<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

ก.ล.ต.ประเทศไทยกล่าว ICO ช่วยตอบโจทย์การระดมทุนให้ธุรกิจ เตือนเรื่องความเสี่ยง

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ปัจจุบันการระดมทุนแบบ Initial Coin Offerings (ICO) ที่กำลังเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายจนส่งผลให้รัฐบาลในหลายๆประเทศออกมาเตือน รวมถึงรัฐบาลประเทศจีนที่ออกมาประกาศแบนการซื้อขาย ICO เพราะให้เหตุผลว่ามันผิดกฎหมาย ล่าสุดทาง สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) แห่งประเทศไทยได้ออกมาประกาศแสดงท่าทีต่อการระดมทุนด้วยเงินดิจิตอลดังกล่าวแล้ว

โดยอ้างอิงจาก RYT9 ที่ได้มีการลงประกาศจาก ก.ล.ต. ในวันนี้เมื่อช่วง 5 โมงเย็นที่ผ่านมานั้น มีใจความประกาศที่บอกว่าการลงทุนแบบ ICO นั้นได้รับความนิยมมาก และสามารถที่จะอำนวยความสะดวกในด้านการระดมทุนได้มากกว่าการระดมทุนผ่าน venture capital แต่ก็ยังแสดงความเป็นห่วง เนื่องจากว่าอาจจะมีผู้ไม่หวังดีนำการลงทุนดังกล่าวไปใช้ในทางมิชอบ โดยประกาศระบุว่า

“ICO เป็นช่องทางเข้าถึงทุนที่สะดวก รวดเร็ว และได้รับความนิยมมากจากกลุ่มเทคสตาร์ทอัพ (tech startups) โดย ICOทั่วโลกเติบโตอย่างก้าวกระโดดในไม่กี่เดือนที่ผ่านมาจนมีมูลค่าสูงกว่าการระดมทุนผ่าน venture capital หน่วยงานกำกับดูแลทั่วโลก รวมถึง ก.ล.ต. จึงมีความกังวลว่า ICO อาจเป็นช่องทางให้ผู้ที่ไม่สุจริตใช้หาประโยชน์จากประชาชนได้”

แต่ที่น่าสนใจคือ ในประกาศนั้นยังมีการกล่าวว่าทาง ก.ล.ต. มีแนวคิดส่งเสริมให้ภาคธุรกิจสามารถเข้าถึงทุนได้ โดยเฉพาะบริษัทสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีในประเทศไทย และมองว่า ICO นั้นจะสามารถเป็นกลไกที่จะช่วยตอบโจทย์ด้านการระดมทุนให้ธุรกิจได้ด้วย

“ก.ล.ต. มีนโยบายส่งเสริมการเข้าถึงทุนของธุรกิจ ซึ่งรวมถึงกลุ่มเทคสตาร์ทอัพที่มีศักยภาพ และเห็นว่า ICO สามารถเป็นกลไกที่ช่วยตอบโจทย์เรื่องการระดมทุนให้ธุรกิจดังกล่าวได้”

แต่ก็ยังมีการบอกว่า ถ้าหากมี ICO ตัวไหนในไทยที่เข้าข่ายเป็นหลักทรัพย์ (securities) ผู้ระดมทุนก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดด้วย

“ทั้งนี้ หาก ICO ใดมีลักษณะที่เข้าข่ายเป็นหลักทรัพย์ ผู้ระดมทุนก็ต้องดำเนินการตามกฎหมาย / กฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องด้วย”

กำลังพิจารณาว่าเหมาะสมหรือไม่

อย่างไรก็ดี ก.ล.ต. ยอมรับว่าการทำธุรกิจของกลุ่มเทคสตาร์ทอัพมีความแตกต่างจากธุรกิจในรูปแบบที่คุ้นเคย และการระดมทุนลักษณะดังกล่าวอาจไม่สอดรับกับเกณฑ์การกำกับดูแลหลักทรัพย์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน

โดยรายงานระบุเพิ่มเติมว่า

[rsnippet id=”1″ name=”AdSense In-article ad 1″]

“ก.ล.ต. จึงอยู่ระหว่างพิจารณาแนวทางการกำกับดูแลที่เหมาะสม และยินดีรับฟังทุกความเห็นจากภาคธุรกิจ เพื่อไม่ให้มีกฎเกณฑ์ที่เป็นอุปสรรคต่อการสร้างนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ ในขณะที่ยังสามารถป้องกันไม่ให้ผู้ที่ไม่สุจริตอาศัยช่องทางนี้หลอกลวงเงินจากประชาชน”

