<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

[ บทสัมภาษณ์พิเศษ ] DeFi ในปัจจุบันหมดกระแสไปแล้วรึยัง ? กับคุณบีม ผู้ก่อตั้งแพลตฟอร์ม Forward

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

จากการเกิดขึ้นของตลาดหมีในปัจจุบัน สร้างความวิตกกังวลให้แก่เหล่านักลงทุนเป็นอย่างมาก ไม่เพียงแต่ในตลาด Crypto เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงตลาด DeFi ซึ่งมีความเกี่ยวพันอย่างใกล้ชิดกับ Crypto ด้วย

ในบทความนี้ ทาง Siam Blockchain ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ คุณชานน จรัสสุทธิกุล หรือคุณบีม Co-Founder และ CEO ของ Forward ถึงสภาวะและแนวโน้มของตลาด DeFi ทั้งในปัจจุบันและอนาคต

ท่ามกลางสภาวะตลาดหมีเช่นนี้ DeFi หมดกระแสไปแล้วหรือยัง ?

การเกิดขึ้นเป็นระยะเวลายาวนานของตลาดหมี ประกอบกับการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ FED ทำให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งขึ้นและค่าเงินบาทอ่อนค่าลง ส่งผลให้ตลาดคริปโตเริ่มซบเซา

ตลาด DeFi เองก็มีการปรับตัวสอดรับตลาด Crypto หากตลาด Crypto อยู่ในสภาวะตกต่ำ ตลาด DeFi จะอยู่ในสภาวะตกต่ำตามไปด้วย ทั้งนี้ เม็ดเงินในตลาด DeFi ยังมีจำนวนมากพอสมควร จากการที่สถาบันทางลงทุนต่าง ๆ ได้นำเม็ดเงินเข้ามาก้าวเข้ามาในตลาด

ดังนั้นในระยะสั้น ตลาดจะยังคงซบเซาเช่นเดียวกับตลาด Crypto แต่ในระยะยาว และจากการที่มีแพลตฟอร์ม Decentralized Exchange เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากเมื่อปีที่ผ่านมาในช่วงที่ตลาดกำลังรุ่งเรือง เช่น Uniswap ในยุคถัดไปจึงเป็นไปได้อาจมี Decentralized Future Exchange ใหม่ ๆ เกิดขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก เนื่องจาก Decentralized Exchange ที่มีในปัจจุบัน กรณีการใช้งานส่วนใหญ่ยังเป็นเพียงการนำเหรียญ Crypto ไป Swap กับ Crypto สกุลต่าง ๆ แต่ตลาดที่มีวอลลุ่มสูงกว่าอย่างตลาด Future ซึ่งมีวอลลุ่มสูงกว่าถึง 3 เท่า ยังไม่มีแพลตฟอร์ม Future Trading เพราะฉะนั้นในยุคต่อไปจึงเป็นยุคของการหาผู้ชนะในตลาด Future

ในอนาคต DeFi จะยังคงเป็นเทคโนโลยีที่มีความน่าสนใจอยู่หรือไม่ ?

ในความเห็นของคุณบีม CEO ผู้ก่อตั้งแพลตฟอร์ม Forward – DeFi ยังคงเป็นเทคโนโลยีที่น่าสนใจ เนื่องจาก DeFi คือการนำเอาการเงินแบบ Traditional Finance มาอยู่ในรูปแบบของ Decentralized Finance การบริการด้านการเงินต่าง ๆ ทั้งการกู้ยืม การฝากเงิน การแลกเปลี่ยนสกุลเงิน จะถูกนำมาอยู่ใน Decentralized Finance ทั้งหมด

ที่เห็นได้ชัดที่สุดคือ การแลกเปลี่ยนสกุลเงิน ซึ่งมีแพลตฟอร์มอย่าง Uniswap, Binance และ Bitkub และในด้านการฝากและเคลื่อนย้ายเงินก็มีแพลตฟอร์มรองรับเช่นกัน ทั้งนี้ ยังคงมีการเงินใน Traditional Finance บางส่วนที่ยังไม่ได้มาอยู่ในรูปของ Decentralized Finance

“สุดท้ายแล้ว ผู้คนจะหันมาใช้แพลตฟอร์มแบบ CeFi มากกว่า DeFi ในอนาคต” ?

ในความเห็นของคุณบีม มองว่าในอนาคต CeFi และ DeFi จะอยู่ในรูปแบบที่สามารถทำงานร่วมกันได้ ไม่ได้เป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง 100% จากการที่มีทั้งผู้ที่นิยมใน CeFi และผู้ที่นิยมใน DeFi ทั้งยังมีคำถามที่ว่า DeFi มีความปลอดภัยจริงหรือไม่ และ CeFi ถึงจะมีความโปร่งใส แต่ไม่มีความเป็นอิสระและจะเอื้อประโยชน์ต่อผู้ใช้งานหรือไม่ ในส่วนนี้คุณบีมมองว่าในอนาคตจะเกิดการรวมตัวกันของ CeFi และ DeFi มากกว่า

การแฮ็กแพลตฟอร์ม DeFi ที่กำลังแพร่ระบาดในปัจจุบัน จะส่งผลกระทบต่ออนาคตของวงการ DeFi มากน้อยแค่ไหน ?

สำหรับคำถามนี้คุณบีมมองว่า การแฮ็กแพลตฟอร์ม DeFi ที่กำลังระบาดจะก่อให้เกิดแพลตฟอร์มที่สามารถตรวจจับการแฮ็กได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อตัวผู้ใช้งานที่ต้องการเลือกใช้แพลตฟอร์มที่นอกจากจะให้ผลตอบแทนสูงแล้ว ต้องมีความปลอดภัยและยั่งยืนด้วย แทนแพลตฟอร์มที่ให้ผลตอบแทนสูงเพียงอย่างเดียว

Forward มีวิธีการโน้มน้าวความสนใจของนักลงทุนให้เข้ามาในตลาด DeFi และแพลตฟอร์ม Forward อย่างไร

สุดท้ายนี้คุณบีมได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า แพลตฟอร์ม Forward จะไม่ทำการตลาดแบบตรง ๆ ด้วยความที่กฏระเบียบในภาคส่วนคริปโตของประเทศไทยนั้นยังคงไม่ชัดเจน และต้องการให้แพลตฟอร์มนี้มีความเป็นสากลมากที่สุด

ทั้งนี้แพลตฟอร์ม Forward จะใช้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากให้อยู่ในระดับใกล้เคียงกัน เพื่อช่วยให้ผลประโยชน์ตกอยู่ที่ผู้ใช้งานมากที่สุด ต่างจากธนาคารที่มีการใช้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ทำให้ธนาคารได้รับประโยชน์มากกว่าผู้ใช้งาน ความแตกต่างนี้เป็นปัจจัยที่จะส่งผลให้ผู้คนเข้ามาอยู่ในตลาด DeFi มากขึ้นนั้นเอง

สุดท้ายนี้ คุณบีมอยากฝากถึงนักลงทุนทุกคนว่า ด้วยความที่ช่วงนี้ตลาดกำลังอยู่ในช่วงซบเซา จึงเป็นช่วงที่ควรศึกษาหาความรู้ เนื่องจากตลาดมีทั้งช่วงคึกคักและช่วงซบเซา ไม่มีทางซบเซาไปตลอด จึงแนะนำว่าให้นักลงทุนอยู่ในตลาดไปเรื่อย ๆ เนื่องจากหากทิ้งตลาดไป เมื่อกลับมาอีกครั้งเพื่อน ๆ อาจจะตามตลาดนี้ไม่ทัน