<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

Bitcoin นั้นไม่ได้มีความเป็นส่วนตัว และนั่นอาจเป็นสาเหตุที่ Satoshi ไม่อยากจะโอนเหรียญของเขา

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

เมื่อมีการสร้าง BTC ขึ้นมาทุกคนต่างบอกว่าการใช้ Bitcoin มันมีข้อดีตรงที่ไม่เปิดเผยตัวตน นี่จึงเป็นเหตุผลที่ตลาดมืดนิยมนำ BTC ไปใช้งาน อย่างไรก็ตามในความจริงแล้วการทำธุรกรรมของ Bitcoin มันถูกแกะรอยได้จากการสำรวจบล็อกสาธารณะ (Block Explorer)

ย้อนกลับไปก่อนหน้านี้มันคงเป็นเรื่องยากที่จะรู้ตัวตนของ address ผู้ใช้งาน Bitcoin ซึ่งมันยากพอ ๆ กับการหาว่านำ Bitcoin นั้นไปใช้ทำอะไร อย่างไรก็ตามเมื่อมีผู้เชี่ยวชาญด้าน Blockchain เพิ่มมากขึ้น ในตอนนี้การแกะรอยตัวตนของผู้ใช้งาน Bitcoin แล้วดูว่าพวกเขาใช้ BTC ไปกับอะไรก็ไม่ใช่เรื่องที่ยากแล้ว บางคนถึงกับบอกว่า Bitcoin มันไร้ตัวตนแบบหลอก ๆ แต่ความจริง (ที่อาจจะขัดหูของใครหลาย ๆ คน) คือ Bitcoin นั้นอาจไม่ได้ปกปิดตัวตนของผู้ใช้งานอีกต่อไป

เมื่อเดือนเมษายนปี 2018 บริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านการแกะรอย Blockchain มีลูกค้าเข้ามาติดต่อคำสั่งซื้อได้เงินไปกว่าหลายสิบล้านดอลลาร์ ซึ่งลูกค้าเหล่านั้นส่วนใหญ่จะเป็นหน่วยงานของรัฐ เช่น IRS, DEA, FBI, SEC, CFTC และ ICE ส่วนเว็บเทรดใหญ่ ๆ เช่น Coinbase และธนาคารเลือกใช้บริษัทเหล่านี้เพื่อให้การทำธุรกิจดำเนินไปตามกฎหมายและป้องกันการก่อกิจกรรมที่ผิดกฎหมายใด ๆ แต่มันก็ต้องแลกมากับความไม่เปิดเผยตัวตนที่เป็นจุดเด่นของ Bitcoin

บริษัทผู้เชี่ยวชาญด้าน Blockchain เช่น BlockSeer ก่อนหน้านี้ประมาณปี 2013 ถึง 2014 นั้น BlockSeer มันสามารถใช้งานได้ฟรี มันจะคอยตรวจจับ Bitcoin จากเว็บเทรดที่ถูกนำไปใช้ในเว็บไซต์ตลาดมืดหรือเว็บพนัน และมันมีการระบุตัวตนของผู้ใช้งาน Bitcoin ด้วย แต่ตอนนี้บริการของ BlockSeer มันไม่ฟรีเสียแล้ว จากกรณีนี้เราเห็นได้เลยว่าเทคโนโลยีนั้นไปไกลแค่ไหนแล้วเมื่อห้าปีก่อน สิ่งที่ต้องตระหนักไว้เลยคือหน่วยงานรัฐที่กล่าวไปข้างต้น หรือเว็บเทรดและธนาคารใหญ่ ๆ สามารถเข้าถึงข้อมูลตัวตนของผู้ใช้งานได้

ในตอนนี้การแกะรอยธุรกรรม Bitcoin นั้นง่ายขึ้นแล้วเนื่องจากมันมีการทำ KYC และเมื่อมีใครซื้อ Bitcoin บนเว็บเทรด Coinbase หรือผ่านตู้เอทีเอ็ม Bitcoin ข้อมูลตัวตนของผู้นั้นจะถูกบันทึกไว้หมด การทำธุรกรรมต่อจากนั้นสามารถแกะรอยได้ ทำให้ภาคกฎหมายมีสภาพบังคับกับการทำธุรกรรม Bitcoin ได้แล้ว ยกตัวอย่างเช่นหากมีคนใช้ Bitcoin ไปในทางที่ผิดกฎหมายหลังจากซื้อมันไปแล้ว มันจะมีหมายศาลส่งไปยังผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตที่ที่บุคคลนั้นซื้อ Bitcoin มาและเมื่อได้ข้อมูลแล้วมันก็สามารถติดตามได้ว่า Bitcoin นั้นถูกนำไปใช้ทำอะไรบ้าง

