<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

นักวิเคราะห์เผย Bitcoin สามารถไปได้ถึง 1.3 ล้านดอลลาร์หากมันกลายเป็น “ทุนสำรองของโลก”

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

เมื่อเร็ว ๆ นี้ จีนและบราซิลได้บรรลุข้อตกลงที่จะละทิ้งดอลลาร์สหรัฐฯ และซื้อขายในสกุลเงินของตัวเอง เช่นเดียวกับรัสเซีย ปากีสถนา และอีกหลายประเทศ ซึ่งทำให้เราเห็นว่าการครอบงำของเงินดอลลาร์ทั่วโลกลดลงอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

ตามข้อมูลจากธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (BIS) ในปี 2010 ดอลลาร์และยูโรคิดเป็น 63% ของการซื้อขายยทั้งหมดในการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศซึ่งทำให้ USD กลายเป็นสกุลเงินสำรองที่แข็งแกร่งอย่างมากในช่วงนั้น

อย่างไรก็ตามหากเปรียบเทียบกับปี 2021 จะเห็นได้ว่าตัวเลขทุนสำรองของ USD นั้นลดลงอย่างมาก กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่าดอลลาร์ได้สูญเสียตัวตนในฐานะสกุลเงินสำรองของโลกและไม่ได้คงความแข็งแกร่งเหมือนเมื่อก่อนอีกต่อไป

ทั้งนี้ดูเหมือนว่าความเชื่อมั่นในเงินดอลลาร์จะลดลงเล็กน้อยหลังจากเกิดสงครามรัสเซียยูเครน และการคว่ำบาตรของปูตินได้กลายเป็นประเด็นที่ทำให้ทุนสำรองของรัสเซียในดอลลาร์ ยูโร และเยน หมดไปอย่างสิ้นเชิง

“การคว่ำบาตรรัสเซียลดความต้องการสกุลเงิน USD, EUR และ JPY ในฐานะสินทรัพย์สำรอง ในขณะเดียวกันก็เพิ่มความต้องการสกุลเงินอื่นที่สามารถทำหน้าที่เป็นสกุลเงินสำรองได้”

ทั้งนี้หากให้ประเมินความเป็นไปได้ว่าสิ่งใดจะถูกนำมาเป็นสกุลเงินสำรองเพื่อเข้าไปเติมในสภาพคล่องนั้นก็คงหลีกหนีไม่พ้นทองคำและ Bitcoin ซึ่งทำให้นักวิเคราะห์หลายรายต่างวิเคราะห์ไปต่าง ๆ นานาว่ามูลค่าของ Bitcoin จะจบลงที่เท่าไหร่หากมันถูกนำไปใช้เป็นสกุลเงินสำรองของโลก

“หากเป็นทองคำจะอยู่ที่ประมาณ 31,000 ดอลลาร์ และราคา Bitcoin สามารถไปได้ที่ 1.3 ล้านบาท”

อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อสงสัยว่า Bitcoin จะสามารถแข่งขันกับทองคำเพื่อเอาชนะความเชื่อมั่นของธนาคารกลางทั่วโลกได้หรือไม่?

Bitcoin กับทองคำ

JP Morgan เคยกล่าวในคำให้การต่อหน้ารัฐสภาในปี 1912 ว่า “ทองคำก็คือเงิน อย่างอื่นเป็นเครดิต” ย้อนกลับไปในสมัยก่อนอย่างปฏิเสธไม่ได้ เป็นเรื่องจริงเมื่อทองคำถูกเก็บไว้อย่างปลอดภัยในห้องใต้ดิน และใช้สำหรับค้ำมูลค่าสกุลเงิน Fiat 

อย่างไรก็ตามในช่วงสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐฯถือครองทองคำส่วนใหญ่ของโลกเนื่องจากประเทศอื่นจ่ายเป็นทองคำในช่วงสงคราม ก่อนที่ระหว่างการประชุม Bretton Woods จะมีการตัดสินใจว่าจะให้สกุลเงินของโลกตรึงกับมูลค่าดอลลาร์ตั้งแต่ปี 1971 

แม้จะบอกว่าให้สกุลเงินทั่วโลกตรึงกับดอลลาร์ แต่ธนาคารกลางยังคงถือครองทองคำสำรองจำนวนมาก โดยมีทองคำประมาณ 1 ใน 5 ของทองคำทั้งหมดที่เคยขุดได้

สิ่งที่ Bitcoin มีเหมือนทองคำนั่นก็คือความหายากและมีอยู่อย่างจำกัด ซึ่งทำให้หลายคนอาจเรียก Bitcoin ว่าทองคำดิจิทัล เช่นเดียวกัน

อย่างไรก็ตามหนึ่งในความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่ Bitcoin ต้องเผชิญคือความผันผวน สิ่งที่ทำให้รัฐบาลพึ่งพา BTC เป็นตัวเก็บมูลค่าที่มั่นคงได้ยาก อีกทั้งยังมีนักลงทุนหลายคนกังวลอีกว่าความผันผวนยังไม่สามารถทำให้สกุลเงินดิจิทัลนั้นแซงหน้าดอลลาร์ไปได้