<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

นักท่องเที่ยวจีนกว่า 17 ล้านคนแห่ตรวจสุขภาพโดยใช้ Blockchain เพื่อเดินทางไปยังมาเก๊า

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

FISCO BCOS สมาคมบล็อกเชนที่ไม่แสวงหาผลกำไรของจีนรายงานว่า ข้อมูลสุขภาพที่บันทึกบนเครือข่ายบล็อกเชนนั้นช่วยให้จีนสามารถเดินกลับมาท่องเที่ยวในมาเก๊าได้สำเร็จ

โดยนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ระบบข้อมูลทางการแพทย์ที่ขับเคลื่อนด้วยบล็อกเชนของมาเก๊า ได้ทำการบันทึกรหัส ID Code ระบบข้อมูลสุขภาพกวางตุ้ง ทำให้นักท่องเที่ยวชาวจีนสามารถตรวจสอบสถานะสุขภาพของตนเองผ่านระบบ DLT เมื่อเดินทางไปยังเขตปกครองตนเองได้

ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวมากกว่า 17 ล้านรายที่ได้เดินทางจากมาเก๊าไปยังจีนแผ่นดินใหญ่ โดยใช้ ID Code สุขภาพที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี blockchain รายงานของ FISCO ระบุว่า ชาวจีนแผ่นดินใหญ่ใช้เวลาเพียงแค่ 100 วินาทีเท่านั้นในการสร้าง ID Code สุขภาพของมณฑลกวางตุ้งและอีกประมาณ 3 วินาทีสำหรับการตรวจสอบสุขภาพในอนาคตเมื่อเดินทางผ่านด่านศุลกากรไปแล้ว :

“การสร้าง ID Code สุขภาพ blockchain ของมาเก๊าและกลไกลการรับรู้ร่วมกันด้วย ID Code สุขภาพของมณฑลกวางตุ้งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความแม่นยำในการตรวจสอบข้อมูลข้ามพรมแดนของจีน ซึ่งสิ่งนี้พิสูจน์แล้วว่า มันเป็นทางออกที่มีประสิทธิภาพในการช่วยให้การเดินทางระหว่างจีนและมาเก๊านั้นกลับเข้าสู่สภาวะปกติ”

ระบบจะทำการเข้ารหัสข้อมูลทางการแพทย์และส่งไปยังกลุ่มบล็อกเชนของ FISCO BCOS ซึ่งลงนามโดยหน่วยงานที่ออกแบบโซลูชัน ‘WeIdentity’ ของ WeChat เพื่อใช้ในการถ่ายโอนข้อมูลระหว่างมาเก๊าและกวางตุ้ง 

ระบบ ID Code สุขภาพของมาเก๊านั้นถูกนำมาใช้เพื่อตอบสนองต่อการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา ที่ส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อเศรษฐกิจของประเทศนับตั้งแต่ช่วงต้นเดือนมกราคมของปีนี้

“หนังสือเดินทางสุขภาพดิจิทัล” ที่ขับเคลื่อนด้วยบล็อกเชนได้รับการพัฒนาโดย SGInnovate บริษัทการลงทุนของรัฐบาลสิงคโปร์และ Accredify บริษัทสตาร์ทอัพในท้องถิ่น บริษัทต่าง ๆ เริ่มนำระบบดังกล่าวมาใช้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของขั้นตอนการทำงานในหมู่บุคลากรทางการแพทย์ที่ต่อสู้กับโรคระบาด

เมื่อสัปดาห์ที่แล้วสยามบล็อกเชนได้รายงานว่า รัฐบาลจีนเริ่มแจกเหรียญดิจิตอลหยวนฟรีให้กับประชาชนเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวเมื่อเศรษฐกิจของจีนให้กลับมาคึกคักอีกครั้ง โดยเรื่องนี้ทำให้ชาวไทยหลายคนเกิดคำถามว่า โปรเจคสกุลเงินดิจิทัลของคนไทย ‘อินทนนท์’ จะมีการดำเนินงานในลักษณะเช่นเดียวกันนี้หรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่เราต้องติดตามรอดูกันต่อไป

ที่มา : cointelegraph