<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

Bitcoin ตายแล้วหรือยัง? คำถามที่อาจผุดขึ้นมาเมื่อไรก็ได้ตอนราคานิ่ง

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

นับตั้งแต่ปี 2017 ราคา Bitcoin ได้ปรับตัวพุ่งสูงขึ้นแตะระดับสูงสุดที่ 20,000 ดอลลาร์ก่อนที่จะร่วงลงมาอยู่ระดับ 9,200 ดอลลาร์ แต่ดูเหมือนว่าเมื่อเร็ว ๆ นี้ผู้เชี่ยวชาญจะออกมาอ้างว่ามันอาจถึงคร่าวอวสานของ Bitcoin แล้วจริง ๆ  แต่ Bitcoin จะตายจริง ๆ หรือ ?

ในบทความนี้ เราจะมาย้อนดูเรื่องราวการเปลี่ยนแปลงของ Bitcoin ในช่วงตลอดหลายปีที่ผ่านมาและมาค้นหาคำตอบกันว่าจะตายจริง ๆ หรือไม่ ?

Bitcoin สามารถทำงานด้วยตัวของมันเอง

Bitcoin ถูกคิดค้นในปี 2009 ในฐานะระบบการชำระเงินออนไลน์แบบ peer-to-peer ที่ไม่ต้องพึ่งพาอาศัยคนกลางที่เชื่อถือได้เช่น ธนาคารหรือเกตเวย์การชำระเงินเพื่อทำการตรวจสอบและควบคุมการทำธุรกรรม

เนื่องจากมันไม่มีคนกลาง ระบบควบคุมจึงต้องคอยจับตาดูการทำธุรกรรมแบบ double spending เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่มีใครใช้เงินเท่าเดิม แต่จ่ายเงินมากกว่าหนึ่งครั้ง

ผู้ใช้ทั่วโลกจะได้รับสิทธิ์ในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ของพวกเขาเข้ากับเครือข่ายและได้รับรางวัล Bitcoins เป็นการตอบแทน จากการส่งพลังการประมวลผลของพวกเขาให้กับเครือข่าย (สิ่งนี้เรียกว่าการขุด Bitcoin)

ระบบเครือข่ายนี้รู้จักกันดีในชื่อ blockchain ทำหน้าที่เป็นบัญชีแยกประเภทสาธารณะที่บันทึกธุรกรรม Bitcoin ไว้ทั้งหมด โดยปราศจากการควบคุมจากคนกลาง (ธนาคาร, บัตร, PayPal) และส่งมันกลับไปยังผู้ทำธุรกรรม และนั่นส่งผลให้ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมถูกลงและผู้ใช้สามารถควบคุมเงินทุนได้อย่างสมบูรณ์ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า หน่วยงานกลางไม่สามารถกำหนดขีดจำกัดของการทำธุรกรรมใด ๆ , สั่งระงับบัญชีใด ๆ หรือชำระเงินแบบย้อนกลับได้

Blockchain ทำงานอย่างไร

เพื่อให้ไม่เป็นการลงลึกในรายละเอียดมากจนเกินไป Blockchain คือ วิธีการทำธุรกรรมของ Bitcoin ด้วยการใช้โหนดตรวจสอบเพื่อให้แน่ใจว่า เครือข่าย Bitcoin จะเก็บรวบรวมธุรกรรมจำนวนหนึ่งไว้ด้วยกัน ในทุก ๆ 10 นาที (ซึ่งเป็นสิ่งที่ใช้ในการตรวจสอบและยืนยันการทำธุรกรรมภายในหนึ่งบล็อค) 

ด้วยเครือข่าย blockchain นี้ มันช่วยให้ Bitcoin นั่นไม่สามารถถูกแฮ็คได้

นาย Miguel Cuneta กล่าวว่า :

“Blockchain ไม่มีอะไรต้องแคร์ , มันไม่มีปลั๊กที่จะดึงออก , มันไม่มีความรู้สึก แต่ทุก ๆ สิบนาทีมันจะก้าวไปข้างหน้า ทุก ๆ สิบนาทีมันจะเพิ่มมูลค่าและความแข็งแกร่งให้กับเครือข่าย โดยที่ไม่มีใครหรือสถาบันใดจะสามารถเข้ามาหยุดยั้งมันได้”