เมื่อมี KYC เข้ามามันยิ่งทำให้การติดตาม Bitcoin ของบริษัทผู้เชี่ยวชาญด้าน Blockchain และหน่วยงานของรัฐสะดวกมากยิ่งขึ้น เนื่องจากมันเป็นกฎระเบียบที่ต้องปฏิบัติตามหากผู้ใช้งานอยากเข้าใช้งานเว็บเทรดก็จำเป็นต้องส่ง KYC มาเมื่อต้องการที่จะซื้อขายคริปโต หรือแม้แต่หากผู้ใช้งานไปทำการซื้อขายแบบ peer-to-peer เอง Bitcoin ที่มาจากเว็บเทรดที่มีการทำ KYC ก็สามารถตรวจจับได้อยู่ดี

และนี่จึงเป็นเหตุผลว่าความไร้ตัวตัวของ Bitcoin นั้นมันไม่ใช่เรื่องจริงอีกต่อไปแล้ว ผู้ที่ใช้งาน Bitcoin ตั้งแต่รุ่นแรก ๆ หรือรุ่นไหน หากจะอยากทำธุรกรรมก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ว่าต้องเปิดเผยตัวตน

ในทวิตเตอร์ของ WhaleAlerts ที่คอยสอดส่องการทำธุรกรรมจำนวนมหาศาลก็ถือว่านี่เป็นการสะกดตามการทำธุรกรรมเหมมือนกัน ซึ่งมันเกิดขึ้นมาเพื่อที่จะต้องการบอกให้นักลงทุนรู้ก่อนที่การเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ของตลาดจะเกิดขึ้น

ลองนึกสภาพว่าหาก Satoshi ส่ง BTC แม้จะเป็นจำนวนน้อย ๆ จากวอลเล็ทตั้งแต่ปี 2009 ก็ตาม WhaleAlert จะต้องรู้ เช่นเดียวกับเครื่องมือสะกดรอยตามธุรกรรมบน Blockchain อื่น ๆ แล้วถ้าหาก Bitcoin นี้ถูกส่งไปที่เว็บเทรดที่มีคนรู้จักมาก ๆ หรือเว็บเทรดที่มีการทำ KYC สุดท้ายแล้วผู้ออกกฎจะรู้ว่าใครคือ Satoshi และนี้อาจจะเป็นเหตุผลว่าทำไม Satoshi ไม่ใช้ BTC ที่อยู่ในวอลเล็ทของเขาเลย

ผู้ที่ถือ Bitcoin ไว้เยอะ ๆ นั้นแทบไม่สามารถใช้ BTC ของตนได้นอกจากว่าพวกเขาจะยอมเสี่ยงที่จะเปิดเผยตัวตน ซึ่งมันเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างมากสำหรับผู้ที่ถือครอง BTC มูลค่าเป็นล้าน ๆ หรือหลายพันล้านดอลลาร์ ปัญหาที่ว่านั้นมันรวมถึงเรื่องภาษีด้วย, การตรวจสอบจากภาครัฐและอาจจะถูกเพ่งเล็งว่าเป็นอาชญากรได้

มันทำให้นึกถึงคัมภีไบเบิ้ลตอนที่อดัมกินผลไม้ที่พระเจ้าห้ามไว้

“เพราะเจ้ากินผลไม้บนต้นไม้ซึ่งข้าบัญชาเจ้าไม่ให้กิน ที่เจ้าโดนสาปแช่งก็เพราะตัวเจ้าเอง เจ้าจะต้องกินมันไปตลอดชีวิตของเจ้า”

Satoshi อาจจะมี Bitcoin หลายพันล้านดอลลาร์อยู่ในกระเป๋าก็จริง แต่เขาอาจจะไม่อยากใช้มันและก็ต้องกลับไปทำงานประจำหารายได้เข้ากระเป๋า

อย่างไรก็ตามเมื่อพูดมาถึงตรงนี้หลาย ๆ คนอาจจะคิดว่า Bitcoin นั้นไม่เปิดเผยตัวตนแบบหลอก ๆ เพราะผู้เชี่ยวชาญด้าน Blockchain ก็สามารถทำการตรวจจับได้อยู่ดี มันทำให้แม้แต่ Satoshi เองก็ไม่อยากที่จะใช้ Bitcoin ดังนั้นทางออกสำหรับผู้ใช้งานที่ต้องการปิดบังตัวตนก็อาจหันไปใช้เหรียญที่เน้นไปที่ความเป็นส่วนตัวอย่าง Monero(XMR) หรือ Zcoin แทน

ที่มา : cryptoiq

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น