เพื่อช่วยเหลือผู้คนทั่วโลกที่ยังไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้ กองทุน UNICEF Venture Fund จึงได้จัดเตรียมเงินลงทุนในบริษัทสตาร์ทอัพบล็อกเชนอีก 7 รายใน 6 ประเทศ ได้แก่ เคนยา อาร์เจนตินา อินเดีย เม็กซิโก รวันดา และเนปาล ตามประกาศของยูนิเซฟในวันนี้
บริษัททั้ง 7 แห่ง ซึ่งได้รับการคัดเลือกจากการส่งผลงานกว่า 450 รายการใน 77 ประเทศ จะได้รับเงินทุนสนับสนุนสูงถึง 100,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ โดย 5 ใน 7 ของบริษัทเหล่านั้นเลือกที่จะรับเงินทุนเป็น Ethereum และที่น่าสนใจไปกว่านั้นก็คือ บริษัทสตาร์ทอัพทั้ง 5 แห่งล้วนแต่มีผู้หญิงเป็นผู้นำทีม
กองทุน UNICEF ได้ตั้งข้อสังเกตว่าผู้คนประมาณ1.7 พันล้านคนทั่วโลกยังคง “ไม่มีบัญชีธนาคาร” ของตัวเองและไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินขั้นพื้นฐานได้ เช่น บัญชีธนาคาร อ้างอิงตามตัวเลขล่าสุดของธนาคารโลก
บริษัทสตาร์ทอัพ Xcapit ของอาร์เจนตินา, GovBlocks ของอินเดีย, BX Smart Labs ของเม็กซิโก, Leaf Global Fintech ของรวันดา, Rumsan ของเนปาลและ Grassroots Economics ของเคนยา และ KotaniPay ต่างก็กำลังทำงานเกี่ยวกับโซลูชั่นที่ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนเพื่อช่วยให้ผู้คนทั่วโลกสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้ทั่วถึงมากขึ้น นับตั้งแต่การเข้าถึงกระบวนการชำระเงิน การโอนเงิน สกุลเงินของชุมชน เงินกู้ และโอกาสในการลงทุนสำหรับชุมชนที่ด้อยโอกาส ตลอดจนเครื่องมือในการตัดสินใจแบบกระจายอำนาจ
กองทุนคริปโตของ UNICEF หรือ UNICEF CryptoFund นั้นได้ลงทุนในโปรเจกต์สตาร์ทอัพในระยะตั้งไข่ทั่วโลกเพื่อสนับสนุนโซลูชั่นที่เป็นนวัตกรรมให้กับท้องถิ่นและทั่วโลก นับตั้งแต่ปี 2016
UNICEF’s CryptoFund เป็นกองทุนรวมของ Bitcoin และ Ethereum และเป็นส่วนหนึ่งของกองทุนด้านนวัตกรรมของ UNICEF ที่อนุญาตให้ UNICEF สามารถโอน-รับ ถือครองและเบิกสกุลเงินดิจิทัลได้ตลอดเวลา
Blockchain นำมาซึ่งนวัตกรรมทางการเงิน
“การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อเด็กและผู้คนทั่วโลก ชีวิตของพวกเขาได้หยุดชะงักลงอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้นเราจึงสามารถสังเกตเห็นได้ว่าโซลูชันดิจิทัลที่ครอบคลุมและมีราคาถูกนั้นมีความสำคัญเพียงใด ซึ่งรวมถึงโซลูชันที่เปิดกว้างให้ผู้คนสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้” นาง Sunita Grote หัวหน้ายูนิ UNICEF Ventures กล่าวในแถลงการณ์
นาง Cecilia Chapiro หัวหน้าฝ่ายกองทุนนวัตกรรมของ UNICEF กล่าวให้สัมภาษณ์ว่า เทคโนโลยีที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ อย่างบล็อกเชนนั้นสามารถมอบโซลูชันที่ช่วยให้เกิดการรวมตัวทางการเงินในประเทศกำลังพัฒนาได้
ปัจจุบัน GovBlocks บริษัทสตาร์ทอัพแห่งหนึ่งในอินเดีย กำลังสร้างโปรโตคอลสำหรับการกำกับดูแลแบบกระจายอำนาจ ซึ่งเป็นการโหวตลงคะแนนบนบล็อกเชนสำหรับองค์กรกระจายอำนาจอิสระ (DAO) และแอปพลิเคชันแบบกระจายศูนย์ (DApps)
GovBlocks ถูกใช้โดย DAO สองแห่งบน Ethereum ได้แก่ Nexus Mutual โปรโตคอลทางเลือกในการกระจายอำนาจแทนการประกันภัย และ PlotX ซึ่งเป็นโปรโตคอลตลาดการทำนายแบบ cross-chain สำหรับนักเทรดคริปโต
ยกตัวอย่างเช่น Nexus Mutual มีมูลค่ารวมกว่า 400 ล้านดอลลาร์ที่ถูกล็อคโดยสัญญา Smart contract ซึ่ง GovBlocks และชุมชน Nexus ได้ร่วมกันโหวตข้อเสนอการกำกับดูแลกว่า 149 ข้อเสนอโดยใช้ GovBlocks
Nexus Mutual ได้ถือกองทุนของสมาชิกในกลุ่มเดียวกัน เพื่อใช้เงินทุนดังกล่าวชำระค่าสินไหมทดแทนที่เกิดจากการจัดหาสัญญา Smart Contract ให้กับสมาชิก โดยสมาชิก Nexus Mutual สามารถตัดสินใจได้ว่าจะดำเนินการร่วมกันอย่างไร ด้วยการโหวตลงคะแนนเพื่อแก้ไขโค้ดในสัญญา Smart contract