้ที่ลงทุนตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเมษายน และให้เปลี่ยนมาลงทุนตราสารหนี้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม

คำอธิบายที่เป็นไปได้ของกลยุทธ์การลงทุน “Sell in May”

ยุคสมัยที่รูปแบบทางการเกษตรกรรมส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินอย่างมาก ได้ล่วงเลยไปแล้ว  แต่ฤดูกาล และความแม่นยำของกลยุทธ์นี้  อาจเกิดจากปัจจัยอื่นๆ

  • วันหยุดพักร้อน :  เมื่อนักเทรดและนักลงทุนต่างออกไปพักร้อนในช่วงฤดูร้อน  กิจกรรมการซื้อขายจึงลดลง ส่งผลให้สภาพคล่องในตลาด (liquidity) ลดลง ขณะเดียวกัน ความผันผวนของตลาด (volatility) กลับเพิ่มขึ้น  ปรากฏการณ์ลักษณะเดียวกันนี้ ยังเกิดขึ้นกับ  “Santa Claus Rally”  ในช่วงเดือนธันวาคมและมกราคมอีกด้วย
  • สิ้นปี : ช่วงเวลานี้มีเหตุการณ์สำคัญหลายอย่างที่ส่งผลต่อตลาด  เช่น การรายงานผลประกอบการของบริษัท  และโบนัสประจำปี  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  ในสหรัฐอเมริกา  วันสุดท้ายของการยื่นภาษีเงินได้ (income tax filing deadline)  จะตรงกับกลางเดือนเมษายน
  • อคติทางความคิดของมนุษย์ : นักเทรดมีแนวโน้มที่จะจำผลตอบแทนที่ติดลบ (negative returns) ได้ชัดเจนกว่า  เนื่องจากผลกระทบทางจิตวิทยามีความรุนแรงมากกว่า  ดังที่ Dan Ariely นักวิจัยด้านพฤติกรรมศาสตร์กล่าวไว้ว่า  “ปฏิกิริยาทางอารมณ์ของเรามีต่อการขาดทุนนั้นรุนแรงเป็นสองเท่าเมื่อเทียบกับความสุขที่ได้รับจากกำไรที่เท่ากัน  การได้เงิน 100 ดอลลาร์รู้สึกดี  แต่การเสียเงิน 100 ดอลลาร์นั้นเลวร้ายอย่างแน่นอน”

การวิพากษ์วิจารณ์กลยุทธ์การลงทุน “Sell in May”

แม้ว่าสุภาษิตเดือนพฤษภาคมจะเป็นที่รู้กันดี แต่ผู้เชี่ยวชาญก็เตือนไม่ให้ปฏิบัติตามกลยุทธ์การลงทุนตามปฏิทินอย่างสุ่มสี่สุ่มห้า เนื่องจากปัจจัยเหล่านี้

  • กลยุทธ์การลงทุน “Sell in May”  “ไม่ได้”  เอาชนะกลยุทธ์การลงทุนแบบถือครองในระยะยาว ซึ่ง Manulife Investment Management:  บริษัทที่ให้บริการด้านการจัดการการลงทุน  ได้ทำการเปรียบเทียบผลตอบแทนของกลยุทธ์ “Sell in May”  กับกลยุทธ์การลงทุนแบบ Buy-and-hold  ตามผลการคำนวณของ Manulife Investment Management ชี้ว่า การถือครองหุ้นไว้ในกรอบเวลาหนึ่ง ๆ ตลอดทั้งปี เว้นแต่พื้นฐานของบริษัทจะมีการเปลี่ยนแปลง จะนำไปสู่ผลตอบแทนที่ดีกว่าในระยะยาว ซึ่งทาง Investopedia ก็มองว่าเป็น “แนวทางการลงทุนที่ดีที่สุด”
  • กลยุทธ์การลงทุน “Sell in May” ถูกวิจารณ์ว่า  “มีการกำหนดเวลาที่ตายตัวเกินไป” (Its timing is too rigid) ซึ่ง Fidelity: บริษัทหลักทรัพย์ชื่อดัง มองว่า “ตลอดทั้งปี ราคาหุ้นมักจะมีแนวโน้มปรับตัวขึ้น” มากกว่าที่จะปรับตัวลง ดังนั้นขายหุ้นในเดือนพฤษภาคม (selling in May) จึงอาจจะเป็น “กลยุทธ์ที่ไม่จำเป็น
  • กลยุทธ์การลงทุน “Sell in May” ถูกวิจารณ์ว่า  “ไม่คำนึงถึงต้นทุนโอกาส (opportunity cost) ในการออกและกลับเข้าสู่ตลาดที่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ไม่คำนึงถึงเทคโนโลยีสมัยใหม่ เนื่องจากเครื่องมือตรวจสอบแบบเรียลไทม์ช่วยให้นักเทรด สามารถปรับแต่งพอร์ตการลงทุนตลอดทั้งปีได้ง่ายกว่า เมื่อหลายทศวรรษก่อน

