<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

นักพัฒนาเปิดตัวระบบ Subscribe เหมือนของ Spotify ที่ถูกใช้เพื่อจ่ายเงินค้ำประกัน

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

รายงานล่าสุดเผยว่ามีโปรโตคอลบล็อกเชนใหม่ที่ได้รับเงินสนับสนุนจากองค์กร Web 3.0 Foundation ถูกพัฒนาขึ้นมาแล้ว โดยมุ่งเป้าช่วยลดจำนวนหลักประกันในแอปพลิเคชั่น DeFi ซึ่งโปรเจ็คดังกล่าวก็ได้เผยแพร่  Whitepaper “Promise: Leveraging Future Gains for Collateral Reduction” ออกมาแล้วด้วย

หลักการทำงาน

หลักการทำงานของ Promise อธิบายได้ตามตัวอย่างด้านล่างคือ Bob ได้เข้ามาเป็นผู้ให้บริการของ Alice โดย Bob ก็จะให้บริการแก่  Alice ไปเรื่อยๆ และทุกครั้งที่ Alice ได้รับบริการเธอก็จะจ่ายเงินให้เขาจำนวน 1 Ether

ที่มา: Promise whitepaper

โดยปกติ Bob จะต้องล็อกจำนวนหลักประกันของเขาที่ 1.5 Ether ในกรณีที่เขารับเงินแต่ไม่ยอมดำเนินการตามหน้าที่ที่ตัวเองมี ซึ่งหลักการของโปรเจ็ค Promise จะเข้ามาเปลี่ยนตรงนี้คือ แทนที่ Alice จะจ่ายเหรียญ Ether โดยตรงให้กับ Bob ตามปกติ แต่เมื่อใช้  Promise  แล้ว Alice จะสามารถเลือกล็อกอัพเหรียญตัวเองไว้กับ Promise แทนได้ ส่วน Bob ก็จะได้รับเงินผ่านทาง Promise เช่นกัน ด้วยความที่การชำระเงินในอนาคตมันมีลักษณะเป็น  additional leverage ทำให้ Bob สามารถวางหลักประกันน้อยลงได้ แต่ความสำคัญในที่นี้คือความสัมพันธ์จะต้องดำเนินต่อไปเรื่อยๆ ไม่ใช่แบบครั้งเดียว

เปรียบเทียบกับ  Spotify

โปรเจ็คดังกล่าวเป็นที่น่าสนใจทางสื่อข่าว Cointelegraph จึงได้ทำการสัมภาษณ์ไปยังผู้สร้าง Promise ดร. Dominik Harz ด้วย ซึ่งเขาก็ได้สรุปโดยภาพรวมว่าโปรเจ็ค Promise นั้นเกี่ยวข้องกับหลักประกันที่ต้องวางบนแอปฯ DeFi คล้ายกับสิ่งที่  Spotify ทำในอุตสาหกรรมเพลง

“โมเดลของมันก็คล้ายๆ กับโมเดล subscription (ต้องจ่ายเงินเพื่อรับบริการ) สมมติคุณใช้ Spotify แทนที่คุณจะต้องจ่ายค่าบริการทุกๆ เดือน คุณก็เลือกจ่ายแค่เพลงเพลงเดียวที่คุณต้องการจะฟังได้ ซึ่งเพลงแต่ละเพลงมันอาจถูกมากๆ แต่มันก็จะมีข้อเสียคือพอเราเลือกจ่ายเช่นนี้เมื่อเราจะฟังเพลงต่อไป เราก็จะเริ่มฉุกคิดแล้วว่า เราอยากฟังเพลงต่อไปจริงๆ หรือไม่ ซึ่งมันอาจจะมีมูลค่าแค่ 5 เซ็นต์ แต่ขณะเดียวกันถ้าคุณจ่ายเป็นรายเดือนอยู่แล้ว ก็ไม่เป็นไร”

อย่างไรก็ตามหากเป็นการทำธุรกรรมฝ่ายเดียวจะไม่ได้ประโยชน์จากโปรเจ็ค Promise ซึ่งด้านดร. Harz ก็กล่าวว่าผู้ที่อาจได้รับประโยชน์รายแรกอาจจะเป็น Exchange และผู้สร้างโทเค็น Wrapped Bitcoin หรือ WBTC (โทเค็น ERC-20 ที่ให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงโปรโตคอล DeFi ยอดนิยมได้โดยการแสดงมูลค่า Bitcoin ที่ตนถือ) ซึ่งในตอนนี้มันมี Bitcoin ล็อกไว้ใน WBTC  มากกว่าของ Lightning Network แล้ว

ที่มา : cointelegraph