<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

Ford และ Toyota ทุ่มสุดตัวในเทคโนโลยีบล็อกเชน ! แม้กระแสเทคโนโลยีไร้คนขับจะซบเซา

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

บริษัทผู้ผลิตรถยนต์เป็นผู้นำ ในการยื่นขอจดสิทธิบัตรเทคโนโลยีบล็อกเชนมากกว่าบริษัทอื่น ๆ ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2024

Ford และ Toyota ยังคงเป็นผู้นำในด้านการพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ที่ใช้บล็อกเชน ตามรายชื่อการยื่นขอจดสิทธิบัตรล่าสุดจากบริษัทยานยนต์ทั้งสองแห่ง

ทั้ง Ford และ Toyota ได้ยื่นขอจดสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับบล็อกเชนอย่างน้อย 43 รายการ ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2024 โดยรวมแล้ว จำนวนการยื่นขอจดสิทธิบัตรในอุตสาหกรรมลดลงในไตรมาสที่ 2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า

อย่างไรก็ตาม ตามข้อมูลจาก GlobalData Patent Analytics และ Just Auto ระบุว่าทั้ง Ford และ Toyota ได้ท้าทายแนวโน้มนี้ โดย Ford เพิ่มการยื่นขอจดสิทธิบัตรจากเพียง 3 รายการในไตรมาสที่ 1 ไปเป็น 14 รายการในไตรมาสที่ 2 

ในขณะที่ Toyota เพิ่มการยื่นขอจดสิทธิบัตรจาก 25 รายการ ในไตรมาสที่ 1 ไปเป็น 29 รายการในไตรมาสที่ 2

5 บริษัทชั้นนำที่ยื่นขอจดสิทธิบัตรบล็อกเชนในไตรมาสที่ 2 ปี 2024 ด้วยยอดจำนวน 29, 14, 7, 6 และ 6 ตามลำดับ แหล่งที่มา: GlobalData Patent Analytics

บล็อกเชนสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์

สิทธิบัตรที่ขอยื่นโดย Ford, Toyota และบริษัทอื่น ๆ ในอุตสาหกรรมยานยนต์ ช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ได้แสดงถึงข้อกังวลมากมายภายในภาคอุตสาหกรรมนี้

ตัวอย่างเช่น Ford ที่เพิ่งยื่นขอจดสิทธิบัตรที่อาจใช้เพื่อยืนยันความเป็นเจ้าของรถยนต์แบบที่ไม่มีใครสามารถปลอมแปลงได้ (immutable)

ตามการยื่นขอจดสิทธิบัตร ระบบของ Ford จะ “จัดการข้อมูลการเป็นเจ้าของรถยนต์ … รวมถึงการเปลี่ยนแปลงความเป็นเจ้าของรถยนต์ ผ่านสัญญา smart contracts ที่ดำเนินการโดยอัตโนมัติ ตามข้อมูลเหตุการณ์แบบเรียลไทม์”

การเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ของยานพาหนะตามที่เกิดขึ้นจริง ด้วยระบบนี้ทำให้เป็นเรื่องง่าย ในการใช้สัญญา smart contracts ในการแลกเปลี่ยนทั้งสินค้าทางกายภาพ (รถยนต์) และสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับการเป็นเจ้าของ (กรรมสิทธิ์,ชื่อ) ในการดำเนินการโดยอัตโนมัติเพียงครั้งเดียว

ในขณะเดียวกัน สิทธิบัตรที่ Toyota เพิ่งยื่นขอจดบ่งชี้ว่า บริษัทกำลังสำรวจการพัฒนาระบบภายในที่ใช้บล็อกเชน เพื่อดำเนินการ โทเค็น NFTs ที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ของตน ซึ่งระบบนี้จะช่วยให้มั่นใจว่า รถยนต์ที่เก็บไว้อยู่ในสต็อก เช่น รถยนต์ที่อยู่ในมือของตัวแทนจำหน่าย ถูกเก็บไว้จนกว่าจะขายได้ และจะถูกบันทึกลงในบัญชีแยกประเภทบล็อกเชนอย่างถูกต้อง 

เทคโนโลยียานยนต์ไร้คนขับ

ทั้ง Toyota และ Ford ต่างก็แสดงให้เห็นถึงสัญญาณของการปรับกลยุทธ์ของตน เพื่อมุ่งเน้นไปที่เทคโนโลยีที่ “ช่วยเหลือผู้ขับขี่” มากกว่ารถยนต์ไร้คนขับ

การประชุมครั้งล่าสุดที่รวมตัวผู้เชี่ยวชาญหลายร้อยคนจากอุตสาหกรรม “รถยนต์ไร้คนขับ” แสดงให้เห็นว่า 

แม้ว่าบริษัทที่เกี่ยวข้องจะยังคงมีความหวังสูงในเรื่องนี้ แต่โดยทั่วไปแล้ว โลกของเทคโนโลยีกลับมองว่า ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่ขัดขวางไม่ให้รถแท็กซี่ไร้คนขับเปิดให้บริการแก่สาธารณะได้

การเปลี่ยนแปลงไปสู่เทคโนโลยีบล็อกเชนที่พัฒนามากขึ้น อาจช่วยให้ทั้ง Toyota และ Ford ได้เปรียบคู่แข่งในอนาคต แม้แต่ในภาคส่วนยานยนต์ที่ไร้คนขับก็ตาม 

ซึ่งหนึ่งในปัจจัยหลักที่ทั้งสองอุตสาหกรรมกำลังพิจารณาอยู่ก็คือ ผลกระทบต่อโครงสร้างพื้นฐานในเมืองที่ใช้บล็อกเชน อาจมีต่อเทคโนโลยียานยนต์ไร้คนขับ 

ที่มา : cointelegraph