<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

โปรเจกต์ Defi “Dopple Finance” เตรียมปรับโครงสร้างใหม่อัพเกรด Twindex 2.0 พร้อมเพิ่มเหรียญ “KUSD”

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

โปรเจกต์ Defi ฝีมือคนไทยที่นักลงทุนสายฟาร์มรู้จักกันเป็นอย่างดี Dopple Finance ประกาศเตรียมปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ อัพเกรด Twindex เวอร์ชั่น 2.0 พร้อมเพิ่มเหรียญ Stablecoin “KUSD” บนแพลตฟอร์ม

โดยในบทความเราจะเปิดเผยเกี่ยวกับข้อมูลจากเหรียญ KUSD และรายละเอียดเกี่ยวกับการอัพเดต Twindex เวอร์ชั่น 2.0 รวมถึงบทสัมภาษณ์เล็ก ๆ น้อย ๆ ระหว่างทีมงานสยามบล็อกเชนกับทาง Dopple Finance เกี่ยวกับการปรับโครงสร้างใหม่ในครั้งนี้ให้เพื่อนได้ทราบกัน

KUSD คืออะไร ?

KUSD คือ Stablecoin ตัวใหม่ของ Dopple โดยพัฒนามาจาก DOLLY ซึ่งใช้กลไกที่เรียกว่า Fractional Algorithmic Algorithm ในการสร้างมูลค่าให้เท่ากับ $1

KUSD จะใช้กลไก Fractional Algorithmic Algorithm คือ การผสมผสาน 2 รูปแบบที่ต่างกันของเหรียญ Stablecoin ในตลาด คือ Fiat-Collaeralized Stablecoin กับ Algorithmic Stablecoin เข้าไว้ด้วยกัน

หรือให้พูดง่าย ๆ ก็คือ ส่วนหนึ่งของ KUSD จะถูก Backed ไว้ด้วย USDC เพื่อสร้างความมั่นใจด้วยสินทรัพย์ที่มีมูลค่าเทียบเท่ากับ 1 ดอลลาร์ กับอีกส่วนหนึ่งจะถูก Backed ด้วย DOPX เพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้งานโทเค็นบน Platform 

ดังนั้น ตั้งแต่ KUSD ถูกปล่อยออกสู่ตลาด  ยังไม่เคยมีเหตุการณ์ที่มูลค่าต่ำว่า $0.99 เลยสักครั้งเดียว นับว่ามูลค่า Peg $1 ได้อย่างมั่นคงโดยแท้จริง

ไม่มีคำอธิบาย


ทำไมต้องใช้ KUSD ?

เนื่องด้วยปัญหาของ Stablecoin ปกติในตลาดปัจจุบันนั้นมีราคาที่ผันผวนขึ้นลงไม่มากก็น้อย สําหรับเหรียญที่ใช้กลไกล Algorithmic เดี่ยว ๆ เช่น ราคาของ UST ที่เคยร่วงลงไปถึงจุดต่ำสุดที่ระดับ $0.7929 เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2020 รวมถึงสินทรัพย์หลักประกันอื่นๆ ที่มีต้นทุนสูงจาก collateralized debt position (CDP) ทำให้เหรียญ Stable coin ส่วนมากต้องวางสินทรัพย์ค้ำสูงถึง 150% นอกจากนี้ความโปร่งใสในเรื่องของการตรวจสอบ assets backed ที่ดําเนินการโดย human ถูกตั้งคําถามเรื่องความน่าเชื่อถืออีกด้วย 

ด้วยเหตุนี้ทีม Dopple Finance จึงคิดที่จะพัฒนาเหรียญ KUSD ที่มีการผสมผสานการผสมผสาน 2 รูปแบบที่ต่างกันของเหรียญ Stablecoin ในตลาด ป้องกันความผันผวนของราคา 

กรณีการใช้งานในปัจจุบันของเหรียญ KUSD

KUSD เป็นสกุลเงินหลักที่จะใช้ในการซื้อ-ขายสินทรัพย์เสมือน (Synthetic Assets) ไม่ว่าจะเป็นหุ้น กองทุน หรือสินทรัพย์ใน รูปแบบอื่นๆ บนแพลตฟอร์มของ Twindex 2.0 ซึ่งจะมีการเปิดตัวภายในเดือนกันยายนนี้ และปัจจุบันทาง Dopple Finance มีพาร์ทเนอร์ที่ยินดีรับเหรียญ KUSD ในการทําธุรกรรมเฉกเช่นเดียวกับกับเหรียญ Stablecoins ตัวอื่นๆ แล้ว

Dynamic Collateral Ratio จุดแข็งสําคัญของ KUSD

การใช้กลไก Fractional Algorithmic Algorithm นั้น จะสร้าง Feedback loop ขึ้นระหว่าง USDC และ DOPX กล่าวคือ เมื่อ DOPX มีความ healthy (ราคาไปในทิศทางที่ดี) ก็จะทําให้ KUSD ยิ่งแข็งแกร่ง แต่ถ้าไม่ healthy (เช่นมีการเทขายอย่างรุนแรงจน ราคาตก) ก็จะปรับลดสัดส่วน DOPX ลงเพื่อไปใช้ USDC แทน

หมายความว่า Collateral Ratio หรือสัดส่วนระหว่าง USDC และ DOPX ที่ถูกนํามา Backed KUSD จะเป็นแบบ Dynamic คือ สามารถเปลี่ยนแปลง ปรับเพิ่ม-ลด ได้ เช่น Collateral Ratio 80% หมายถึง USDC 80:20 DOPX หรือ Collateral Ratio 20% หมายถึง USDC 20:80 DOPX

ส่วนปัจจัยสําคัญที่จะบอกว่า Target Collateral Ratio ในช่วงเวลานั้น ๆ ควรจะเป็นเท่าไหร่ ก็คือ Growth Rate

Growth Rate เป็น Indicator ตัวสําคัญที่จะช่วยระบบหา Collateral Ratio ที่เหมาะสม

Growth Rate นั้นเป็นเนื้อหาที่ลึกลงไปอีกขั้น โดยมีสูตรคํานวณ คือ มูลค่าของ DOPX ที่มีอยู่ใน Liquidity Pools ทั้งหมด หารด้วยปริมาณ KUSD ที่ถูก Mint ออกมาสู่ระบบทั้งหมด เมื่อคํานวณออกมาแล้ว จะได้ Indicator ที่ช่วยบอกว่า Target Collateral Ratio ที่เหมาะสม ควรมีสัดส่วนเป็นเท่าไหร่

และกลไกที่จะช่วยให้ KUSD วิ่งจาก Efective Collateral Ratio ไปหา Target Collateral Ratio อยู่เสมอ นั้นก็คือเครื่องมือที่เรียกว่า Buyback กับ Recollateralization

Buyback กับ Recollateralization คืออะไร ?

Buyback คือ การนําเหรียญ DOPX มาแลกเป็น USDC เมื่อ Collateral Ratio ปรับลดลง ทําให้มี USDC ส่วนเกินในระบบ

ในทางกลับกัน Re-Collateralization คือ การนํา USDC มาแลกเป็น DOPX เมื่อ Collateral Ratio ปรับเพิ่มขึ้น ทําให้มี DOPX ส่วนเกินในระบบ

Buyback กับ Recollateralization ต่างกับการ Swap เหรียญอย่างไร ?

เมื่อพิจารณาดูดี ๆ แล้วจะเห็นว่า Buyback ก็เปรียบเสมือนการขาย DOPX ออกเป็น USDC และ Re-Collateralization ก็เปรียบเสมือนการซื้อ DOPX ด้วย USDC จึงอาจเกิดคําถามขึ้นว่าแล้วกลไกทั้งสองต่างจากการ Swap อย่างไร

ข้อแตกต่างหนึ่งเดียวนั้นก็คือ การ Buyback และ Recollateralization จะปราศจาก Price Impact ทำให้วิธีการนี้เหมาะสมมากกว่าสําหรับผู้ที่ต้องการเทรดเหรียญ DOPX-USDC-DOPX ในปริมาณมาก ๆ

KUSD จะรักษามูลค่าที่ $1 ได้อย่างไร ?

นอกเหนือจาก Collateral Ratio แล้ว เครื่องมือที่จะช่วยรักษามูลค่าของ KUSD ให้เท่ากับ $1 อยู่เสมอ คือ Mint และ Redeem เพื่อทําการ Arbitrage

เมื่อราคา KUSD มากกว่า $1 เช่น $1.5 ผู้ใช้งานสามารถ Mint เหรียญ KUSD (การ Mint จะทําให้ได้มูลค่าที่ $1 เสมอ) และขายทันที ณ ราคาตลาด เพื่อกินส่วนต่างกําไร $0.5

เมื่อราคา KUSD ต่ำกว่า $1 เช่น $0.9 ผู้ใช้งานสามารถซื้อ KUSD ณ ราคาตลาด และนํามา Redeem ได้ทันที (เราสามารถ Redeem ได้ที่ราคา $1 เสมอ) เพื่อกินส่วนต่างกําไร $0.1

