<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

ทำไมนักลงทุนสถาบันถึงไม่สามารถหันหลังให้ DeFi ได้อีกต่อไป

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ในช่วงนี้ปฎิเสธไม่ได้เลยว่ากระแส Decentralized Finance (DeFi) กำลังเข้ามาเปลี่ยนแปลงนวัตกรรมและอุตสาหกรรมทางการเงิน แม้ว่าตัวเทคโนโลยีจะมีความซับซ้อนและยากที่จะเข้าใจในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ก็ตาม โดย ILia Maksimenka จาก PlasmaFinance ได้เผยว่าการเงินแบบเดิมส่วนใหญ่ยังเชื่อว่า DeFi มีความเสี่ยงเกินไปและไม่คุ้มกับการแก้ไขปัญหา

ที่ผ่านมาหลายบริษัทได้ร่วมลงทุนกับ Andreessen Horowitz ในการเปิดตัวกองทุน cryptocurrency เนื่องจากความต้องการ DeFi ที่เพิ่มขึ้นของ a16z ซึ่งไม่สามารถคาดเดาได้เลยว่ากองทุนนี้จะเข้ามาสู่ DeFi ในช่องทางใด

แม้แต่ JP Morgan ที่เคยปฎิเสธความเป็นไปได้ของ crypto มาก่อนนั้นก็ได้มาลงทุนในธุรกิจ staking ซึ่งปัจจุบันสร้างรายได้กว่า 9 พันล้านดอลลาร์ต่อปีและอาจมีมูลค่ามากกว่า 20 พันล้านดอลลาร์ทันทีที่ ETH 2.0 เปิดตัวในปี 2565 และ 40 พันล้านดอลลาร์ในปี 2568 โดยธนาคาร Sygnum นั้นอาจจะไม่ได้เป็นสถาบันทางการเงินแห่งแรกที่ให้บริการ stake ETH 2.0 อีกต่อไป

ทั้งนี้แสดงให้เห็นว่านักลงทุนสถาบันไม่สามารถเพิกเฉยต่อนวัตกรรม DeFi ได้ ซึ่งทำให้มูลค่ารวม 155.7 พันล้านดอลลาร์ได้

Decentralized Finance Exchange (DEX) จะเข้ามามีส่วนรับผิดชอบอย่างมากในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา โดยมีปริมาณการซื้อขายสูงถึง 815 พันล้านดอลลาร์ โดย DEX ได้มีมีส่วนเป็นผู้ดูแลสภาพคล่องอัตโนมัติ (AMM) โดยละทิ้งระบบการจับคู่การซื้อขายแบบดั้้งเดิมที่ใช้ใน centralized exchanges โดย Uniswap ถือเป็น DEX ที่ใหญ่ที่สุดในตอนนี้แต่ยังคงมีหลายภาคส่วนที่ต้องการเข้ามาแย่งชิงตลาด DeFi ดังกล่าว

โดยหากมองที่ผลตอบแทนจาก Centralized Exchanges ที่อยู่ในช่วง 0-2% อย่างมั่นคงในระยะยาวสำหรับภาคการเงินก็ตาม แต่หากเทียบกับ APY ที่สูงมากใน DeFi โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็น DeFi ที่กำลังเกิดใหม่และมีโอกาสจะพบเจอนั้นน้อยมากก็ตาม แต่ดูเหมือนว่านักลงทุนหลายคนก็พร้อมที่จะเสี่ยงไปกับมัน

แม้ว่า DeFi นั้นจะเต็มไปด้วยความเสี่ยงและส่วนใหญ่ไม่ได้รับการดูแลควบคุม ทำให้บางคนมองว่า DeFi เป็นเหมือนลูกปลาตัวเล็ก ๆ ที่ไม่ได้รับความสนใจ ซึ่งถือว่ายังคงเห็นหนทางอีกยาวไกลนักก่อนที่นักลงทุนสถาบันส่วนใหญ่จะเริ่มหันกลับมามองและดำเนินการในอุตสาหกรรมนี้เหมือนกับธนาคารแบบเดิม

DEX จะเข้ามามีส่วนร่วมกับนักลงทุน

DEX ได้เข้ามาเปลี่ยนโลกของนักลงทุนทั่วไปและสถาบันอย่างสิ้นเชิง โดยนักลงทุนสามารถสลับระหว่างสินทรัพย์ cryptocurrency และอนุพันธ์ของ DeFi ได้โดยไม่ต้องเกี่ยวข้องกับ Centralized Exchange (CEX) แต่ก็ยังตามมาด้วยข้อเสียจำนวนมาก เช่น ความเสี่ยงจากการขาดทุนแบบถาวร, ช่วงที่จำกัดของอนุพันธ์ และไม่มีผู้ดูแลในการซื้อขายอย่างแท้จริง บางคนโต้แย้งว่าเพื่อให้ DeFi ได้รับการรองรับโดยหน่วยงานของ CeFi จะต้องมีโซลูชันการตรวจสอบที่เป็นนวัตกรรมใหม่เพื่อช่วยสถาบันทางการเงินในการจัดการความเสี่ยงและปรับโครงสร้างให้เหมาะสมกับ DeFi

แม้ว่าวิธีการแก้ปัญหานั้นจะมีตัวอย่างให้เห็น เช่น การที่ให้บริษัทเข้ามาบริหาร DEX ซึ่งมีอำนาจในการควบคุมผู้ใช้ได้มากกว่า DEX รวมถึงการที่ให้ผู้ใช้ตั้งค่า limit orders ได้