ทางประกาศยังปิดท้ายว่าการลงทุนแบบ ICO นั้นยังอาจมีความเสี่ยงจากความผันผวนของราคา การขาดสภาพคล่อง ความเสี่ยงด้านไซเบอร์ รวมทั้งการถูกฉ้อโกงหรือหลอกลวงจากผู้มีเจตนาทุจริต นอกจากนี้ เนื่องจาก ICO ส่วนใหญ่เป็นธุรกรรมข้ามประเทศ จึงอาจมีข้อจำกัดเรื่องความคุ้มครองและการเยียวยาผู้ลงทุนตามกฎหมายอีกด้วย

ท่าทีของประเทศอื่นๆ

มันเป็นเรื่องที่ค่อนข้างน่าสนใจ ว่าประเทศไทยเรานี้อาจจะเป็นประเทศแรกในกลุ่ม ASEAN ที่มีการออกมาประกาศให้การสนับสนุน ICO จาก ก.ล.ต. เนื่องจากว่าก่อนหน้านี้ทางผู้ออกกฎหมายในประเทศสิงคโปร์อย่าง MAS และ SC ในมาเลเซียนั้นเคยออกมาเตือนเรื่องการลงทุนในลักษณะดังกล่าว แต่ไม่ได้มีการกล่าวสนับสนุนอย่างใด

SEC ของประเทศสหรัฐฯถือเป็นหน่วยงานแรกของโลกที่ออกมาประกาศบอกว่าการลงทุนดังกล่าวนั้นจะตกอยู่ภายใต้กฎหมายสินทรัพย์ ซึ่งภายหลังจากนั้นทางหน่วนงานรัฐบาลของแต่ละประเทศก็ออกมาเตือนเรื่อง ICO เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นรัสเซีย, เกาหลีใต้, ฮ่องกง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐบาลประเทศจีนที่เพิ่งจะออกมาประกาศแบนการซื้อขาย ICO ไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

ความเสี่ยงด้านการฉ้อโกงใน ICO

ไม่ใช่ทุกๆโปรเจค ICO ที่จะเป็นโปรเจ็คที่เชื่อถือและไว้ใจได้เสมอไป ปัจจุบันมี ICO มากมายที่ถูกทำขึ้นมาเพื่อหลอกเอาเงินจากนักลงทุน ซึ่งด้วยความที่การเปิดซื้อขาย ICO ในปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายมารองรับนั้น ทำให้นักลงทุนต้องศึกษาที่มาของบริษัทสตาร์ทอัพนั้นๆด้วยความระมัดระวัง

บาง ICO ที่มีความน่าเชื่อถือก็เคยมีรายงานว่าถูกแฮคไปแล้วก่อนหน้านี้ ไม่ว่าจะเป็น CoinDash, Veritaseum และ Enigma ที่ต้องเสียหายเป็นมูลค่ารวมกันในระดับหลายล้านดอลลาร์เนื่องจากถูกแฮคเจาะระบ

ตัวเลขล่าสุดนั้นมีรายงานว่าความเสียหายจากการการฉ้อโกงในการระดมทุน ICO มีมากกว่า 200 ล้านดอลลาร์รวมกัน

[rsnippet id=”1″ name=”AdSense In-article ad 1″]

ICO ที่ประสบความสำเร็จ

ทว่าก็ไม่ใช่ทุกๆโปรเจคที่จะต้องพบจุดจบดังกล่าวเสมือไป ก่อนหน้านี้มี ICO ที่ประสบความสำเร็จในการระดมทุนมากมาย และสามารถที่จะส่งเหรียญให้ถึงมือนักลงทุนได้อย่างสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็น BAT ที่ระดมทุนไปได้ถึง 35 ล้านดอลลาร์ในเวลา 30 วินาที, Filecoin ที่ระดมทุนได้มากที่สุดในประวัติศาสตร์ ICO ในขณะนี้ ซึ่งระดมทุนไปได้ถึง 257 ล้านดอลลาร์รวมกัน และยังรวมถึง ICO ที่มีการให้ดาราคนดังมาช่วยโปรโมทอย่าง STOX ที่มีการให้นักมวยชื่อดังอย่าง Floyd Mayweather และนักฟุตบอลมืออาชีพอย่างหลุย ซัวเรสแห่งทีมบาร์เซโลนามาช่วยโปรโมทอีกด้วย ซึ่งภายหลัง ICO ตัวนี้ระดมทุนไปได้ 30 ล้านดอลลาร์

สำหรับในประเทศไทยนั้น ในปัจจุบันมีบริษัทไทยเพียงบริษัทเดียวที่เคยประสบความสำเร็จในการระดมทุน ICO ไปได้กว่า 25 ล้านดอลลาร์ซึ่งก็คือ Omise หรือเจ้าของเหรียญคริโตยอดนิยม OmiseGO ที่ก่อนหน้านี้เคยซื้อกิจการ Paysbuy ไปจาก DTAC แล้วนั่นเอง

ภาพจากฐานเศรษฐกิจ

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น