ตราบใดที่ผู้คนยังมีการทำธุรกรรม Bitcoin ก็จะยังคงเติบโตเพิ่มขึ้นต่อไป แต่มูลค่าจะเพิ่มขึ้นแตะสูงสุดเดิมอีกครั้งได้หรือไม่ ? ยังเป็นเรื่องที่หลายคนกำลังพยายามหาคำตอบ

จุดจบของ Bitcoin

นับตั้งแต่ที่ Bitcoin ถูกก่อตั้งโดย Satoshi Nakamoto ในปี 2009 ราคา Bitcoin ก็วิ่งขึ้น ๆ ลง ๆ มาโดยตลอด ซึ่งเราจะเห็นได้จากในปี 2011 ที่ราคา Bitcoin ร่วงลดลงเหลือ $ 2.00 หลังจากมันก็พุ่งขึ้นไปเป็น $ 31 ภายในเวลาไม่กี่เดือนในปี 2013 ก่อนที่จะพุ่งแตะ $ 1,000 และร่วงลดลงไปอยู่ที่ $ 300

ดังนั้นนี่มันจึงไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจอะไรเมื่อ Bitcoin พุ่งแตะระดับ 20,000 ดอลลาร์ และร่วงลดลงมาเหลือ $ 9,200 ในขณะที่รายงาน

ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการลงทุน

ในขณะที่หลายคนเชื่อว่า Bitcoin จะสามารถพุ่งกลับขึ้นไปแตะจุดสูงสุดเดิมได้อีกครั้ง คนอื่น ๆ กลับมองว่าในที่สุดคริปโตเคอเรนซี่ตัวอื่น ๆ นั่นกลับดูน่าลงทุนมากกว่า Bitcoin  ในช่วงเวลานี้

เหรียญคริปโตตัวอื่น ๆ หรือที่รู้จักกันในชื่อเหรียญ Altcoins กำลังทำให้ตลาดคึกคักอย่างมาก หลายโปรเจคได้เสนอมุมมองใหม่ ๆ ให้กับ Bitcoin เช่น รูปแบบทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน , อัลกอริทึมการขุดและบางโปรเจคได้เสนอความเป็นส่วนตัวที่มากกว่า Bitcoin

ในบางเวลาเหรียญ altcoins เหล่านี้ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า Bitcoin

ในขณะที่ Bitcoin มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า นับตั้งแต่การพุ่งขึ้นครั้งใหญ่ในปี 2017 เหรียญ Altcoin ตัวอื่นเช่น Cardano ก็ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 30 ถึง 40 เท่า

ด้วยการเปรียบเทียบเงินลงทุนที่จำนวน $ 10,000 ที่ลงทุนนับตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2017 ถึง 31 ธันวาคม 2017 Bitcoin จะให้ผลกำไรที่มากกว่า $ 4,000 นิด ๆ แต่สำหรับ Cardano มันกลับให้กำไรสูงขึ้น $ 54,000 เลยทีเดียว

Bitcoin 

  • ราคาในวันที่ 01/12/2560 = $ 10,000 
  • จำนวนเหรียญที่ซื้อ ($10,000) = 1 เหรียญ
  • ราคาในวันที่ 31/12/2560 = $ 14,235 
  • กำไร = $ 4,234 

CARDANO

  • ราคาในวันที่ 01/12/2560 = $ 0.11
  • จำนวนเหรียญที่ซื้อ ($10,000) = 90,909 เหรียญ
  • ราคาในวันที่ 31/12/2560 = $ 0.71 
  • กำไร = $ 54,545

ดังนั้นในขณะที่ Bitcoin จะยังคงดำเนินต่อไปเรื่อย ๆ และมันอาจมีมูลค่าเพิ่มขึ้น แต่ดูเหมือนว่าเหรียญอื่น ๆ จะให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่ามากกว่าในแง่ของการลงทุน

ที่มา : vpnmentor