แน่นอนว่าตลาด DeFi กำลังอยู่ในขั้นตอนการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยนักพัฒนาต่างแข่งขันกันเพื่อครอบครองเทคโนโลยีที่ดีกว่าซึ่งจะทำให้ง่ายต่อการจัดการสินทรัพย์ แม้ว่าท้ายที่สุดแล้ว blockchain นั้นเกี่ยวกับความโปร่งใสและสามารถบังคับให้อยู่ภายใต้การควบคุมได้ก็ตาม

ข้อกังวลเรื่องความเป็นส่วนตัว

จากการที่ DeFi ถูกออกแบบให้นัดการสินทรัพย์ดิจิทัลจำนวนมากด้วยความโปร่งใส แต่ด้วยความโปร่งใสนี้เองที่เป็นสิ่งที่น่ากังวลสำหรับนักลงทุนสถาบันเนื่องจากการดำเนินกิจกรรมทางการเงินส่วนใหญ่ของสถาบันการเงินแบบเดิมนั้นจะเป็นความลับเพื่อรักษาความได้เปรียบทางธุรกิจ ดังนั้นทางที่ดีที่สุดหากต้องการเข้าร่วม DeFi นั้นจะต้องมีข้อกำหนดทางธุรกิจสำหรับระดับความเป็นส่วนตัวว่าจะอยู่ในอันตรายหรือไม่?

Zero-knowledge proofs (ZKPs) จะเข้ามาอำนวยความสะดวกในการส่งข้อมูลสำคัญและรับรองความถูกต้องโดยไม่ต้องเปิดเผยข้อมูลด้านใน ซึ่ง ZKP กำลังหาช่องทางที่จะเข้าสู่โครงการ DeFi ผ่านโซลูชันการขยายเลเยอร์โดยใช้ zkRollups

อนุพันธ์ DeFi กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว

ตลาดการเงินแบบดั้งเดิมมีส่วนแบ่งตลาดอนุพันธ์ทางการเงินของ GDP ถึง 10 เท่า โดย Bitcoin ได้รับการสนับสนุนอย่างมากจากกองทุน บริษัทมหาชน บริษัทเอกชน และกองทุนบำเหน็จบำนาญ นอกจากนี้นักลงทุนระดับมหภาคและรายย่อยและแม้แต่บางเมืองก็ยอมรับ BTC เป็นหลัก 

กองทุนซื้อขายแลกเปลี่ยน (Bitcoin ETFs) ได้รับการอนุมัติในยุโรป แคนาดา และบราซิล ซึ่งจะช่วยให้นักลงทุนสถาบันเข้าร่วมได้มากขึ้น อย่างไรก็ตามอนุพันธ์ DeFi นั้นไม่มีอะไรเทียบกับคู่สัญญาหลักของพวกเขา

ตลาดอนุพันธ์ DeFi มูลค่าประมาณ 3.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐอาจถูกมองข้ามไปโดยง่าย เนื่องจากเป็นเพียงตลาดเล็ก ๆ และไม่คุ้มกับความสนใจของนักลงทุนสถาบัน แต่ถ้ามีอะไรที่เราเห็นได้ใน DeFi ที่กำลังขยายตัวนั่นคือการเติบโตอย่างรวดเร็ว เช่น Synthetix ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มอนุพันธ์ของ DeFi เติบโตจาก TVL เพียง 52 ล้านดอลลาร์ในเดือนกันยายน 2019 เป็นมากกว่า 1.2 พันล้านดอลลาร์ 

โดย Synthetix เป็นโปรโตคอลที่ใช้ Ethereum สำหรับการออกสินทรัพย์สังเคราะห์ ซึ่งสินทรัพย์สังเคราะห์เป็นเครื่องมือทางการเงินในรูปแบบของสัญญาอัจฉริยะ (smart contract) อย่าง ERC-20 หรือที่รู้จักกันในชื่อ “Synths” ซึ่งคล้ายกับอนุพันธ์ทางการเงินแบบดั้งเดิม ซึ่งจะติดตามผลและให้ผลตอบแทนของสินทรัพย์อื่นโดยที่คุณไม่ต้องถือสินทรัพย์นั้น 

DeFi ยืนอยู่บนความเสี่ยง

หนึ่งในการวิพากษ์วิจารณ์ที่มีมาต่อเนื่องของ DeFi นั่นคือผลตอบแทนจากธนาคารเทียบกับ DeFi แม้ว่าส่วนใหญ่จะไม่ยั่งยืงก็ตาม แต่หากดูจากความเสี่ยงและผลตอบแทนสูงสุดนั้นดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่นักลงทุนส่วนใหญ่ชื่นชอบ ซึ่่งแพลตฟอร์มใหม่ที่มี smart contact และยังไม่ได้รับการตรวจสอบนั้นมักจะสร้างผลตอบแทนสูง แต่ก็มีความเสี่ยงที่จะสูญเสียเงินทั้งหมดเช่นเดียวกัน

อย่างไรก็ตามมีข้อกังวลเสมอว่าทำไมนักลงทุนสถาบันถึงไม่แสวงหา DeFi อย่างจริงจัง ซึ่งเกิดจากปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมาแม้ว่าจะได้รับการแก้ไขแล้วก็ตาม แต่ก็เหมือนกับ Bitcoin ในช่วงแรกที่เกิดปัญหาและมีข้อครหาเป็นจำนวนมากเช่นกัน ซึ่งหากนักลงทุนสถาบันมองว่า DeFi เป็นอนาคตที่ดีทางการเงินนั้น พวกเขาจะต้องไม่พลาดที่จะตกรถไฟเป็นครั้งที่สองอย่างแน่นอน