<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

มาเลเซียประกาศออกกฎหมายควบคุม IEO พร้อมแบนโปรเจค ICO ทั้งหมด

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ในช่วงเมื่อวานนี้ทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ของมาเลเซีย (SC) ได้เปิดเผยแนวปฏิบัติด้านกฎระเบียบเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งได้กำหนดกรอบการทำงานของข้อเสนอโปรเจคโทเค็นระดมทุนเริ่มต้นในมาเลเซียหรือที่ทุกคนมักเรียกว่า ICO

อ้างอิงจากแถลงการณ์ของสื่อ แนวทางปฏิบัติดังกล่าวนั้นได้รับข้อเสนอแนะมาจากทางหน่วยงานกำกับดูแล ซึ่งนโยบายนี้ได้รับการสนับสนุนอย่างล้นหลาม สำหรับวิธีการใช้ประโยชน์ของผู้ให้บริการแพลตฟอร์มในการตรวจสอบแอปพลิเคชันสำหรับการออกโทเค็นดิจิทัลระดมทุน

โดยพื้นฐานแล้วการเสนอโปรเจคระดมทุนเริ่มต้นจะต้องดำเนินการผ่านทาง Initial Exchange Offering ( IEO) เท่านั้น ซึ่งจะมีลักษณะที่คล้ายกับการระดมทุนของ ICO เว้นแต่ว่าจะทำซื้อขายโทเค็นผ่านทางเว็ปเทรดคริปโตชั้นนำแทนที่จะซื้อขายโดยตรงจากตัวของผู้ออกโทเค็นเอง

ภายใต้กฎระเบียบใหม่ของประเทศมาเลเซียนี้ ผู้ที่ต้องการออกโทเค็นดิจิทัล IEO จะต้องได้รับการอนุมัติจากทางกลต. อย่างถูกต้องก่อนทุกครั้ง โดยทางกลต.เน้นย้ำว่าจนกว่ากฎระเบียบใหม่จะมีผลใช้บังคับอย่างเป็นทางการ หน่วยงานกำกับดูแลจะไม่อนุญาตให้บุคคลใดเสนอโปรเจคระดมทุนเริ่มต้นหรือออกโทเค็นดิจิทัลใด ๆ ในมาเลเซีย

แนวทางปฏิบัติดังกล่าวคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในช่วงครึ่งหลังของปี 2020 เพื่อให้ผู้ประกอบการของแพลตฟอร์ม IEO และนักลงทุนทั้งหลายได้ทำความคุ้นเคยกับกฎระเบียบข้อบังคับ

คุณสมบัติของผู้ประกอบการสำหรับแพลตฟอร์ม IEO

ในช่วงแรกของการดำเนินการ SC จะทำงานร่วมกับผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม IEO ในการประเมินผู้ทีมีสิทธิ์ออกโทเค็นดังต่อไปนี้ 

  • โปรเจคนั้น ๆ จะต้องมีทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ 5 ล้านริงกิต [1.2 ล้านดอลลาร์]
  • โปรเจคนั้น ๆ จะต้องมีสำนักงานที่ตั้งอยู่ในประเทศมาเลเซียเท่านั้น (เว้นแต่จะได้รับข้อยกเว้นอื่น ๆ )
  • โปรเจคนั้น ๆ จะต้องมีบัญชีที่สามารถไว้วางใจได้ (trust account) สำหรับการเก็บรักษาเงินทั้งหมดที่ได้รับจากนักลงทุน IEO
  • บัญชีที่สามารถไว้วางใจได้ (trust account) จะต้องมีการรับรองจากสถาบันการเงินของมาเลเซีย

ข้อกำหนดของผู้ออกโทเค็น

ทาง SC ต้องการให้บริษัทผู้ออกหลักทรัพย์เป็นนิติบุคคลภายในประเทศและมีการดำเนินธุรกิจหลักในท้องถิ่นเท่านั้น อีกทั้งยังระบุด้วยว่าผู้ออกหลักทรัพย์จะต้องมีคณะกรรมการอย่างน้องสองคนในประเทศที่พร้อมตอบคำถามของหน่วยงานกำกับดูแลอยู่ตลอดเวลาหรือมีที่อยู่อาศัยอยู่ในมาเลเซีย

นอกจากนี้ผู้ออกโทเค็นจำเป็นต้องมีเงินทุนขั้นต่ำอยู่ที่ 500,000 ริงกิต [$ 122,000] รวมถึงข้อจำกัดอื่น ๆ ของนักลงทุนรายย่อยและนักลงทุนระดับ angel investor ที่ระบุเอาไว้ว่านักลงทุนรายย่อยสามารถลงทุนในโปรเจคเหรียญระดมทุน IEO ได้สูงสุดอยู่ที่ 2000 ริงกิต [$ 491] ต่อหนึ่งโปรเจค IEO เท่านั้นหรือราว ๆ 20,000 ริงกิต [$ 4,916] ต่อปี ในขณที่นักลงทุนระดับ angel investor สามารถลงทุนได้สูงถึง 500,000 ริงกิต [$ 122,000] ต่อปี 

กฎระเบียบใหม่จะทำให้ ICO เป็นเรื่องที่ผิดกฎหมายในมาเลเซีย

ในขณะนี้คณะกรรมการหลักทรัพย์ของมาเลเซียได้มีการออกมาตรการมากมายเพื่อมาจัดการนวัตกรรมด้านการเงินใหม่ ๆ ของโลก ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าพวกเขากำลังพยายามผลักดันการเสนอโปรเจคระดมทุนเริ่มต้น IEO ที่มีความโปร่งใสและปลอดภัยมากกว่าวิธีระดมทุนแบบเดิมเช่น ICO

ดังนั้นแล้ว ICO ก็จะกลายสิ่งที่ผิดกฎหมายในมาเลเซียไปโดยปริยาย เมื่อกฎหมายใหม่ได้มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการในช่วงไตรมาสที่สองของปีนี้

ที่มา : micky

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น