Twindex 2.0 ที่กําลังจะมาถึง

Twindex ได้เปิดตัวมาตั้งแต่เดือนมิ.ย. 64 ซึ่งมีหุ้นและทรัพย์สินต่าง ๆ ที่สามารถลงทุนได้หลากหลายประเภท (Synthetic Assets) ทั้งหุ้นและกองทุน จากหลากหลายประเทศไม่ว่าจะเป็นอเมริกา จีน และอื่น ๆ โดยสามารถเทรดได้ตลอดเวลา ไม่ต้องผ่านการยืนยันตัวตน และ สามารถช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้กับระบบผ่านการฟาร์มและรับผลตอบแทนที่มากกว่าการถือหุ้นได้อีกด้วย และเพื่อแก้ไขปัญหาและข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นใน Twindex เดิม จึงมีการพัฒนาและทดสอบอย่างหนักเพื่ออัพเกรดระบบเป็น Twindex 2.0

การมาถึงของ Twindex 2.0 จะใช้กลไกแบบใหม่ที่เรียกว่า Fractional Algorithmic Mechanism ซึ่งนอกจากจะช่วยให้การลงทุน ในหุ้นเสมือนนี้ มีความใกล้เคียงกับการลงทุนในหุ้นจริงมากขึ้นแล้วนั้น จะช่วยเพิ่มประโยชน์ของเหรียญ TWX ซึ่งเป็น Platform token ให้มีราคาที่สูงขึ้นตามปริมาณการใช้งานของหุ้นบนแพลตฟอร์มอีกด้วย

โดยอัพเดท Twindex 2.0 จะมีการเปิดตัวในช่วงเดือนกันยายนนี้ พร้อมกับสินทรัพย์ต่าง ๆ ที่นักลงทุนสามารถเลือกลงทุนได้หลากหลายประเภท

Synthetic Assets คืออะไร ?

แปลกันตรง ๆ ก็คือสินทรัพย์เสมือน นั่นก็คือ สินทรัพย์ที่มีมูลค่าเทียบเท่ากับสินทรัพย์อื่น ๆ ในตลาดโลก เช่น หุ้น AAPL (แอปเปิ้ล) ในสหรัฐอเมริกา มีมูลค่า $150 สินทรัพย์เสมือนก็จะมีค่าใกล้เคียงกับ $150 เช่นกัน โดยกลไกที่จะทําให้ราคาของสินทรัพย์เสมือนนั้นตรงกันราคาสินทรัพย์ที่อ้างอิงนั้นมักจะใช้กลไกตลาดในการควบคุม ในกรณีของ Twindex มีการใช้กลไกที่ เรียกว่า Fractional Algorithmic Mechanism ในการควบคุมราคาได้

ทําไม Synthetic Assets ถึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ

สินทรัพย์เสมือน (Synthetic Assets) มีข้อที่แตกต่างจากสินทรัพย์ทั่วไป เช่น การลงทุนในสินทรัพย์เสมือนสามารถทําได้ตลอด เวลา โดยไม่มีเวลาปิด ไม่มีตัวกลางที่จะถือสินทรัพย์เหล่านั้นแทนนักลงทน ไม่มีขั้นต่ํา และไม่มีความจําเป็นที่จะต้องยืนยันตัวตน ใด ๆ นอกจากนี้ ยังไม่มีข้อจํากัดในการลงทุนในสินทรัพย์ ซึ่งเปิดโอกาสให้สามารถลงทุนในทรัพย์สินหลากหลายประเภท และ สามารถลงทุนในสินทรัพย์ต่างประเทศได้แบบไม่มีข้อจํากัด

การลงทุนในสินทรัพย์เสมือนนี้ยังเปิดโอกาสให้สามารถหารายได้เพิ่มเติมจากการเก็งกําไรเหรียญด้วยการฟาร์มเหรียญหุ้นเพื่อรับ ผลตอบแทนจากการฟาร์มเพิ่มเติมได้อีกด้วย

ปัญหาหลักของ Synthetic Assets ในปัจจุบัน

การสร้างหุ้นเสมือนขึ้นมามักจะต้องมีตัวแทนของมูลค่าของหุ้นนั้น ๆ ที่ทําการจําลองมา ระบบส่วนใหญ่จึงมีการใช้เงินค้ำประกัน ที่มากกว่ามูลค่าของหุ้นเพื่อสร้างหุ้นเสมือนขึ้นมา โดยมีมูลค่าที่มากกว่าเพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงของราคา และเพื่อให้ราคา ของเงินค้ำประกันมากกว่ามูลค่าของหุ้นเสมือนเสมอ ซึ่งเรียกว่า Collateralized Debt Position (CDP) นั่นหมายความว่า จะมีเงิน ที่มากกว่ามูลค่าจริงอยู่ในระบบเสมอ ความคุ้มค่าของการลงทุนก็จะน้อยลงเนื่องจากอัตราส่วนระหว่างมูลค่าคําและมูลค่าจริงมีค่า

