<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

Tether กำลังไหลเข้าสู่เว็บเทรด Kraken ซึ่งสามารถแลก Tether คืนเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ได้

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

โทเคน USDT กำลังไหลเข้าสู้ Wallet ของเว็บเทรด Kraken ซึ่งเป็นหนึ่งในเว็บเทรดที่สามารถแลกเหรียญ USDT กลับมาเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐฯได้

อ้างอิงจาก Tether Rich List Wallet ของเว็บเทรดนั้นมี USDT มูลค่าเกือบ 47.8 ล้านดอลลาร์ ทำให้มันกลายเป็น Wallet ที่มี Tether เยอะที่สุดเป็นอันดับ 8 ของโลก

ในทางตรงกันข้าม ไม่ถึง 2 สัปดาห์ก่อนหน้านี้ Tether Wallet ของ Kraken มีอันดับอยู่ที่ 22 เท่านั้น ซึ่งในตอนนั้นมีมูลค่า 21.6 ล้านดอลลาร์

อ้างอิงจาก CoinDesk จากข้อมูลที่สามารถตรวจสอบได้ จะพบว่า การโอนย้ายเงินเข้ามาใน Wallet ของ Kraken นั้นอาจจะมีนัยสำคัญบางอย่าง ผู้คนในชุมชนตั้งข้อสงสัยว่า นักเทรดในวงการคริปโตอาจจะกำลังต้องการนำเงินออก โดยการแลก USDT เป็นเงินดอลลาร์จริง ๆ ก็เป็นได้

หรืออีกกรณีคือไม่ได้ต้องการนำเงินออก แต่เพียงต้องการไปถืออย่างอื่นที่ไม่ใช่ USDT เนื่องจาก เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา มีเหตุการณ์ที่ผู้คนตั้งข้อสงสัยว่า Tether มีเงินดอลลาร์ค้ำอยู่จริงมั้ย หลังจากนั้นไม่นาน มูลค่าของ USDT ร่วงลงต่ำกว่า 1 ดอลลาร์

 

 

การแลกเงินดอลลาร์คืน

อ้างอิงจาก Whitepaper ของ Tether ผู้ที่ถือโทเคนสามารถนำ USDT ไปแลกคือเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ได้โดยการคืนมันให้กับบริษัท Tether แต่ความเป็นจริงแล้ว เมื่อหลายเดือนที่ผ่านมา มีผู้ใช้งานจำนวนมากที่ไม่สามารถทำแบบนั้นได้

นาย Jeff Perrin ผู้ก่อตั้ง Spiga สตาร์ทอัพด้านฟินเทค ให้สัมภาษณ์กับ CoinDesk ว่า เขาพยายามที่จะแลก USDT คืนเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ผ่านเว็บไซต์ของพวกเขาในเดือนมกรา เขาให้ข้อมูลทุก ๆ อย่างที่จำเป็นต้องก่อ KYC แต่กลับไม่ได้คำตอบอะไรกลับมา และในกลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมา บัญชีของพวกเขายังอยู่ในสถานะ “รอการอนุมัติ” อยู่เลย

นาย Oguz Serdar นักพัฒนาแบบ Full-stack และ CEO ของสตาร์ทอัพด้าน Marketing นาม Limk ก็กล่าวว่า เจอสถานการณ์แบบเดียวกันเมื่อเดือนธันวาคมปี 2017 ที่บัญชีของเขาอยู่ในสถานะ “รอการยืนยันหลายเดือน”

แต่ในทางกลับกัน ก็มีผู้คนรายงานว่า เคลมเงินดอลลาร์สำเร็จเช่นกัน นาย Dovey Wan หุ้นส่วนของ Primitive Ventures บริษัทด้านการลงทุน ได้เผยเมื่อเร็ว ๆ นี้ว่า “คนรู้จักของผม 2 คน เพิ่งจะสามารถเคลมเงินดอลลาร์ได้สำเร็จ” และได้มีการโพสต์รูป Screenshot เป็นหลักฐานอีกด้วย

แต่ก็มีผู้ใช้ Twitter นาม Auditcarlo ออกมาแย้งว่า Screenshot นั้น เป็นเพียงหลักฐานการเทรดในเว็บเทรดเท่านั้น ไม่ใช่การแลกเงินดอลลาร์จาก Tether และนาย Wan ก็ไม่ได้ออกมาชี้แจงอะไรต่อ

จากข้อมูลดังกล่าวนี้ จะพบว่า มีความผิดปกติซ่อนอยู่ในกลไกกระบวนการของ Tether ซึ่งไม่ตรงตาม Whitepaper ที่ระบุไว้เท่าไรนัก

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น