<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

IMF, ธนาคารโลก และกลุ่มผู้นำ G20 เตรียมออกกฎหมายเกี่ยวกับ Cryptocurrency ของแบงก์ชาติ

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

หน่วยงานด้านการเงินระหว่างประเทศและ 20 ประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลกรายงานว่ากำลังเตรียมกำหนดมาตรฐานการกำกับดูแลและการออกสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลางหรือแบงก์ชาติทั่วโลก

Group of Twenty (G20) หรือองค์กรของรัฐมนตรีคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางที่เป็นตัวแทนของกลุ่มสหภาพยุโรปกว่า 19 ประเทศทั่วทุกทวีปกล่าวในรายงานวันนี้ว่า องค์กรกำลังทำงานร่วมกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ธนาคารโลกและธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (BIS) เพื่อเตรียมนำสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง (CBDC) มาใช้ในระบบธนาคารอย่างเป็นทางการ

รายงานระบุว่า ภายในสิ้นปี 2022 กลุ่มสมาชิก G20, IMF, ธนาคารโลกและ BIS จะเสร็จสิ้นกระบวนการกำกับดูแลเหรียญ stablecoin รวมถึงการวิจัยและคัดเลือกการออกแบบเทคโนโลยีและการทดสอบ CBDC 

Stablecoin นั้นเป็นสกุลเงินดิจิทัลที่มีความเชื่อมโยงกับสกุลเงินจริงเช่น เงินดอลลาร์สหรัฐ, IMF และธนาคารโลก ดังนั้นเหรียญดังกล่าวจึงควรมีความสามารถทางด้านเทคนิคเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมของธนาคารกลาง อ้างอิงจากรายงานดังกล่าว

ประเทศต่าง ๆ จะทำการ “กำหนดขอบเขตสำหรับแพลตฟอร์มพหุภาคีตัวใหม่, stablecoin และสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลางเพื่อเตรียมรับมือกับความท้าทายในเรื่องการชำระเงินข้ามพรมแดน โดยที่จะไม่ส่งผลกระทบต่อมาตรฐานการกำกับดูแลและกฎระเบียบพื้นฐานของประเทศ” G20 กล่าว

พันธมิตรระหว่างประเทศ

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาสมาชิกธนาคารกลางทั้งหมด 7 แห่งของกลุ่ม G20 ได้เผยแพร่รายงานฉบับร่างผ่าน BIS เกี่ยวกับแนวทางการกำกับดูแลสกุลเงินดิจิทัลของประเทศ (CBDC)

รายงานของสัปดาห์ที่แล้วซึ่งจัดทำโดยธนาคารกลางสหรัฐ, ธนาคารแห่งแคนาดา, ธนาคารกลางยุโรป (ECB), ธนาคารแห่งอังกฤษ (BOE), ธนาคารแห่งชาติสวิส, Sveriges Riksbank ของสวีเดน และ ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น (BOJ) ได้มีการเขียนระบุถึงคุณสมบัติที่ธนาคารกลางต้องการจาก CBDC ในประเทศของตน

ธนาคารในอเมริกาเหนือ, ยุโรปและญี่ปุ่นกล่าวว่า CBDC จะต้องใช้แทนรูปแบบทางการเงินที่มีอยู่เดิมและมีลักษณะคล้ายคลึงกับเงินสด ใช้งานง่ายและมีค่าธรรมเนียมเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย

ระบบของ CBDC นั้นควรเชื่อมต่อกับเทคโนโลยีทางการเงินแบบดั้งเดิม, ชำระธุรกรรมจำนวนมากโดยใช้เวลาได้รวดเร็วและต่อเนื่อง อีกทั้งยังต้องมีการป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์, มีการปฏิบัติตามกฎระเบียบต่าง ๆ และคงไว้ซึ่งอำนาจเดิมของธนาคารกลาง

CBDC จะช่วยปรับปรุงการชำระเงินข้ามพรมแดนเพื่อตอบโต้สกุลเงินดิจิทัลขององค์กรเอกชนต่าง ๆ เช่น Libra ของ Facebook และสามารถโอนเงินกองทุนฉุกเฉินให้กับผู้ประสบภัยได้ทันทีในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า แต่ทั้งนี้ CBDC จะต้องมีการเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใสและถูกควบคุมกำกับโดยรัฐบาล และจะต้องแยกตัวเองออกจากสกุลเงิน cryptocurrency อื่น ๆ ที่ถูกรันแบบ decentralized เช่น Bitcoin อย่างชัดเจน อ้างอิงจากรายงาน

ECB และ BOJ ระบุเสริมด้วยว่า ในเดือนนี้พวกเขากำลังพิจารณาตัดสินใจในการออกเงินยูโรดิจิทัล โดยจะมีการประกาศอย่างเป็นการในเดือนเมษายนปีหน้า

เจ้าหน้าที่ของ BOJ กล่าวว่า การทดสอบเงินเยนดิจิทัลนั้นจะเริ่มขึ้นในช่วงฤดูใบไม้ผลิและเรียกร้องให้มีความพยายามในการจับคู่กับเงินหยวนดิจิทัลของจีน ซึ่งเป็นสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลางที่มีการขยายตัวมากที่สุดในปัจจุบัน