สูง

ดังนั้น Twindex จะแก้ไขปัญหานี้ด้วยการใช้ Fractional Algorithmic Mechanism ทําให้สินทรัพย์เสมือนอยู่ในสถานะ Under-collateralized ซึ่งหมายถึง มีการใช้สินทรัพย์อื่นมาค้ำมูลค่า และยังสามารถรักษามูลค่าของสินทรัพย์เสมือนได้อยู่ตลอดเวลา และสามารถลงทุนมากขึ้นด้วยจํานวนเงินที่น้อยลง 

บทสัมภาษณ์พิเศษกับทาง Dopple Finance

สุดท้ายนี้ทาง Siam Blockchain ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ไปยังคุณโกวิท เจริญรัชตพันธุ์ CEO และผู้ก่อตั้งของ Dopple Finance เกี่ยวกับเรื่องการปรับปรุงโครงสร้างครั้งใหม่ของ Doppple ด้วย 4 คำถามสำคัญที่นักลงทุนเหรียญดังกล่าวกำลังรู้สึกสงสัยในปัจจุบัน

Siamblockchain : ปรับโครงสร้างทีมเบื้องต้นมีใครเพิ่มเติมเข้ามาบ้างนะครับ ?

คุณโกวิท : การปรับโครงสร้างทีมในครั้งนี้  มีการปรับหลายจุด โดยเฉพาะส่วนของทีมบริหาร ทาง Dopple Finance ได้มืออาชีพเข้ามาร่วมทีมเพิ่มเติม  โดยทำงานอยู่เบื้องหลังทั้งหมด เพื่อเสริมทัพความแข็งแกร่งในการลุยตลาด Defi ต่อไป

Siamblockchain : เป้าหมายในการปรับโครงสร้างของทีมในครั้งนี้ คืออะไรครับ ?

คุณโกวิท : เป้าหมายของการปรับโครงสร้าง คือ การปรับวิสัยทัศน์ เป้าหมาย และวิธีการดำเนินธุรกิจต่อจากนี้  เนื่องด้วยตัวธุรกิจที่มันใหม่ และโตเร็วมากๆ  และมาพร้อมกับความผันผวนในโลกของ Defi ทำให้ช่วงที่ผ่านมา ทีมเราถอยกลับมาทำการบ้านกันอย่างหนัก เพื่อวิเคราะห์ และวางแผนใหม่จริงๆ โดยเฉพาะเรื่องกลไกของผลิตภัณฑ์ และการทำการตลาด รวมถึงการนำความคิดเห็น ข้อแนะนำต่างๆ จาก Community มาวิเคราะห์ด้วยว่ามีจุดไหนที่เราทำได้บ้าง  ดังนั้นช่วงที่ผ่านมา จะมีเสียงเรียกร้องจาก Community ว่าทำไมการตลาดเงียบจัง

ซึ่งเป้าหมายในการปรับโครงสร้างครั้งนี้ มีเพื่อป้องกันปัญหา  รองรับความผันผวนของตลาด ต่อยอดการเติบโตของธุรกิจ

Siamblockchain : การปรับโครงสร้างทีมจะส่งผลอะไรต่อ roadmap ในอนาคต และผลิตภัณฑ์ในปัจจุบันบ้างครับ ?

คุณโกวิท : การปรับโครงสร้างครั้งนี้ จะส่งผลให้เราเดินตาม Roadmap ได้มั่นคงขึ้น โดยเฉพาะ Mechanism ต่าง ๆ ของผลิตภัณฑ์ ไม่ได้ส่งผลต่อเรื่องระยะเวลาเป็นนัยยะสำคัญ  ณ ตอนนี้ยังเดินหน้าทำตามที่ประกาศไว้  แต่มีส่วนที่เราต้องไล่ปรับให้มันแข็งแรงขึ้นครับ

Siamblockchain : KUSD มีให้เทรดใน CEX และ DEX ที่ไหนแล้วบ้างครับ ?

คุณโกวิท : KUSD มีแค่ Twindex ครับตอนนี้ และสามารถเทรดได้ผ่าน aggregator ต่าง ๆ เช่น Arken โดยสามารถได้มาจากการ Mint ใน Dopple.finance ด้วย ส่วนในเรื่องของการลิสต์เหรียญบน CEX และ DEX นั้น เราเชื่อว่าจะมีการอัพเดทเพิ่มเติมในอนาคตอันใกล้นี้อย่างแน่นอน

สุดท้ายนี้ ผมและทีมงาน Dopple Finance ก็ขอขอบคุณนักลงทุน สมาชิก และ Community ที่ให้การสนับสนุนพวกเรามาโดยตลอด และเราขอสัญญาว่าจะพัฒนาโปรเจกต์นี้ให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป ขอบคุณครับ