<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

มูลค่าตลาดรวมเหรียญ ICO ก้าวข้ามผ่าน Milestone ใหม่ ทะลุ 3 พันล้านดอลลาร์

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ตลาดการระดมทุนแบบ Initial Coin Offerings ( ICO) ดูเหมือนว่าจะก้าวข้ามผ่าน milestone อีกหนึ่งขั้นด้วยการมีมูลค่าตลาดรวมทะลุ 3 พันล้านดอลลาร์ (ประมาณเก้าหมื่นเก้าพันห้าร้อยล้านบาท) แม้ว่าก่อนหน้านี้จะไม่ได้รับการสนับสนุนจากผู้ออกกฎหมายในบางประเทศก็ตาม

ตลาดเหรียญ ICO แตะ 3 พันล้านดอลลาร์

การซื้อขายเหรียญ ICO มีขึ้นครั้งแรกในปี 2013 เมื่อนาย J.R. Willett ทำการระดมทุนสำหรับแพลทฟอร์ม Omni (หรือ Mastercoin) มาได้เป็นเงิน 500,000 ดอลลาร์ โดยหากอ้างอิงข้อมูลจาก CoinSchedule นั้น ปัจจุบันมีเหรียญ ICO ประมาณ 200 ตัวที่ถูกเปิดขายเฉพาะแค่ในปี 2017 ปีเดียว ซึ่งจำนวนทั้งหมดนั้นมีมูลค่าตลาดรวมกันในปัจจุบันถึง 3 พันล้านดอลลาร์ และ 800 ล้านดอลลาร์เฉพาะแค่ในเดือนกันยายนที่ผ่านมา

กราฟจาก CoinSchedule

ICO ของ Filecoin ที่ระดมทุนไปได้ 257 ล้านดอลลาร์กลายเป็นอันดับหนึ่งอยู่ในตอนนี้ ในขณะเดียวกัน ICO ของ Tezos ที่ก่อนหน้านี้เคยระดมทุนไปได้ถึง 232 ล้านดอลลาร์ในช่วงเปิดขาย ก่อนที่จะมีมูลค่าตลาดรวมพุ่งไปถึง 400 ดอลลาร์ในเวลาต่อมา แม้ว่าจะมีปัญหาความขัดแย้งกันภายในองค์กรก็ตาม แต่กระนั้น ICO สิบอันดับแรกในปัจจุบันมีมูลค่าตลาดรวมกันแล้วกว่า 1.2 พันล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ตามตัวเลขดังกล่าวอาจจะถูกเอาชนะด้วย ICO ของ tZERO ที่จะเปิดขายในอีกไม่นานนี้ก็ได้ เมื่อนาย Patrick Byrne หรือผู้บริหารของ Overstock ออกมาทำนายว่า ICO ของเหรียญดังกล่าวจะ “ให้โชค” ก่อนหน้านี้ พร้อมทั้งประเมินตัวเลขไว้ที่ 500 ล้านดอลลาร์เป็นอย่างต่ำ

ในขณะที่โปรเจคในหมวดหมู่ infrastucture อย่างเช่นของ Tezos และ EOS รวมกันนั้นก็ได้กินส่วนแบ่งการตลาดไปแล้วกว่า 39% ในขณะที่โปรเจคด้านการซื้อขายและการลงทุนอย่างเช่น AirSwaps มีประมาณ 14%

กราฟจาก CoinSchedule

ICO ยังคงเข้มแข็งแม้จะไม่ได้รับการสนับสนุนจากผู้ออกกฎหมายในบางประเทศ

นักลงทุน ICO นั้นดูเหมือนว่าจะยังคงทุ่มเงินบนหน้าตักของพวกเขาลงบนโปรเจ็คใหม่ๆที่ออกมาอยู่เรื่อยๆ แม้ว่าผู้ออกกฎหมายและรัฐบาลทั่วโลกกำลังออกมาเพ่งเล็งโมเดลในการระดมทุนดังกล่าวนี้ อย่างเช่นประเทศจีนเป็นต้นที่เคยออกมาประกาศแบนการระดมทุนแบบ ICO จนทำให้ตลาดเหรียญ cryptocurrency ทั่วโลกต้องอยู่ในสภาวะยุ่งเหยิง และประเทศเกาหลีใต้ที่ออกมาสั่งแบนบริษัทสตาร์ทอัพในการทำการระดมทุนผ่านโมเดลดังกล่าว

ส่วนในประเทศสหรัฐฯนั้น ทั้ง SEC และ CFTC ก็ได้ออกมาเพิ่มมาตรการดูแลเอาใจใส่ตลาด ICO แล้ว หลังจากที่พวกเขาออกมาประกาศว่าเหรียญ ICO บางตัวนั้นอาจตกอยู่ภายใต้กฎหมายหลักทรัพย์ ซึ่งการเคลื่อนไหวดังกล่าวสามารถบ่งบอกได้ว่ารัฐบาลสหรัฐฯได้จับเอา ICO ขึ้นมาอยู่บนระดับต้นๆของอันดับความสนใจแล้ว

[rsnippet id=”1″ name=”AdSense In-article ad 1″]

ในขณะที่ประเทศอื่นๆกำลังมีท่าทีที่ค่อนข้างเป็นลบนั้น ประเทศไทยเราเองก็มีข่าวดีที่ออกมาเมื่อไม่นานมานี้

ทาง ก.ล.ต. แห่งประเทศไทยได้ออกมาเผยให้เห็นว่าพวกเขากำลังวางแผนออกกฎเกณฑ์มากำกับตลาดการระดมทุนดังกล่าวในประเทศไทย ซึ่งจะมีขึ้นภายในช่วงไตรมาสที่สองของปีหน้า หลังจากที่เปิดรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเสร็จเรียบร้อยแล้วในเดือนธันวาคมที่จะถึงนี้

โดยเป้าหมายหลักๆก็คือเพื่อป้องกันธุรกิจสตาร์ทอัพที่ไม่หวังดี ต้องการฉวยโอกาสรวยเร็วผ่านโมเดลการระดมทุนดังกล่าวมาหลอกลวงนักลงทุน ซึ่งทางก.ล.ต. จะทำหน้าที่เป็นเหมือนกับด่านคอยช่วยคัดกรอง ICO เหล่านั้นอีกทีหนึ่ง ในขณะที่ ICO ที่เข้าข่ายหลักทรัพย์นั้น นักลงทุนจะถูกจำกัดวงเงินการลงทุนไว้อยู่ที่ 300,000 บาทต่อ 1 โครงการ อ้างอิงจากทาง ก.ล.ต.

ซึ่งหากแล้วเสร็จ หลายๆฝ่ายคาดว่าน่าจะส่งผลให้การระดมทุนแบบ ICO ได้รับความนิยมมากขึ้นในประเทศไทย และสามารถดึงดูดนักลงทุนและบริษัทสตาร์ทอัพจากทั่วโลกให้เข้ามาลงทุนในประเทศไทยมากขึ้นอีกก็เป็นได้

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น