ประสิทธิภาพของ Bitcoin ในเดือนพฤษภาคม

หลักการนี้มีประโยชน์ต่อ Bitcoin หรือไม่ ? เมื่อพิจารณาจากผลตอบแทนรายเดือนของเดือนพฤษภาคมตลอดทศวรรษ ยังไม่มีรูปแบบที่ชัดเจนสำหรับช่วงเวลาที่เป็นปัญหา

ผลตอบแทนรายเดือนของ BTC ตั้งแต่ปี 2013 ที่มา: Glassnode

นับตั้งแต่ปี 2013 Bitcoin กราฟเป็นสีแดงหกครั้งและเป็นสีเขียวห้าครั้ง (ซึ่งเจ็ดครั้งเป็นสีเขียวตั้งแต่ปี 2011 ตามข้อมูลของ CoinDesk ) ทำให้เดือนพฤษภาคมเป็นเดือนที่ดีที่สุดเป็นอันดับ 4 สำหรับ Bitcoin ตามที่ Alex Kuptsikevich นักวิเคราะห์ตลาดอาวุโสของ FxPro กล่าว

“ราคา Bitcoin เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยคือ 27% และการลดลงโดยเฉลี่ยคือ 16%”

การที่ราคา Bitcoin ตกต่ำที่สุดในเดือนพฤษภาคมเกิดขึ้นในปี 2018 (ลดลงเกือบ 19%) และในปี 2021 (ราคาลดลงมากกว่า 35%)  ซึ่งราคาในเดือนกันยายนลดลงบ่อยที่สุด โดยเดือนกุมภาพันธ์และตุลาคมกราฟเป็นสีเขียวที่สุด (แต่ละกรณีมีผลตอบแทนติดลบเพียง 2 กรณีเท่านั้น)

ตามข้อมูลบนกราฟแท่งเทียน แท่งเทียนสีเขียวดูเหมือนจะลดน้อยลง ส่งผลให้ข้อมูลบางส่วนบ่งชี้ว่า กำไรได้ลดลงในระหว่างปี 2021 ถึง 2023  ซึ่งกราฟ BTC ในเดือนพฤษภาคมเป็นสีแดง

ผลการดำเนินงานเดือนพฤษภาคมของ BTC ตั้งแต่ปี 2555 ถึง 2565 ที่มา: CryptoQuant

บริบทที่กว้างขึ้นกำลังเปลี่ยนแปลงไป

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การมีส่วนร่วมของสถาบันที่เพิ่มมากขึ้นได้เปลี่ยนโครงสร้างตลาด Bitcoin โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ การเปิดตัวกองทุน Spot ETF ในเดือนมกราคม 2024 ดังนั้น หน่วยงานและนักลงทุนรายใหญ่จึงมีอิทธิพลต่อราคามากขึ้น

การที่นักลงทุนมองว่า Bitcoin เป็นสินทรัพย์เสี่ยง (risk asset) ส่งผลให้ความกังวล (bearish sentiment) ในตลาดหุ้นวอลล์สตรีท  อาจส่งผลกระทบต่อตลาด Bitcoin  โดยทำให้เกิดการเทขาย (liquidations) Bitcoin จำนวนมาก

ซึ่ง Barron’s: สำนักข่าวธุรกิจชื่อดังวิเคราะห์ว่า “Bitcoin กำลังมีแนวโน้มที่จะมีความสัมพันธ์กับดัชนี S&P 500 มากขึ้น”

สรุป

กลยุทธ์การขาย Bitcoin ในเดือนพฤษภาคม (Sell-off Bitcoin in May) คล้ายกับกลยุทธ์การลงทุนตามปฏิทินอื่น ๆ ของนักลงทุนในตลาดหุ้น การขาย Bitcoin ในเดือนพฤษภาคม (Sell-off Bitcoin in May)  ก็  “ไม่ได้คำนึงถึง”  ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจมหภาค (macro drivers)  และ ปัจจัยเฉพาะของตลาดคริปโตเคอเรนซี  เช่น  เหตุการณ์ Bitcoin halvings 

การขาย Bitcoin ในเดือนพฤษภาคมเป็นเพียงกลยุทธ์แนวคิดหนึ่ง ไม่ใช่สูตรสำเร็จ ซึ่งทุกคนควรพิจารณาปัจจัยอื่น ๆร่วมด้วย เพื่อตัดสินใจว่ากลยุทธ์นี้เหมาะสมกับคุณหรือไม่ เนื่องจากจะต้องสอดคล้องกับกลยุทธ์การลงทุน ระยะเวลา การยอมรับความเสี่ยง และสถานการณ์ทางการเงินของแต่ละบุคคล

แม้ว่า Bitcoin และหุ้นจะเป็นไปตามรูปแบบเดียวกัน แต่ผลการดำเนินงานในอดีตไม่ได้รับประกันผลตอบแทนในอนาคตได้ 

ที่มา : medium