<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

หายไปเกือบ 90%! Deutsche Bank ชี้ Stablecoin เหลือรอดในตลาดคริปโตมีเพียง 14% เท่านั้น

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

เป็นที่ทราบกันดีว่าเหรียญ Stablecoins คือเหรียญโทเคนคริปโตที่มีการตรึงราคาไว้กับสกุลเงินเฟียตบนโลกจริงแบบ 1 ต่อ 1 ทำให้ราคามีการผันผวนที่น้อยกว่าคริปโตตัวอื่น ๆ ซึ่งหากมองโดยผิวเผินเราอาจจะคิดว่าเหรียญดังกล่าวก็ไม่มีอะไรมากมาย และไม่น่าจะ “เจ๊ง” ได้แต่เชื่อหรือไม่ว่ามีเหรียญประเภทนี้เพียง 14% เท่านั้นที่ยังคงเปิดให้มีการซื้อขายใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน

อ้างอิงจากผลสำรวจของ Deutsche Bank ธนาคารระบุว่ามีโปรเจกต์เหรียญ stablecoin เพียง 14% เท่านั้นที่ไม่ล้มเหลว เกิดเป็นความกังวลเกี่ยวกับอนาคตของเหรียญตระกูลนี้ 

เหล่านักวิจัยได้ทำการสำรวจสกุลเงินกว่า 334 สกุลที่นับเป็นประเภท pegged currencies นับตั้งแต่ปี 1800 (ในที่นี้พูดถึงเงินสกุลอื่นที่ไม่ใช่คริปโตด้วย) และได้ข้อสรุปว่า สกุลเงินที่ประสบความสำเร็จนั้นจะประกอบไปด้วยปัจจัย 3 ประการที่โปรเจกต์ที่ล้มเหลวไม่มีนั่นคือ ความน่าเชื่อถือ , เงินทุนสำรอง และ การควบคุมระบบอย่างเคร่งครัดและมิดชิด

รายงานระบุว่า 49% ของ stablecoin นั้นล้มเหลวและมีอายุเพียงแค่ 8 ถึง 10 ปีเท่านั้น นักวิเคราะห์ยังให้เหตุผลด้วยว่า ปัจจัยทางเศรษฐกิจมหภาค (macroeconomic factors) เป็นสิ่งสำคัญในการพิจารณาถึงความยั่งยืนของระบบการตรึงค่าเงิน 

ด้าน Marion Laboure นักวางกลยุทธ์ของ Deutsche Bank Research กล่าวว่าขณะเดียวกันเหตุผลด้านการปกครอง และการเก็งกำไรก็มีส่วนเช่นกันที่ทำให้ค่าเงินเกิดการหลุด Peg โดยสาเหตุที่เลือกทำการเปรียบเทียบระหว่าง stablecoins และ peg currencies เพราะทั้งสองมีความคล้ายคลึงกันทั้งในด้านคุณสมบัติ และประวัติศาสตร์

อย่างไรก็ตามหลังรายงานนี้ได้มีการเผยแพร่ทาง Tether บริษัทผู้ออกเหรียญ USDT เบอร์หนึ่งได้เกิดความไม่พอใจเป็นอย่างมากและได้ทำการตักเตือนทีมวิจัยของ Deutsche Bank ว่านักวิเคราะห์ไม่ได้ให้หลักฐานที่ชัดเจนในการสนับสนุนผลการวิจัยของทีม และได้ออกมาตำหนิว่าการนำ TerraUSD ซึ่งเป็น algorithmic stablecoin มาเปรียบเทียบกับสกุลเงินของพวกเขาที่มีเงินจริง ๆ หนุนอยู่นั้นมันใช้ไม่ได้ และทำให้หลายคนเข้าใจผิด