<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

ความยากในการขุด Bitcoin ลดลงครั้งแรกในรอบ 2 เดือน

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

การร่วงลงของราคา Bitcoin ครั้งล่าสุดได้ขัดขวางกระบวนการการทำกำไรของนักขุด BTC ตามข้อมูลออนไลน์แสดงให้เห้นว่าความยากในการขุด BTC ลดลงเหลือ  31.36 ล้านล้านแฮชที่บล็อก 756,000

ความยากในการขุดหมายถึงความซับซ้อนของกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่อยู่เบื้องหลังการขุด ในระหว่างที่นักขุดพยายามค้นหาแฮชที่ต่ำกว่าระดับที่ตั้งไว้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า นักขุดที่ “ค้นพบ” แฮชนี้ชนะจะได้รางวัลสำหรับบล็อกธุรกรรมถัดไป โดยจะปรับความยากทุก ๆ 2,016 บล็อก (ประมาณทุก ๆ สองสัปดาห์ในปัจจุบัน) ให้สอดคล้องกับอัตราแฮชของเครือข่าย

ระบบนิเวศของ Bitcoin ยังคงได้รับการปกป้องโดยเครือข่ายบล็อกเชนที่ปลอดภัยที่สุดตามข้อมูลจาก BTC.com โดยการปรับความยากในการขุด Bitcoin ลดลงประมาณ 2.3% ในวันที่ 28 กันยายน

การลดลงครั้งล่าสุดเกิดขึ้นใน 2 สัปดาห์หลังจากตัวเลขแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 32.04 ล้านล้านแฮชหลังจากเพิ่มติดต่อกันถึง 4 ครั้ง

หลังจากที่ราคาของ Bitcoin พุ่งขึ้นไปเหนือ 20,000 ดอลลาร์ในช่วงที่ผ่านมา มีนักลงทุนมากมายได้ทำกำไรเป็นอย่างมากแต่ต่อมาไม่นาน BTC ก็ได้สูญเสียมูลค่าไปประมาณ 6% และกำลังดิ้นรนอยู่ที่ระดับราคาประมาณ 19,000 ดอลลาร์

เป็นความจริงที่กิจกรรมของนักขุด BTC นั้นจะเติบโตเล็กน้อยซึ่งแสดงให้เห็นถึงอัตราการแข่งขันที่ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ปัจจุบัน hash rate ของ Bitcoin นั้นอยู่ที่ 220.75 EH/s ใกล้กับจุดสูงสุดที่ 231 EH/s แม้จะมีความกังวลด้านการทำกำไรจากการขุดก็ตาม

อัตราแฮชที่เพิ่มขึ้นนั้นมาจากการให้ความสำคัญกับการปล่อยคาร์บอนของ Bitcoin แม้มีการวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการใช้พลังงานก็ตาม แต่ดูเหมือนการขุด Bitcoin ได้เริ่มใช้พลังงานหมุนเวียนมากยิ่งขึ้นและตามการสำรวจจากแหล่งวิจัยต่าง ๆ จะพบเห็นได้ว่าการขุด BTC ไม่ส่งผลกระทบมากเท่าอุปกรณ์ไอทีอื่น ๆ ซึ่งทำให้เกิดความพยายามในการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมการขุดครั้งใหม่

รายงานเผยว่าการขุด Bitcoin นั้นใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลคิดเป็นสัดส่วนที่ 62.4% และมีการใช้พลังงานหมุนเวียนคิดเป็น 26.3% ตามการศึกษาใหม่ที่ตีพิมพ์โดย Cambridge Center for Alternative Finance (CCAF)

อย่างไรก็ตามแหล่งพลังงานหมุนเวียนในการขุด Bitcoin ลดลงเกือบ 30% ในปี 2021 จากมากกว่า 40% ในปี 2020 ซึ่งทำให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้นถึง 63% ในปีนี้