<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

ChatGPT พาซวย !  สำนักนักพิมพ์ประกาศ ยุติการรับเรื่องสั้น หลังพบนักเขียน 500 ราย ใช้ ChatGPT

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

เทคโนโลยี AI เป็นเทคโนโลยีที่กำลังตกเป็นกระแสและได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน ด้วยการที่ AI ในปัจจุบันสามารถสร้างสรรสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างหลากหลายนอกจากการตอบคำถามทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นการสร้างภาพขึ้นมาใหม่ เขียนโปรแกรม แต่งเพลง เขียนบทความ หรือแต่งนิยาย ทำให้เทคโนโลยี AI นอกจากจะใกล้ตัวและสร้างประโยชน์แก่คนทั่วไปแล้ว ยังสร้างความหวาดหวั่นถึงโลกในอนาคตข้างหน้าอีกด้วย

หนึ่งในตัวอย่างของการทำเทคโนโลยี AI มาใช้ คือ การเกิดขึ้นของหนังสือเรื่องสั้นหรือ e-book ที่ถูกเขียนขึ้นโดย ChatGPT กว่า 200 เรื่องบน Amazon แพลตฟอร์มร้านค้าออนไลน์ระดับโลก เช่น How to Write and Create Content Using ChatGPT และ The Power of Homework เป็นต้น

ChatGPT ยังหลายเป็น Sub-genre บน Amazon อีกด้วย แสดงถึงหนังสือที่มี AI ตัวนี้เขียนหรือเป็นผู้ร่วมเขียนร่วมกับ AI ตัวอื่นอย่าง Dall-E และ Midjourney ที่ถูกใช้เพื่อสร้างภาพประกอบ

“ผมเห็นผู้คนกำลังสร้างอาชีพขึ้นมาด้วยสิ่งนี้” Brett Schickler พนักงานขาย เจ้าของหนังสือ The Wise Little Squirrel: A Tale of Saving and Investing ที่ใช้ ChatGPT เป็นเครื่องมือในการช่วยเขียนกล่าว

“นี่เป็นอะไรบางอย่างที่พวกเราจำเป็นต้องกังวล หนังสือเหล่านี้จะทะลักเข้าสู่ตลาดและนักเขียนหลายคนจะตกงาน” Mary Rasenberger กรรมการบริหารจาก Authors Guild กลุ่มการรวมตัวของนักเขียน กล่าว “นักเขียนและแพลตฟอร์มจะต้องมีความโปร่งใสเกี่ยวกับวิธีการที่หนังสือเหล่านี้ถูกสร้างขึ้น หรือจะจบลงด้วยการมีหนังสือคุณภาพต่ำเต็มตลาด”

นอกจากนี้ เธอยังกล่าวว่า นักเขียนเงาที่เป็นมนุษย์ เป็นสิ่งที่มีอยู่มาอย่างเนิ่นนานในวงการหนังสือ อย่างไรก็ตาม ความสามารถในการสร้างหนังสือขึ้นมาด้วย AI อาจเปลี่ยนหนังสือจากการเป็นงานฝีมือ ให้กลายเป็นสินค้าโภคภัณฑ์แทน

การเพิ่มขึ้นของชิ้นงานที่ถูกเขียนโดย AI ส่งผลให้บางนิตยสารอย่าง Clarkesworld ทำการแบนนักเขียนที่ใช้ AI เป็นตัวช่วยในการสร้างผลงานกว่า 500 คนในเดือนนี้ จากการส่งผลงานที่ถูกสงสัยว่า มีการใช้ AI เป็นตัวช่วย

นอกจากวงการนักเขียนแล้ว วงการวิชาการเอง ก็มีการใช้ ChatGPT ในการช่วยเขียนเช่นกัน ทำให้งานวิจัยหลายฉบับ มีการใส่ชื่อของ ChatGPT ลงในส่วนของผู้เขียนด้วย นำไปสู่การที่นิตยสาร Science ได้อัปเดทนโยบายของนิตยสาร ระบุว่า “ข้อความที่มีการสร้างขึ้นโดย ChatGPT (หรือเครื่องมือ AI อื่น ๆ) ไม่สามารถใช้ในงานเขียน และห้ามใช้ภาพ รูปภาพ หรือกราฟฟิค ที่เป็นผลิตภัณฑ์ของเครื่องมือดังกล่าว” เช่นเดียวกับนิตยสาร Nature ที่ไม่อนุญาตให้ผู้เขียนสามารถรวม AI เป็นนักเขียนได้เช่นกัน โดยให้เหตุผลว่า AI ไม่สามารถรับผิดชอบในฐานะนักเขียนได้

ในทางกลับกัน BuzzFeed บริษัทสื่อออนไลน์ กลับประกาศว่า จะใช้เทคโนโลยี AI จาก OpenAI ในการผลิตเนื้อหาต่าง ๆ โดยกล่าวว่า AI จะถูกใช้เพื่อสร้างคำถาม และช่วยพนักงานในการคิดเนื้อหาของสื่อ

การใช้ AI ในงานเขียน จึงนำมาสู่คำถามว่า AI สามารถเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ได้หรือไม่ เนื่องจากลิขสิทธิ์ของนักเขียน เป็นสิ่งที่สร้างประโยชน์ให้แก่นักเขียนที่เป็นมนุษย์เป็นอย่างมาก

อ้างอิง: